สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหาร Delivery
mk-gold-บุฟเฟ่ต์ mk gold บุฟเฟ่ต์
สุกกี้เอ็มเค + ติ๋มซำ บุฟเฟ่ต์ มีกว่า 90 รายการอาหาร ภายใน 1...
pizza-company pizza company
สั่งซื้อ Pizza Company ทางอินเตอร์เน๊ต ง่ายมากเพียงแค่คลิ๊กท...
โออิชิ-เดลิเวอรี่ โออิชิ เดลิเวอรี่
โออิชิ เดลิเวอรี่...
ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง
ฮั่วเซ่งฮง ภัตตาคารจีน เปิดบริการมายาวนานกว่า 35 ปี...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   ศิลปะและวัฒนธรรม    >   วัดธรรมาธิปไตย   >    อุตรดิตถ์
เจ้าของบทความ heartkub    Share
วัดธรรมาธิปไตย    ขื่อ : วัดธรรมาธิปไตย

   

   ที่ตั้ง : ต.ท่าอิฐ อ.เมืองอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์

   URL : http://www.thai-tour.com/thai-tour/North/uttaradit/data/place/wat_thamma_thipatai.html

   ประเภท : วัด

  จุดเด่น :

 

ศาสนสถานและศิลปวัตถุสำคัญ
     หลวงพ่อเชียงแสน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์วัดธรรมาธิปไตย ประดิษฐานในอาคารอุโบสถธรรมสภาอาคารธรรมสภา กว้าง 19.30 เมตร ยาว 40.30 เมตร เป็นอาคาร
ปูน 2 ชั้นหลังแรกในจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม​เป็นนายกรัฐมนตรี (เริ่มสร้าง พ.ศ. 2491) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก​สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี​พระบรมราชินีในรัชกาลที่​7 ​ทรงปิดทองลูกนิมิตเอก ในวันที่​3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 อาคารธรรมสภาเป็นอาคารซึ่งสร้างด้วยแนวคิด ธรรมสภา (ในสมัยพุทธกาล) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้ 7 ประการอยู่ในที่เดียวกัน คืออุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ โรงเรียน หอสวดมนต์ หอไตร และธรรมสมาคม ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2493 โดยมี อดีตพระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.8) อธิบดีสงฆ์วัดธรรมาธิปไตยในขณะนั้น
(ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ธรรมสภา และสมาคมบันลือธรรม) เป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการจัดหาทุนจากทั่วประเทศ
     หลวงพ่อเชียงแสน เป็นพระประธานในอุโบสถธรรมสภา (ขนาดหน้าตักกว้าง 38 นิ้ว สูง 67 นิ้ว) มีพุทธลักษณะปางมารวิชัย เนื้อโลหะสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ สร้างในสมัยสุโขทัย สกุลช่างสุโขทัยยุคกลาง มีอายุกว่า 700 ปี นำมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2485 หลวงพ่อเชียงแสนเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัยองค์สำคัญ 1 ใน 2 องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน (อีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดคุ้งตะเภา มีนามว่า หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดคุ้งตะเภานั้นไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปสักการะเหมือนวัดธรรมาธิปไตย เนื่องด้วยปัญหารักษาความปลอดภัย)

  รายละเอียด :

 

 วัดธรรมธิปไตย
ตั้งอยู่ในตัวเมืองใกล้สี่แยกจุดตัดของถนนอินใจมีกับถนนสำราญรื่น เป็นที่เก็บบานประตูของวิหารหลังใหญ่ และเก่าแก่มากของวัดพระฝาง บานประตูทำจากไม้ปรูขนาดกว้าง 2.2 เมตร สูง 5.3 เมตร และหนา 16 เซนติเมตร แกะสลักในสมัยอยุธยาเป็นลายกนกก้านขด มีลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ 7 พุ่มระหว่างพุ่มมีกนกใบเทศขนาบสองด้าน กล่าวกันว่า เป็นบานประตูไม้แกะสลักที่มีความงามเป็นที่สองรองลงมาจากประตูวิหารวัดสุทัศน์ที่กรุงเทพฯ
 
