ลิ้นจี่เมืองสมุทรสงคราม เป็นพันธุ์ที่ติดดอกออกผลได้โดยไม่ต้องการอากาศที่หนาวเย็นมากนัก ได้แก่ พันธุ์ค่อม กะโหลก สำเภาแก้ว และสาแหรกทอง ลิ้นจี่สมุทรสงครามจะสุกประมาณเดือนเมษายน พื้นที่พิเศษของเมืองสมุทรสงคราม เมืองสามน้ำ ที่มีเพียง 3 อำเภอ แต่ในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภออัมพวา และอำเภอบางคนที ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็จะเห็นแต่ต้นลิ้นจี่ และส้มโอ เต็มพื้นที่ประมาณ 8,600 ไร่ ให้ผลิตผลิตปีละ ประมาณ 4,000 ตัน ตามสภาพความเอื้ออำนวยของดินฟ้าอากาศ
มีหลักฐานยืนยันได้ว่าสมุทรสงคราม เป็นลิ้นจี่ที่มาจากเมืองจีน โดยพ่อค้าชาวจีนได้นำผลลิ้นจี่เข้ามาขายหรือนำมาฝากญาติพี่น้อง ชาวจีนด้วยกันที่อาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำแม่กลองและแควอ้อมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งในขณะนั้นแม่กลองเป็นเมืองหนึ่งที่ขึ้นอยู่มณฑลราชบุรี หรือที่ทำการของมณฑลราชบุรีในสมัยนั้น ลิ้นจี่ที่ปลูกครั้งแรกพบว่ามีการปลูกกันตั้งแต่ปี พ.ศ.2340 ที่ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที และที่ตำบลเหมืองใหม่
อำเภออัมพวา และยังคงมีต้นลิ้นจี่ที่มีอายุถึง 200 ปี ให้เห็นในทุกวันนี้ รวมพื้นที่เพาะปลูกลิ้นจี่ ทั้งสิ้น ประมาณ 5,380 ไร่
ลักษณะเด่นของลิ้นจี่พันธุ์ค่อมสมุทรสงคราม
1.ผลลิ้นจี่จะมีสีแดงสด ค่อนข้างกลม มีลักษณะบ่าสูง
2.หนามตั้ง เมื่อผลลิ้นจี่แก่จัดได้ที่ หนามลิ้นจี่จะไม่แหลมสูง แต่จะมีลักษณะราบลงและ
อยู่ห่างกันไม่เป็นกระจุก 3.หนังตึง ลิ้นจี่ที่แก่จัดได้ที่จะมีสีแดงสด (เข้มเหมือนสีน้ำหมาก)
ค่อนข้างกลมไหล่ผลจะสูงลักษณะขอบเปลือกบางตึง
4.เนื้อเต่ง เนื้อลิ้นจี่จะมีสีขาวขุ่น เนื้อหนากรอบ เนื้อแห้งไม่แฉะ มีกลิ่นหอม รสหวาน
5.ร่องชาด คำนี้เป็นภาษาของชาวสวนหมายถึง สีของเปลือกด้านในของลิ้นจี่เมื่อปลอก
เปลือกออกแล้วจะเป็นเห็นเป็นสีชมพูตั้งแต่ขั้วผลจนถึงกลางผลจะเป็นลิ้นจี่ค่อมที่มีรสชาติ
อร่อยที่สุด แต่ถ้าเปลือกด้านในเป็นสีชมพูทั้งผลสีแดงว่าลิ้นจี่นั้นแก่จัดเกินไป รสชาติจะ
อร่อยน้อยลง
ทั้งนี้ลิ้นจี่สมุทรสงครามเมื่อจัดได้ที่ จะมีสีเข้มเกือบดำ ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติของผล
ไม้ไม่ใช่เป็นลิ้นจี่ ที่ใกล้จะเน่าเสียแต่อย่างใด ดังนั้นหากผู้บริโภคเห็นว่าลิ้นจี่สมุทรสงคราม
มีสีเข้มเกือบดำ โปรดอย่าเข้าใจว่าเป็นของเก่าหรือใกล้จะเน่าเสีย เพราะถึงแม้เปลือกของลิ้นจี่
จะมีสีเกือบดำแต่ก็ยัง รับประทานได้และมีรสชาติหวานอร่อย