ดงเมืองเตย เป็นสถานที่น่าสนใจของอำเภอคำเขื่อนแก้ว บริเวณโดยรอบดงเมืองเตยมีซากวัด สระน้ำ กำแพงเมืองปัจจุบันได้ชำรุดลงไปมากแล้ว แต่ยังพอมีเค้าโครงเดิมอยู่บ้าง สันนิษฐานได้ว่าเดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณสมัยเจนละ-ทวารวดี จากข้อความที่พบในจารึกของกษัตริย์เจนละ แสดงให้เห็นว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเป็นศาสนสถาน ในศาสนา พราหมณ์ที่นับถือพระศิวะ ในช่วงเวลานั้น บริเวณดงเมืองเตย รวมทั้งชุมชนใกล้เคียง ก็คงจะเคยเป็นเมืองที่ มีชื่อว่า "ศังขะปุระ" ซึ่งคงจะมีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองในปกครอง ของอาณาจักรเจนละ ซึ่งก็คือ อาณาจักรขอมในสมัยต่อมาที่แผ่อำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูล-ชี
ลำดับอายุสมัยของเมืองโบราณดงเมืองเตย
อายุสมัยที่ 1 สันนิษฐานว่าเป็นการเข้ามาอยู่อาศัยในช่วงเริ่มแรกของสมัยก่อนประวัติศาสตร์หรือเมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว จากหลักฐานที่พบได้แสดงให้เห็นพัฒนาการของคนในชุมชนนี้ที่สามารถผลิตภาชนะดินเผาใช้เองได้ มีการใช้หวานหินขัด และพบหลักฐานการถลุงโหละ ได้แก่ ร่องรอยกระบอกอัดลมสองสูย ชั้นดินที่มีถ่านปะปนกระจายอยู่ทั่วไปและพบชิ้นส่วนตะกรันโลหะ
อายุสมัยที่ 2 ชุมชนแห่งนี้ได้มีการติดต่อกับชุมภายนอกและรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา โดยภาชนะดินเผาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ก็มีรูปแบบเช่นเดิมแต่มีการปรับเปลี่ยนลักษณะการตกแต่ง ดังจะเห็นจากหลักฐานที่พบภาชนะดินเผาที่มีการตกแต่งด้วยการเขียนสีขาวบริเวณขอบปากเป็นเส้นตั้งสั้นๆ ซึ่งคล้ายกับที่พบบริเวณแหล่งโบราณดีลุ่มน้ำมูล - ชี และได้จัดเป็นภาชนะ ดินผาแบบร้อยเอ็ดแวร์หรือทุ่งกุลา
อายุสมัยที่ 3 ชุมชนโบราณแห่งนี้ได้เข้าสู่ช่วงสมัยประวัติศาสตร์ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 ได้รับอิทธิพลและวัฒนธรรมภายนอกเข้า มีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้า เทคโนโลยี วัฒนธรรมต่างๆ และยังคงมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลุงโลหะ สิ่งก่อสร้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนจากอาคารก่ออิฐไม่สอปูน ที่มีชิ้งส่วนประกอบและเริ่มรับพุทธศาสนาเข้ามาผสมผสานกับการนับถือผีฟ้า ผีแถน และปรากฎการณ์ธรรมชาติที่นับถือมาก่อน นอกจากนี้ยังได้รับประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการฝังในภาชนะดินเผามากชุมชนบริเวณลุ่มน้ำมูล-ชี
อายุสมัยที่ 4 มีการรับอิทธิพลของศาสนาฮินดูเข้ามาในอีสานแถมลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ซึ่งได้เข้ามีบทบาทสำคัญเหนือวัฒนธรรมทรารวดี สอดคล้องกับที่เมืองโบราณแห่งนี้ ได้พบจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ราวสมัยพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีลักษณะคล้ายคลึงกับจารึ เย ธมุ มา สมัยทวารวดี จารึกได้กล่าวถึงเมืองศังขปุระ (อาจหมายถึงชุมชนโบราณดงเมืองเตย) และสายสกุลเสนะ โดยอาจหมายถึงพระเจ้าจิตเสนหรือเหนทรวรมัน ผู้ครองอาณาจักรละสมัยก่อนเมืองพระนคร ซึ่งสอดคล้องกับการขุดพบประติมากรรมรูปสิงห์ศิลปะขอมสมัยบาปวนที่สันนิษฐานว่าเป็นทวารบาลของโบราณสถานแห่งนี้