"วัดเทพนิมิตร" เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2411 มีเนื้อที่ในการสร้างวัดจำนวน 25 ไร่ 2 งาน 8 ตารางวา เดิมทีเข้าใจว่า เคยเป็นที่พำนักสงฆ์มาก่อนเพราะที่ดินแปลงนี้ ตามหนังสือประวัติพระครูศิริปัญญามุนี พิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำณาปนกิจของท่าน เมื่อวันที่15 เมษายน พ.ศ. 2459 กล่าวว่า มีอุบาสิกาอิ่มเป็นต้น ได้เคยถวายให้ท่านอาจารย์ท้วม (ต่อมาเป็นพระครูท้วม) ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว แต่ไม่เป็นอารามขึ้นไป จะเป็นเพราะเหตุใดเป็นเนื้อที่เท่าใดและเมื้อใดไม่ปรากฏ ครั้งต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2411 พระอ่อน เทวนิโภ (ภายหลังเป็นพระครูศิริปัญญามุนี) เดิมทีท่านผู้นี้พำนักอยู่วัดสัมพันธวงศ์ (เกาะ) กรุงเทพๆ ได้มีความอุสาหะวิริยะอย่างแรงกล้าเพื่อรีบท ประโยชน์ในท่างเผยแผ่ประกาศพระศาสนา และในทางก่อสร้างถวายวัตถุสถาน จึงได้ออกจากวัดสัมพันธวงศ์มาทางจังหวัดฉะเชิงเทรา พักอยู่สถานที่แห่งนี้ ได้แสดงธรรมเทศนาแก่ทายกทายิกาทั้งหลายในละแวกนั้นเพราะความเชี่ยวชาญในการแสดงธรรมของท่าน จนมีทายกทายิกาทั้งหลายเกิดความเลื่อมใสศรัทธในพระพุธศาสนาของท่านเป็นอันมาก
ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2451(หลังแรก) ได้เริ่มก่อสร้างพระอุโบสถซึ้งก่อด้วยอิฐถือปูน กว้าง 3วา 3ศอก ยาว 7วา สูงจากระดับดินถึงอกไก่ 5วา เครื่องบนส่วนมากใช้ไม้สัก มุมด้วยกระเบื้องมอญ (ต่อมาเปลียนเป็นกระเบื้องปูนซีเมนต์) เสร็จเรียบร้อยราวปี พ.ศ.2421 - 2422 แล้วขนาดนามว่า “วัดเทพนิมิตร” ในปีนั้น และมอบให้พระอาจารย์ท้วม ปกครองวัดแทน
คำว่า “วัดเทพนิมิตร” นี้กล่าวกันว่า จะเนื่องมาจากการก่อสร้างวัดเสร็จโดยเร็ว เปรียบประหนึ่งว่าเทพพระเจ้าชั้นดาวดึงษ์มาสร้างให้ หรือจะหมายเอานามฉายาของท่านพระครูศิริปัญญามุนี ว่า “เทวนิโภ” ผุ้ก่อสร้างก็เป็นได้ หรืออีกนัยหนึ่งได้ทราบว่า เมือแรกลงมือสร้างวัดนีมีเทวดามาเข้าฝันท่านพระครุ บอกว่าทำไปเถิดจะช่วยให้สำเร็จตามความปรารถนา เพราะเหตุเหล่านี้กระมั้ง จึงขนานนามวัดว่า "เทพนิมิตร"
วัดเทพนิมิตร เป็นสถานที่ที่ประชาชนชาวตำบลหน้าเมือง และชุมชนใกล้เคียง ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี