ลักษณะของร่มที่ดี
มีรูปทรงสวยงาม
โครงร่มและส่วนประกอบของร่มจะต้องมีความเรียบร้อยแข็งแรง
กระดาษที่ใช้ปิดร่มมีความหนาพอสมควร
สีและน้ำมันที่ใช้ทาไม่ตกและหลุดลอกได้ง่าย
เวลาใช้สามารถกางขึ้นลงได้สะดวก
วัตถุดิบและส่วนประกอบของร่ม ร่มกระดาษใช้วัตถุดิบและส่วนประกอบ คือ
1. หัวร่ม ตุ้มร่ม ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน เช่นไม้โมกมัน ไม้สมเห็ด ไม้ซ้อ ไม้ตะแบก และไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่นๆ เมื่อไม้แห้งแล้วไม่หดตัวมาก การที่เลือกเอาไม้เนื้ออ่อนเป็นหัวร่ม ตุ้มร่มนั้นเพราะว่าไม้เนื้ออ่อน สะดวกแก่การกลึงและผ่าร่องซี่
2. ซี่ร่ม ทำด้วยไม่ไผ่ ไม้ไผ่ที่จะนำมาทำเป็นซี่ร่มต้องมีลักษณะปล้องของไม้ไผ่จะต้องยาวถึง 1 ฟุตขึ้นไป เนื้อไม้ไม่หนาน้อยกว่า 1 นิ้ว และเป็นไม้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ไม้อ่อนใช้ไม่ได้ เพราะไม้อ่อนเวลาแห้งแล้วไม้ะหดตัวมาก และตัวมอดยังชอบกินอีกด้วย
3. กระดาษปิดร่ม ใช้กระดาษที่มีเนื้อนิ่มไม่แข็งกระด้าง และมีความหนาพอสมควร แต่เท่านี้นิยมกันมากได้แก่กระดาษสา และกระดาษห่อของสีน้ำตาล
4. น้ำมันทาร่ม ใช้ทาด้วยนำมันมะมื่อ หรือนำมันทัง
5. สีทาร่ม ใช้ทาด้วยสีน้ำมัน
6. น้ำยางปิดร่ม ใช้ปิดด้วนน้ำยางตะโก หรือ น้ำยางมะค่า
7. ด้าย ที่ใช้ในการร้อยประกอบส่วนต่างๆ ของร่มใช้ด้ายดิบหรือด้ายมันนำมากรอเป็นเส้นและตีควบเป็นเกลียวตามขนาดที่ต้องการ
8. คันร่ม ใช้ไม้เนื้ออ่อนกลึงหรือทำด้วยไม้ไผ่ถ้าเป็นไม้ไผ่ต้องใช้ปลายไม้ขนาดเล็กหรือต้นไผ่ขนาดเล็กก็ได้ วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นไม่เกิน 7/8 นิ้ว และต้องมีรูข้างในด้วยเพื่อสะดวกในการติดสปริงดันร่ม
9. หวายสำหรับพันด้ามร่ม ถ้าคันร่มทำด้วยไม้ไผ่ตรงส่วนที่เป็นด้ามถือ จะต้องพันด้วยเส้นหวายผ่าซีกขนาดเล็ก ( หวายเลียด ) หรือจะใช้ เส้นพลาสติกพันแทนก็ได้
10. ปลอกสวมหัวร่ม ใช้ใบลาน ใบตาล หรือกระดาษหนา ที่มีความหนาใกล้เคียงกันก็ได้
11. น้ำมันสำหรับผสมกับสี ใช้น้ำมันก๊าด
12. ห่วงร่ม ทำจากเส้นตอกไม้ไผ่ ขดเป็นวงกลมและพันด้วยกระดาษสาให้รอบชุบน้ำยางตะโกและตากแดดให้แห้ง 13. โลหะครอบหัวร่ม ทำด้วยแผ่นปั๊มหรือพลาสติกปั๊มก็ได้
วิธีทำร่ม
1. การทำหัวร่ม ตุ้มร่ม นำไม้สำหรับทำหัวร่ม และ ตุ้มร่ม ขนาดโตวัดเส้นผ่า ศูนย์กลางขนาด 2-2.5 นิ้วนำเอามาตัดท่อนๆความเท่ากับขนาดของหัวร่มและตุ่มร่มที่ต้องการแล้วเจาะรูตรงกลางขนาดพอที่จะใส่คันร่มชนิดนั้นๆ ได้แล้วจึงเอาไปกลึงเป็นหัวร่มรือตุ่มร่มตามแบบที่ได้กำหนดไว้
