ถ้าพูดถึงเรื่องตำนาน ที่ยโสธรก็มีเรื่องเล่ามากมาย ที่นี้เป็นอีกที่ ที่มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ ประเพณี ศาสนา ความเชื่อต่างๆ ความเชื่อนั้นคือ คนยโสธรคิดว่าโลกนั้นมี ทั้งโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกบาดาล โดยโลกมนุษย์อยู่ภายใต้การดูแลของโลกเทวดาซึ่งขาวอีสานเรียกเทวดาว่า พญาแถน ซึ่งพญาแถนส่งผลต่อ ดิน ฟ้า อากาศ ลม หากมนุษย์ทำให้พญาแถนพอใจ ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงเกิดพิธีการบูชาพญาแถนโดยการใช้บั้งไฟ เพื่อแสดงการเคารพและบูชาพญาแถน อันเป็นที่มาของประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธรอันโด่งดัง
เมื่อครั้ง พระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็น พญาคันคาก หรือ พญาคางคก ในครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้ดลบันดาล ให้ฝนตก โกธรเคืองมนุษย์และสัตว์โลก จึงสาปแช่งไม่ให้มีฝนตกมายังโลกนานเป็นเวลาเจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวัน ทำให้เกิดความแห้งแล้ง มนุษย์และสัตว์ล้มตายจำนวนมาก มนุษย์จึงได้เข้าเฝ้า พระโพธิสัตว์พญาคันคาก ขอความช่วยเหลือจาก พญาคันคาก จึงได้ไปรบกับ พญาแถน โดยให้พญาปลวกก่อจอมปลวกสู่เมืองสวรรค์ มีบริวารพญาแมงงอด แมงเงาเจ้าแห่งพิษ พญานาคี พญามอด พญาต่อแตน มาช่วยรบ พญาแถนยอมแพ้ จึงดลบันดาลให้ฝนตก"
นอกจากนี้ยังสัญญาอีกว่า เมื่อมวลมนุษย์ต้องการให้ฝนตกครั้งต่อไปก็ให้จุดบั้งไฟขึ้นไปเมืองสวรรค์ พญาแถน ก็จะให้ฝนตกลงมา หากฝนเพียงพอก็ให้เสียงกบ เขียดร้อง เมื่อพญาแถนได้ยินเสียงก็จะให้ฝนหยุด ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยว ประเพณีบุญบั้งไฟจึงถือกำเนิดตั้งแต่นั้นมา
เขาเล่าเว่า ตำนานที่ 2
ณ เมืองอินทะปัตถานคร มีพญาเอกราชปกครองประชาราษฎร์ด้วยหลักทศพิธราชธรรม เคารพและบูชาพญาแถนอยู่เสมอ ต่อมาพระมเหสีมีพระโอรสชื่อ พญาคันคาก มีรูปโฉมอัปลักษณ์ผิวพรรณตะปุ่มตะปั่มคล้ายคางคก แต่ด้วยความเพียรพยายามปฏิบัติธรรม เป็นผู้ทรงทศพิธราชธรรมและขึ้นครองราชย์ในเวลาต่อมา ทำให้บุคลิกภาพแปรเปลี่ยนมีรูปโฉมงดงาม ประชาชนเคารพยกย่องสรรเสริญ จนลืมบวงสรวงพญาแถน
ขณะเดียวกัน ณ เมืองเชียงเหียน อันมีพระยาขอมเป็นเจ้าครองนคร ซึ่งมีธิดาที่สวยงดงามชื่อ นางไอ่ เป็นที่หมายปองของท้าวภังคีซึ่งเป็นโอรสของพญานาคแห่งแม่น้ำโขง แต่ก็ปรากฏเหตุการณ์บางอย่างซึ่งท้าวภังคีเสียชีวิตเพราะนางไอ่ทำให้พญานาคโกรธมากและใช้อิทธิฤทธิ์ถล่มเมืองเชียงเหียนจนล่มจม แม้มีนายผาแดงพานางไอ่ขึ้นนั่งบนหลังมาหลีกหนีจนพ้นอันตราย แต่พญานาคก็ตามทันและใช้หางตวัดทำร้ายจนนางไอ่เสียชีวิต ฝ่ายพญาแถนรับรู้เรื่องราวจึงไม่ยอมให้พญานาคขึ้นไปเล่นน้ำในสระโบกขรณีบนฟ้าเช่นเคย
น้ำในสระดังกล่าวจึงนิ่งไม่ล้นหรือกระฉอกลงสู่พื้นดิน จึงทำให้บังเกิดความแห้งแล้งแก่โลกมนุษย์และสรรพสัตว์ ดังนั้นพญาคันคาก(คางคก) จึงยกทัพไปรบกวนพญาแถนและบังคับให้พญาแถนปฏิบัติเช่นเคยทุกๆ ปีและทุกๆ เดือนหก ซึ่งพญาแถนก็ยินยอมโดยให้พญานาคขึ้นไปเล่นน้ำที่สระโบกขรณีเช่นเคย โดยมีเงื่อนไขว่าต้องการฝนตกเมืองใดให้พญาคันคากส่งบั้งไฟไปบอกเมื่อนั้น พญาแถนก็จะปล่อยฝนมาทันทีและตลอดเดือนเพื่อให้เกษตรกรได้ทำนาและเพาะปลูกตามฤดูกาล