หอยหลอด มีชื่อสามัญว่า Rozor clam และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Solen Strictus Gould 1861 เป็นหอยทะเลกาบคู่ รูปร่างคล้ายหลอดกาแฟ ยาว 7-8 ซ.ม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. เปลือกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อสีขาวขุ่น ส่วนหัวนิ่ม ส่วนปลายเหนียว ชอบฝังตัวตามแนวดิ่งในตะกอนดินโคลนปนทรายบริเวณปากแม่น้ำที่ชาวบ้านเรียกว่าทรายขี้เป็ด บริเวณที่มีหอยหลอดเป็นจำนวนมากในประเทศไทยคือ ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากที่ดอนหอยหลอดแล้ว ยังอาศัยอยู่ที่ จังหวัดเพชรบุรี จ.สมุทรปราการ จ.ตราด รวมไปถึงประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลีย
ชอบฝังตัวตามแนวดิ่งในตะกอนดินโคลนปนทรายบริเวณปากแม่น้ำ ช่วงน้ำแห้งจะเป็นโอกาสที่ชาวประมงจับหอยหลอดได้ โดยหอยจะเปิดฝาอยู่เรี่ยพื้น และยึดตัวยื่นออกมาจับแพลงตอนเป็นอาหาร หรือเคลื่อนตัวออกไปหาพื้นที่อยู่ใหม่
การจับหอยหลอดต้องใช้มือกดลงบนพื้นทราย เมื่อปรากฏฟองอากาศและเห็นรู จะใช้ไม้จิ้มปูนขาวแหย่ลงไปในรู ทำให้หอยโผล่ขึ้นมาให้จับ
การจับหอยหลอดจะใช้ปูนขาวหยอดลงในรู ทำให้หอยโผล่ขึ้นมาให้จับได้ง่าย ช่วงที่เหมาะสำหรับการจับมากที่สุดคือเดือน ม.ค.-พ.ค. เพราะตอนกลางวันน้ำจะลดลงมาก ทำให้สันดอนโผล่พ้นน้ำ เนื้อหอยหลอดนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท ทั้งทอดกรอบ ต้มยำ และผัดฉ่า