2. การทำซี่ร่ม หลังจากได้ไม้ไผ่มาแล้งก็นำเอามาตัดออกเป็นท่อนๆถ้าเป็นไม้ไผ่ที่มีปล้องยาวก็ตัดระหว่างข้อ แต่ถ้าเป็นไม้ปล้องสั้นก็ตัดให้ข้อไม้อยู่ตรงกลางความยาวของท่อนไม้ที่ตัดเท่าับขนาดของร่มที่จะทำ เช่น ทำร่มขนาด 20นิ้วก็ตัดไม้ไผ่ยาว 20นิ้วเป็นต้นเมื่อตัดไม้ไผ่เป็นท่อนยาวแล้วก็ใช้มีดขูดผิวไม้ออกให้หมดแล้วทำเครื่องหมายสำหรับเจาะรูไว้
โดยการใช้ตะปูตอกบนไม้ ขอให้ปลายตะปูโผล่ออกมานิดหนึ่งแล้วใช้ไม้ขอขีดรอบปล้องไม้ตรงกับระยะที่ต้องการเจาะรูแล้วจึงผ่าไม้ออกเป็น 4 ชิ้น แต่ละชิ้นขนาดเท่ากันใช้มีดตรงท้องตามระยะที่ได้กะไว้ให้เสมอกันทุกชิ้น ให้ทางปลายซี่เรียว และใช้มีดจักเป็นซี่ๆตรงหัวไม้ ความหนาแต่ละซี่ประมาณ 1/8 นิ้ว แล้วใช้มือฉีกออกเป็นซี่ๆ ถ้าฉีกไม่ออกก็ใช้มีดผ่าออกไปตรงๆ แล้วเหลาทั้งสองข้างให้ เรียบและปาดตรงหัวซี่ทั้ง 2 ให้บางพอดีที่จะใส่เข้าร่องหัวร่มได้แล้วซี่ตรงท้องนิดนึงเพื่อให้มุมมนแล้วเหลาตรงท้องซึ่งให้ ้ปลายซี่ร่มเรียวเท่ากันทุกๆซี่ ใช้มีดปลายแหลมแทงลงไปตรงรอยปาดท้องซี่ ให้ปลายมีดทะลุออกด้านหลังซึ่งตรงกลางแล้ว ผ่าตรงออกไปตามยาวประมาณ 2 นิ้ว เพือให้ปลายซี่สั้นสอดเข้าไปเวลาร้อยคือ ประติดกับซี่สั้น
ส่วนการทำซี่ร่มสั้นนั้น ตัดไม้ยาวตามขนาดที่ต้องการแล้วเกลาเอาผิวไม้ออก แล้วทำเครื่องหมายสำหรับเจาะรู แล้ว จักเป็นซี่ๆ เหลาสองข้างให้เรียบร้อย ปลายซึ่งข้างหนึ่งปาดท้องซี่ให้เป็นมุมแล้วเหลา 2 ข้าง ให้บางที่จะสอดเข้ารองตุ่มร่มได้ ส่วนอีกข้างหนึ่งเหลาปลายให้มน และเหลาตรงปลาย 2 ข้างให้บางพอสมควร
3. การเจาะรูซี่ร่มสั้นและซี่ร่มยาว ใช้เหล็กแหลมชนิดปลายเป็นสามเหลี่ยมเจาะโดยการหมุนไปหมุนมาหรือ จะใช้เหล็กแหลมเผาไฟให้ร้อนแล้วเจาะรูก็ได้(ถ้าไม่มีเครื่องเจาะ) แต่ถ้ามีเครื่องเจาะซี่ร่มโดยเฉพาะ ก็ใช้เครื่องเจาะเพราะจะได้เร็ว
4. การมัดหัวร่มและตุ่มร่มนำเอาซี่ร่มยาวและซี่ร่มสั้นที่เจาะรูแล้วร้อยติดกันเรียงเป็นตับโดยร้อยเอาทางหลัง ซี่ขึ้นข้างบนทุกซี่ แล้วเอาหัวร่มที่ผ่าร่องซี่แล้วมาปาดซี่ออกเศีย 1 ช่อง เพื่อสำหรับจะได้ไว้ผูกปมเชือก เอาซี่ร่มที่ร้อยแล้วใส่ลงไป ในหัวร่มช่องละซี่ แล้วดึงเชือกให้ตึงแล้วใส่ต่อไปอีกจนครบทุกช่อง แล้วดึงปลายเชือกทั้ง 2 ข้างให้ตึง เอาปลายเชือกผูกให้แน่น แล้วตัดเชือกที่ผูกออกให้เหลือปลายเชือกไว้ประมาณข้างละ 1 นิ้ว การมัดหัวร่มและตุ้มร่มทำด้วยวิธีเดียวกัน
ประวัติโดยย่อ
ในอดีตหมู่บ้านบ่อสร้าง อ.สันกำแพง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ท่ามกลางธรรมชาติแบบชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ทำนาทำสวน ยามว่างเว้นจากการทำการเกษตรมักจะผลิตร่มออกจำหน่าย ซึ่งเป็นร่มกระดาษสา ต่อมาเติมแต่งลวดลายกลายเป็นร่มที่สวยงาม น่าซื้อไว้ใช้และเป็นของฝากของที่ระลึก
เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา"ท่านอินศวร ไชยซาววงศ์ ลูกพ่อขุนเปา ซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อค้า และเป็นคนพื้นที่ ได้เล็งเห็นว่าหมู่บ้านบ่อสร้าง เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนมีฝีมือ สามารถผลิตร่มออกขายได้เงินได้ทอง กันจำนวนมาก จึงชักชวนกับชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นในสมัยนั้น ริเริ่มจัดงานขึ้นครั้งแรก ปีแรก มีผู้คนหลั่งไหลกันเข้ามาเที่ยวชมงานกันอย่างล้นหลาม ด้วยกิจกรรมนานาชนิดและการละเล่นพื้นบ้าน
ต่อมามนต์ขลังของงานร่มบ่อสร้าง ได้จางหายไปจัดกันขึ้นมาต่อเนื่องเช่นกัน ประสบความสำเร็จบ้างไม่ประสบความสำเร็จบ้านแต่ทำกันมาตลอดโดยจะจัดขึ้นประมาณเดือนมกราคมของทุกปี ที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากกระดาษสา โดยเฉพาะร่มบ่อสร้าง มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน และการประกวดต่างๆที่น่าสนใจ ซึ่งจัดมาจนถึงปีนี้เป็นครั้งที่ 25 เเล้ว
มูลเหตุที่ทำให้เกิดมีงานเทศกาลร่มบ่อสร้างขึ้นมานั้น เกิดจากในช่วงเวลาหนึ่งที่ชาวบ้านบ่อสร้างซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน กำลังจะละทิ้งอาชัพการทำร่มแล้วหันไปประกอบอาชีพอื่นที่ให้ผลกำไรมากกว่า ได้แก่ การแกะสลักไม้ เป็นเครื่องเรือนชนิดต่างๆ จนเป็นที่น่าวิตกว่า ในอนาคตอันใกล้แหล่งผลิตงานศิลปหัตถกรรมพื้นเมือง อันเป็นสัญลักษณ์ของชาวเชียงใหม่นั้นจะต้องสูญสลายไป ในที่สุดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เพ่งเล็งเห็นความสำคัญในการสูญเสียสิ่งอันมีค่านี้ได้เข้ามามีบทบาทส่งเสริมงานอนุรักษ์และฟื้นฟูการทำร่มของชาวบ่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ มาตรฐานการผลิต เงินทุน และการตลาด ฯลฯ เมื่อชาวบ้านบ่อสร้างได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานดังกล่าว จึงมีกำลังใจที่จะหันกลับมาทำร่มผลิตภัณฑ์พื้นบ้านอันมีค่าของตนดังเดิม การจัดงานเทศกาลร่มบ่อสร้างจึงเกิดขึ้นตาม แผนงานรณรงค์การประชาสัมพันธ์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูการทำร่มบ่อสร้างอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งในขั้นนี้เป็นขั้นสำคัญ อันจะสอดคล้องกับแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยว คือ โครงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมและหัตถกรรมพื้นบ้านประจำภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในระยะแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529