วัดมหาธาตุ ยโสธร
ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง เป็นวัดคู่ยโสธรมาตั้งแต่สร้างเมือง (บ้านท่าสิงห์เดิม) โบราณสถาน ที่สำคัญในวัดมี 2 แห่ง คือ พระธาตุยโสธร(พระธาตุอานนท์) และหอไตร
พระธาตุอานนท์
เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร ไปตาม ทางหลวงหมายเลข23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) ประมาณหลักกม.ที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กม.
พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยา ตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็น ก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางของ องค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน เป็นส่วนยอดรอบนอกของ พระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตร สภาพโดยทั่วไป ในปัจจุบันนี้องค์พระธาตุ ชำรุดทรุดโทรม ปูนส่วนใหญ่ที่โบกไว้โดยรอบกะเทาะออกเกือบหมด และเห็นอิฐ ที่ใช้ก่อได้อย่าง ชัดเจน ส่วนยอดของพระธาตุก็หักพังลงมาก
นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝน จะแล้งในปีนั้น
พระธาตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับ เรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อย กลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนา ตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลายอารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยสาเหตุ เพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่ กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึง แก่ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็น การอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรม และล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต
นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติ ศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลาย เขียนสีแบบบ้านเชียงซึ่งกรม ศิลปากรกำลังดำเนินการจัดตั้งอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ขึ้น
หอไตร
เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานของวัด ตั้งอยู่ตรงกลางสระทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจาก เวียงจันทน์ มีซุ้มประตู และบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม มีลวดลายการตกแต่ง ฝาผนัง ซึ่งเป็น ลักษณะผสมแบบภาคกลางทำให้กล่าวได้ว่า หอไตรน่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์