สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหาร Delivery
mk-gold-บุฟเฟ่ต์ mk gold บุฟเฟ่ต์
สุกกี้เอ็มเค + ติ๋มซำ บุฟเฟ่ต์ มีกว่า 90 รายการอาหาร ภายใน 1...
pizza-company pizza company
สั่งซื้อ Pizza Company ทางอินเตอร์เน๊ต ง่ายมากเพียงแค่คลิ๊กท...
โออิชิ-เดลิเวอรี่ โออิชิ เดลิเวอรี่
โออิชิ เดลิเวอรี่...
ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง
ฮั่วเซ่งฮง ภัตตาคารจีน เปิดบริการมายาวนานกว่า 35 ปี...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   ศิลปะและวัฒนธรรม    >   ชีวกัมพวัน   >   
เจ้าของบทความ gplace    Share
ชีวกัมพวัน    ขื่อ : ชีวกัมพวัน

   

   ที่ตั้ง : Shanti Stupa Road, ราชคฤห์, รัฐพิหาร, อินเดีย

   URL : http://gplace.com/ชีวกัมพวัน

   ประเภท :

  จุดเด่น :

บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ 


  รายละเอียด :

ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยเชื่อว่าบารมีของท่านจะช่วยให้หายเจ็บไข้ได้ตามแรงอธิษฐาน จึงมักนิยม จัดสร้าง "รูปเคารพ" หรือ "วัตถุมงคล" ทั้งขนาดบูชา พระเครื่อง และเหรียญ เพื่อไว้สักการะ ขอพรให้หายจากโรคาพยาธิทั้งโรคกายและโรคกรรม อย่างเช่นที่หน้าโรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น 


มีเรื่องราวขีวิตของท่านมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ตลอดชีวิตของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้บำเพ็ญแต่คุณงามความดี ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้โดยไม่เลือกฐานะ จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งปวงในทาง "เป็นที่รักของปวงชน"


หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยนั้นตำแหน่งนี้มีเกียรติยศต่างจากในสมัยนี้ นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้ง 


เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น "เจ้าชายอภัย" โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสาร จะเข้าเฝ้าฯ พระบิดา เสด็จผ่านไปเห็นฝูงการุมล้อมทารกอยู่ เมื่อทรงทราบว่ายังมีชีวิตจึงได้โปรดให้นำไปให้นางนมเลี้ยงไว้ในวัง ประทานนามว่า "ชีวก" แปลว่า ยังเป็นอยู่หรือยังมีชีวิตอยู่ และมีสร้อยนามว่า "โกมารภัจจ์" อันหมายถึง ผู้อันพระราชกุมารเลี้ยง


ชื่อ ชีวก ตั้งขึ้นตามคำกราบทูลตอบคำถามของพระองค์ที่ตรัสถามว่า เด็กยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า มหาดเล็กกราบทูลว่า ยังมีชีวิตอยู่ (ชีวโก) ส่วนคำว่า โกมารภัจจ์ แปลว่า กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู หรือ กุมารในราชสำนัก หมายถึง บุตรบุญธรรม นั่นเอง ฉะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ จึงหมายถึง บุตรบุญธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ นั่นเอง


เมื่อเติบโตขึ้นชีวกถูกพวกเด็ก ๆ ในวังล้อเลียนว่า เจ้าลูกไม่มีพ่อ ด้วยความมานะ จึงหนีพระบิดาไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่น วิชาที่เลือกเรียนคือวิชาแพทย์ แต่เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียน จึงอาสารับใช้พระอาจารย์ เมื่อเรียนอยู่ถึง 7 ปี จึงลาอาจารย์กลับบ้าน ระหว่างทางอาจารย์ให้ไปหาต้นไม้ที่ทำยาไม่ได้ ให้เก็บตัวอย่างมาให้ดู ปรากฏว่ากลับมามือเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้ อาจารย์บอกว่าเขาได้เรียนจบแล้ว จึงอนุญาตให้กลับได้


หลังจากกลับเมืองมาแล้ว ได้รักษาพระเจ้าพิมพิสารให้หายขาดจากภคันทลาพาธ (โรคริดสีดวงทวาร) และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวง และได้รับพระราชทานสวนมะม่วง แต่ต่อมาหมอชีวกก็ได้ถวายสวนนี้ให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย ด้วยความที่เป็นคนบำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ไม่เลือกฐานะ จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ ในด้านแพทย์ เป็นที่รักของปวงชน


หมอชีวกได้รักษาโรคร้ายสำคัญหลายครั้ง จนเมื่อคราถวายการรักษาแด่พระพุทธองค์ในคราวที่พระบาทห้อพระโลหิต เนื่องจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขาเพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ หมอชีวกก็ได้บรรลุธรรมเป็น "พระโสดาบัน" และด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้าปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ 2-3 ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไปจึงสร้างวัดถวายใน "อัมพวัน" คือสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า "ชีวกัมพวัน" (อัมพวัน ของหมอชีวก) เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า


ในวงการแพทย์แผนโบราณในปัจจุบันนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป


  เงื่อนไข :

แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 1382 โหวต : 594
Google Map

ประวัติการเข้าชม
ภูทอกเลย


ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   วัดญี่ปุ่นพุทธคยา  (1386)
   ปาวาลเจดีย์BuddhasRelicStupa  (1460)
   วัดไทยไวสาลีอินเดีย  (1400)
   วัดเวฬุวันมหาวิหาร  (1416)
   วัดไทยพุทธคยา  (1355)
   กูฏาคารศาลาวัดป่ามหาวันไวสาลี  (1545)
   หลวงพ่อองค์ดำ  (1621)
   วัดไทยสะสาราม  (1457)
   สถูปพระเจ้าอชาติศัตรู  (1328)
   วิทยาลันนาลันทา  (1418)
   ชีวกัมพวัน  (1382)
   วัดไทยสิริราชคฤห์  (1600)
   วัดไทยพุทธภูมิWatThaiBuddhabhumi  (1385)
   วัดไทยนาลันทา  (1758)
   เขาคิชฌกูฏราชคฤห์  (1264)
   เจดีย์บ้านนางสุชาดา  (1295)
ร้านอาหาร
ที่พัก
ของฝาก
เทศกาล
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)