เป็นของฝากขึ้นชื่อประจำจังหวัดระนอง
ขายกันเป็น OTOP ทั้งหมู่บ้าน
ซาลาเปาทับหลี ถือว่า มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ทั้งหมู่บ้านขายซาลาเปากันทั้งหมู่บ้านตลอดสองข้างทาง ที่ บ้านทับหลี อ.กระบุรี ใครที่ขับรถผ่านไปมาช่วงเช้าถึงพลค่ำ เป็นต้องแวะซื้อ ตัวอย่างเช่นผม ทุกครั้งที่ไปกระบี่หรือภูเก็ต แล้วเลือกใช้เส้นทางผ่าน จ.ระนอง
การเดินทาง หลังจากผ่าน คอคอดกระ(จุดที่แคบที่สุดของแหลมมาลายู) ก่อนถึง อ.กระบุรีเล็กน้อย จะเห็นป้ายขายซาลาเปาสองข้างทางประมาณ 500 เมตร นั่นแหล่ะครับ ถึงแล้ว หมู่บ้านซาลาเปาทับหลี
จอดรถซื้อกันเองตามใจชอบ
หากถึงตอนดึกมากๆ ไม่มีขายน่ะครับ
แสดงความเป็นเจ้าของบทความ
ไส้ถั่วดำ...สนม้าย...
ร้านซาลาเปา
ดูเหมือนว่า ผมอาจมาเย็นไปหน่อย...บางร้านเริ่มปิดแล้ว
ร้านบุญเจิม
ร้านโกหยุย ซาลาเปา และขนมจีบ
สองฝากถนน ขายกันแต่ ซาลาเปา และขนมจีบ
พูดถึง ขนมจีบ ก็ขอชิมดูหน่อย...
ใช้ได้ดีทีเดียว....สรุปว่าทั้งซาลาเปาและขนมจีบ คือ อาหารมื้อเย็นนี้ไปเลย
ร้านเจ้กุ้ง
ร้านเจ้ป๋าย
ผมขอบรรยายประวัติหมู่บ้าน ทับหลี ซะหน่อย
บ้านทับหลี เดิมเป็นบริเวณร้าง ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขาริมแม่น้ำกระบุรี ชาวบ้านได้สร้างท่าเทียบเรือเพื่อสัญจรในแม่น้ำกระบุรี
ครั้นเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสโดยขบวนช้าง จากจ.ชุมพรมาประทับแรมที่พลับพลาทับหลีสุริยวงศ์ซึ่งหม่อมหลี สุริยวงศ์ ได้สละทรัพย์ให้พระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต จัดสร้างขึ้นเป็นพลับพลาจัตุรมุขที่สวยงาม รุ่งขึ้นเส็ดจประพาสโดยทางเรือผ่านที่ว่าการอำเภอกระบุรี ไปยังจังหวัดระนอง หลังจากเสด็จพระราชดำเนินไปแล้ว บริเวณนี้ซึ่งไม่มีชื่อบ้านมาก่อน จีงเรียกขื่อบริเวณนี้ว่า "บ้านทับหลี" จนถึงปัจจุบัน สันนิษฐานว่าคำว่า "ทับ" น่าจะมาจากคำว่า "ที่ประทับ" ตรงกับภาษาถิ่นใต้ใช้เรียกที่พักชั่วคราวในป่าในการออกไปซองป่าหรือล่าสัตว์ ส่วนคำว่า"หลี"น่าจะมาจากชื่อของ หม่อมหลี สุริยวงศ์ ผู้สร้างพลับพลาที่ประทับถวาย
คำขวัญ ตำบลมะมุ
คอคอดกระ มากเหลือต้นจาก
เสด็จพระแข่งเรือ ของฝากซาลาเปา
เมื่อได้ยินคำขวัญ อย่างนี้แล้ว...หากมีโอกาสมาถึง บ้านทับหลี แล้ว อย่าขับเพลิน ลืมซื้อ ซาลาเปา ติดไม้ติดมือไปด้วย เน้อ...
วางที่นี่