สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหาร Delivery
mk-gold-บุฟเฟ่ต์ mk gold บุฟเฟ่ต์
สุกกี้เอ็มเค + ติ๋มซำ บุฟเฟ่ต์ มีกว่า 90 รายการอาหาร ภายใน 1...
pizza-company pizza company
สั่งซื้อ Pizza Company ทางอินเตอร์เน๊ต ง่ายมากเพียงแค่คลิ๊กท...
โออิชิ-เดลิเวอรี่ โออิชิ เดลิเวอรี่
โออิชิ เดลิเวอรี่...
ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง
ฮั่วเซ่งฮง ภัตตาคารจีน เปิดบริการมายาวนานกว่า 35 ปี...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   ศิลปะและวัฒนธรรม    >   วัดใหญ่จอมปราสาท   >    สมุทรสาคร
เจ้าของบทความ heartkub    Share
วัดใหญ่จอมปราสาท    ขื่อ : วัดใหญ่จอมปราสาท

   

   ที่ตั้ง : ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

   URL : http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/samutsakorn/data/place/pic_wat-yaijomprasat.htm

   ประเภท : วัด

  จุดเด่น :

พระอุโบสถ

พระวิหารเก่า

เจดีย์ทรงมณฑป


  รายละเอียด :

 

วัดใหญ่จอมปราสาทเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยนั้นบริเวณด้านหน้าของวัดเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ มีฐานะเป็นเมืองท่าตลาดริมน้ำมีพ่อค้าจากทางทะเล และพ่อค้าจากเมือง ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินมาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันอย่างเนืองแน่น ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชาวจีน ดังนั้นจึงได้เรียกชุมชนนี้ว่า "บ้านท่าจีน" ปัจจุบันน้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้าไปจนถึงบริเวณด้านหน้าวัด ทำให้พื้นที่ของชุมชนบ้านท่าจีนรุ่นแรกๆ ถูกทำลายล่มลงแม่น้ำจนหมด ชาวบ้านจะเรียกชื่อต่างๆ กันไป เช่น วัดใหญ่ วัดจอมปราสาทหรือ วัดใหญ่จอมปราสาท ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานชื่อว่า " วัดใหญ่สาครบุรี " และทรงพระราชทานพระไตรปิฏกบรรจุตู้ละจบ จำนวน 39 เล่ม ให้มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ในฐานะที่เป็นพระอารามหลวง
พระอุโบสถ : พระวิหาร ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคา เครื่องไม้มุงกระเบื้อง ช่อฟ้าใบระกาปูนปั้นประดับกระจก หน้าบันปูนปั้นประดับกระจก ด้านหน้ามีมุขยื่น ออกมาจำนวน 1 ห้อง ผนังก่ออิฐถือปูนด้านหน้ามีประตูทางเข้า 2 ประตู ซุ้มประตูปูนปั้นประดับกระจก ทรงมณฑป บานประตูเป็นไม้แกะสลักลวดลายพันธุ์พฤกษา และสิงสาราสัตว์ต่างๆ โดยแกะสลักลึกเข้า ไปในเนื้อไม้ เป็นฝีมือช่างโบราณที่มีความงดงามในเชิงช่างและศิลปะเป็นอันมาก ลักษณะลวดลายจะมีอิทธิพลของศิลปะจีนเข้ามาปะปนอยู่ด้วยทั้งสองบาน ผนังด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ 6 บาน ซุ้มหน้าต่าง เป็นซุ้มหน้านางปูนปั้นประดับด้วยลายกระหนกเปลว บานหน้าต่างไม้แกะสลักเป็นลวดลายต้นไม้ ภูเขา รูปสัตว์และบุคคล แบบศิลปะจีน บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถนี้แต่เดิมเป็นบานประตูและ หน้าต่างของพระวิหารเก่านำมาซ่อมแซม และติดไว้ที่พระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูป ประทับนั่ง ปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น บนเพดาน และขื่อมีลวดลายเขียนสีเป็นรูปดอกไม้และลายประจำยาม
พระวิหารเก่า : อาคารก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าฐานบัวโค้งแอ่นคล้ายท้องเรือสำเภา สภาพปรัก หักพัง ผนังด้านทิศใต้และหลังคาพังทลายลงมาหมด ลักษณะของผนังก่ออิฐถือปูน สอบเข้าด้านบน ทางด้านหน้ามีซุ้มประตูทรงมณฑป ประดับลวดลายปูนปั้น 1 ช่อง ด้านหลังทึบ ผนังทางด้านทิศเหนือมีเสาประดับผนังแบ่งออกเป็น 5 ห้อง โดยห้องแรก และห้องสุดท้าย จะย่อมุมเข้าไป ส่วนอีก 3 ช่องเป็นผนังเรียบ ผนังห้องกลางมีช่อง หน้าต่าง 2 บาน ซุ้มหน้าต่างเป็นซุ้มหน้านางประดับลวดลายปูนปั้น ที่หัวเสาของผนัง ในแต่ละช่องประดับปูนปั้นเป็นลายกรวยเชิง สันนิษฐานว่าพระวิหารหลังนี้คงจะสร้าง ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ศาลาการเปรียญ : ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรง สี่เหลี่ยมยกพื้นสูง หลังคามุงกระเบื้องช่อฟ้าใบระกาปูนปั้นทาสีขาว หน้าบันไม้แกะสลักลวดลายก้านขด และพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน เป็นหน้าบันไม้แกะสลักที่มีความงดงามที่ตั้งของอาคารทั้งสามหลังนั้น จะหันหน้าไปทางแม่น้ำท่าจีนด้านทิศตะวันออกในแนวระนาบเดียวกัน พระวิหารเก่าและพระอุโบสถจะอยู่ในเขตกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนเดียวกัน โดยจะมีซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้า 1 ซุ้ม เป็นซุ้มประตูก่ออิฐถือปูนทรงมณฑป ส่วนศาลาการเปรียญตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ
เจดีย์ทรงมณฑป : ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงมณฑปเรือนธาตุมีซุ้มทั้งสี่ด้าน ส่วนยอดเป็นปรางค์ สภาพชำรุดทรุดโทรมมาก มีรากไม้พันอยู่ทั้งองค์ การกำหนดอายุสมัย : กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  เงื่อนไข :