วัดธรรมาธิปไตย เดิมชื่อ วัดท่าทราย เนื่องจากเดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน (ท่าอิฐล่าง) หรือบ้านบางโพเหนือ ต่อมาน้ำได้กัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อย ๆ จนถึงที่ตั้งวัด จึงต้องย้ายหนีน้ำขึ้นมาห่างจากที่เดิมประมาณสองกิโลเมตร สภาพที่ตั้งใหม่มีต้นไม้ร่มรื่นมากมาย โดยเฉพาะมีต้นมะขามขนาดใหญ่อย่ในบริเวณวัด จึงได้ชื่อวัดใหม่ว่า วัดต้นมะขาม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2345
     ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดได้ส่ง พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.๘) มาเป็นเจ้าอาวาสวัดต้นมะขาม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 พระสุธรรมเมธีดำริว่าชื่อวัดต้นมะขามนั้นฟังเหมือนอยู่ในป่าและต้นมะขามใหญ่นั้นก็ไม่มีปรากฏแล้ว อีกทั้งวัดในขณะนั้นอยู่กลางเมืองอุตรดิตถ์มีผู้คนผ่านไปมามากควรเปลี่ยนชื่อใหม่ให้ไพเราะ จึงได้ทำการขออนุญาตเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดธรรมาธิปไตย ตั้งแต่นั้นมา

  เงื่อนไข :

 

อาณาเขตที่ตั้งวัด
     ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 19 ไร่ 24 ตารางวา ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบตั้งอยู่กลางชุมชน
ทิศเหนือ ยาว 200 เมตร จดทางสาธารณะ (ถนนอินใจมี) 
ทิศใต้ ยาว165 เมตร จดที่ส่วนบุคคล (พ.ต.ธีระ) 
ทิศตะวันออก ยาว 200 เมตร จคทางสาธารณะ (ถนนสำราญรื่น) 
ทิศตะวันตก ยาว 180 เมตร จดที่ส่วนบุคคล (นายทองดา ขุนอินทร์) 

แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 4556 โหวต : 594
Google Map



ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว อุตรดิตถ์ *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง  (5496)
   วัดเจดีย์คีรีวิหาร  (6869)
   เวียงเจ้าเงาะ  (6759)
   วัดพระฝาง  (8362)
   วัดพระแท่นศิลาอาสน์  (5499)
   เมืองลับแล  (2785)
   อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ  (6098)
   อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก  (4777)
   อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร  (5332)
   น้ำตกแม่พลู  (8467)
   วัดดอนสัก  (5405)
   ลับแล  (7301)
   วัดกลางธรรมสาคร  (6120)
   หอวัฒนธรรมอุตรดิตถ์  (6814)
   หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน  (8432)
   วัดธรรมาธิปไตย  (4556)
   หนองพระแล  (10203)
   วัดพระยืนพุทธบาทยุคล  (5068)
   เขื่อนสิริกิติ์  (5345)
   วัดใหญ่ท่าเสา  (5108)
ร้านอาหาร
   เรือนพี่เรือนน้อง  (5537)
   ร้านอาหารตะโกลา  (2450)
ที่พัก
   บ้านริมน้ำจังหวัดอุตรดิตถ์  (7522)
ของฝาก
   ทุเรียน-ลับแล  (15555)
   ม่อนลับแล  (23422)
   ไม้กวาด-ลับแล  (13067)
เทศกาล
   เทศกาลลางสาดหวาน-อุตรดิตถ์  (5845)
   ประเพณีสงกรานต์น้ำอ่าง  (3344)
   งานประเพณีถวายค้างบูยา  (8591)
   ประเพณีสงกรานต์บ้านพระศรีของดีเมืองลับแล  (4152)
   งานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด  (4252)
   ประเพณีไหลแพไฟเฉลิมพระเกียรติ-จ-อุตรดิตถ์  (4306)
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)