วัดป่าโมกวรวิหาร
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของ ประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท ประมาณ12วา ( 22.58 เมตร) ก่ออิฐถือปูนปิดทอง ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง และผู้สร้าง แต่มีในพระราชพงศาวดารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ว่าพระองค์ก่อนจะยกทัพไปรบ กับพระมหาอุปราชได้เสด็จมาชุมนุมพล และถวายสักการะ บูชาก่อนยกทัพไปตีพม่า และในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ประมาณปี พ.ศ. 2269 ว่าวิหารที่ประดิษฐาน อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยานั้น กระแสน้ำได้กัดเซาะตลิ่ง จนเกือบถึงพระวิหาร
พระเจ้าท้ายสระจึงโปรดฯให้ ทำการชลอพระพุทธรูปให้ห่างออกจากริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่และยากลำบากมาก ได้มอบหมายให้พระยาราชสงครามเป็นเจ้างาน และได้เสด็จมาควบคุมการชะลอองค์พระ ให้พ้นจาก กระแสน้ำเซาะตลิ่งพังไปไว้ยังวิหารใหม่ ที่วัดตลาดห่างจากฝั่งแม่น้ำ 168 เมตร ได้ในปีพ.ศ.2275 แล้วโปรดให้รวม วัดตลาดกับวัดชีปะขาวเป็นวัดเดียวกัน พระราชทานนามว่าวัดป่าโมกเพรา ะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย แต่ยังไม่ได้ทันได้ฉลองก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน และได้ทำการฉลองในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งเป็นรัชกาลต่อมา ซึ่งมีโคลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์ใน สมัยเป้นกรมพระราชวังบวร เรื่องการชะลอพระพุทธไสยาสน์ปรากฏอยู่ในพระวิหารด้วย
และมาปรากฏในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ว่า มีเรื่องโจษจันกันว่า พระนอน วัดป่าโมกข์พูดได้ โดยมีพยานทั้งพระและฆราวาส ความถึงพระเนตรพระกรรณ พระองค์พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯจึงได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการ องค์พระนอน ในสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้มีมากมาย อาทิ พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารเขียน มณฑปพระพุทธบาท 4 รอย พระเจดีย์ อนุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช – สมเด็จพระเอกาทศรถ วังมัจฉา เป็นต้น ทางวัดจัดให้มีงาน นมัสการพระนอน วัดป่าโมกข์ ประจำปี 2ครั้ง คือวันขึ้น 14 ค่ำ ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 4 และ วันขึ้น 12 ค่ำ ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 11