เที่ยวได้ตลอดทั้งปี


แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 4791 โหวต : 594
Google Map



ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว สมุทรสาคร *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   ศาลเจ้าหลักเมืองสมุทรสาคร  (5588)
   วัดโคกขาม  (4965)
   คลองโคกขาม  (1179)
   วัดนางสาว  (5015)
   นากุ้งนาเกลือ  (4283)
   ชมสวนผลไม้ดอกไม้  (2698)
   แม่น้ำท่าจีน  (5319)
   ตลาดมหาชัย  (3917)
   วัดช่องลม  (6592)
   หมู่บ้านชาวประมงท่าฉลอม  (6433)
   วัดใหญ่จอมปราสาท  (4791)
ร้านอาหาร
   แมกไม้ชายเลน  (1887)
   ครัวชายน้ำชายคา  (3052)
   nutty-cake-bakery-coffee  (5782)
   portochino  (7643)
   เรือนปั้นหยาสมุทรสาคร  (3951)
   เรือนอาหารลมทะเล  (5020)
   ลุงหมูเมืองทอง  (3640)
   ก๋วยเตี๋ยวเจ๊แกละ  (4245)
   ก๋วยเตี๋ยวต้มยำตำลึงนายเอก  (2643)
   ครัวโบแดง  (4267)
   ลานเท-มหาชัย  (4657)
ที่พัก
   บ้านคุ้งน้ำ-รีสอร์ท  (9642)
   โรงแรมเซ็นทรัล-เพลส  (11439)
ของฝาก
   ลอดช่อง-วัดเจษ  (9601)
เทศกาล
   งานเทศกาลอาหารทะเล-จ-สมุทรสาคร-ครั้งที่11  (3829)
   งานประเพณีสงกรานต์วัดบางปิ้ง  (3582)
   ไหว้เจ้า-9-ศาล-เทศกาลกินเจ-สมุทรสาคร  (6637)
   ไหว้เจ้า-9-ศาล-เทศกาลกินเจสมุทรสาคร  (926)
   สืบสานสีสันลายเส้น-เบญจรงค์ดอนไก่ดี-ครั้งที่-3  (4101)
   งาน-สืบสาน-สีสัน-สายเส้น-เบญจรงค์ดอนไก่ดี  (4443)
   ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร  (4321)
   งานประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง  (3995)
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)