วัดไชยศรี
ตั้งอยู่ที่บ้านสะวี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2408 สิ่งที่น่าสนใจคือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ดู สวยงามแปลกตา ฝีมือช่างพื้นบ้านชาวมหาสารคาม นาย ทอง ทิพย์ชา ภาพจิตรกรรมที่วัดนี้จะเขียนทั้งภาย ในและ ภายนอกสิม(โบสถ์) สิ่งที่สะดุดตาอันดับแรกคือการใช้สี ช่างจะเขียนด้วยสีฝุ่นโทนสีคราม เหลือง ขาว มองสบายตา ลักษณะการเขียนภาพเน้นสัดส่วนที่เกินจริง อารมณ์ของภาพดูสนุกสนาน ตัวละครจะออก ท่าทางโลดโผน เรื่องราวที่เขียนบนฝาผนังด้านนอกเป็นรูปนรกแปดขุม ภาพพระเวสสันดร นิทานพื้นบ้าน เรื่องสังข์สินไชย ภาพทวารบาล ส่วนด้านในจะเล่าเรื่องพุทธประวัติ มีภาพเทพ มนุษย์ และสัตว์ต่างๆ แต่ ปรกติวัดในต่างจังหวัดยังคงเคร่งตามประเพณีเดิม คือผู้หญิงไม่สามารถเข้าไป ภายในโบสถ์ได้ ซึ่งวัด ไชยศรีก็เป็นวัดหนึ่งที่ยังรักษาธรรมเนียมนี้อยู่
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของสิมโบราณ เดิมเป็นหลังคาแบบอีสานคือมีปีกยื่น ต่อมาหลังคาชำรุด ชาวบ้าน จึงร่วมกันปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ซึ่งไม่สามารถ กันแดดกันฝนได้ทั่วถึงจึงทำให้ภาพจิตรกรรมที่ผนังด้านนอกเลือนไปบ้าง แต่อย่างไรก็ดีกรมศิลปากรก็ได้เข้ามาต่อเติม ปีกด้าน ข้างของโบสถ์ แล้ว นอกจากนั้นยังยกพื้นขึ้นเพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะฐานด้วย