วัดสะพานหิน
โบราณสถานด้านทิศตะวันตกของกำแพงเมืองที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินลูกเตี้ยสูงประมาณ 200 เมตร มีทางเดินปูด้วยหินชนวนแผ่นบางๆ จนถึงบริเวณลานวัด
ตั้งอยู่บนเนินเขาที่มีความสูง 200 เมตร ซื่อวัดเรียกตามลักษณะทางที่ปูลาดด้วยหินชนวนจากตีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทาง 300 เมตร ก่อนถึงตัววัดบนเนินลาดมีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดเล็ก บนยอดเนินเป็นวิหารพระยืน ผนังรับองค์พระก่อด้วยอิฐ พระวิหารใช้เสาศิลา สภาพปัจจุบันปรักหักพังมาก สิ่งสำคัญในวัด คือ พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย มีขนาดใหญ่สูง 12.50 เมตร เรียกว่า พระอัฎฐารส ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปประทับยืนที่นิยมสร้างกันในสมัยสุโขทัย สันนิษฐานกันว่า พระอัฎฐารสนี้ คือพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงเมืองสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า "…ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณึ่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฎฐารสอันณึ่งลุกยืน… " และสันนิษฐานกันอีกว่า วัดสะพานหินนี้น่าจะเป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงช้างเผือกชื่อ รูจาคีรี ขึ้นไปนบพระทุกวันข้างขึ้น 15 ค่ำและข้างแรม 15 ค่ำ