สถานีรถไฟกันตัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล อันเป็นคู่สีหลักที่คุ้นตาของอาคารรถไฟทั่วไป ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนตัวอาคารและชานชาลา ด้านหน้าของอาคารมีมุข ยื่น มีการตกแต่งประดับมุมเสาด้วย ลวดลายไม้ฉลุ
ส่วนตัว อาคารที่ทำเป็นห้อง มีผนังไม้ตีตามตั้งโชว์แนวเคร่า พร้อมช่องลมระแนงไม้ตีทแยง บานประตูหน้าต่างไม้แบบเก่า ส่วนที่เป็นโถงมีรั้วลูกกรงไม้พร้อมบานประตูขนาดเล็กน่ารักกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ส่วนด้านหลังอาคารเป็นชานชาลามีหลังคาจั่วคลุมแยกต่างหาก โดยเสารับหลังคาชานชาลานี้มีค้ำยันไม้ฉลุตกแต่งให้กลมกลืนกับตัวอาคาร
ภายในสถานียังพอมีข้าวของเครื่องใช้ในอดีตคงเหลืออยู่บ้าง โดยภาพรวมแล้วยังรักษาเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ไว้ได้เป็นอย่างดี นับเป็นสถานีรถไฟที่มีความสวยงามเป็นพิเศษ จากสถานะที่มีความสำคัญต่อกิจการรถไฟดังที่กล่าวมา ทำให้ไม่แปลกใจว่าทำไมสถานีรถไฟปลายทางเล็ก ๆ แห่งนี้จึงถูกออกแบบอย่างพิถีพิถันเช่นนี้ ซึ่งเป็นผลทำให้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดตรัง จากกรมศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2539
นอกจากตัวสถานี พื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟแห่งนี้ในอดีตเคยคึกคักไปด้วยโรงเก็บรถจักร และบ้านพักพนักงานการรถไฟ แต่ปัจจุบันได้เงียบเหงาลงตามวัฏจักรของสรรพสิ่ง คงไว้แต่ร่องรอยของอดีตผ่านตัวอาคารและคำบอกเล่า ที่คนรุ่นหลังคงนึกภาพให้ออกได้ยากเต็มที
ท้ายสุดนี้มีข้อสังเกตว่าในอดีตสถานีรถไฟ และชุมชนบ้านพักรถไฟเกือบทุกแห่ง ล้วนแต่ได้รับการออกแบบจัดวางผังเป็นอย่างดี มีระบบและแบบแผน ที่สมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันคนรถไฟที่พอมีฐานะเลือกที่จะออกไปซื้อบ้านจัดสรรอยู่เสียมาก
ส่วนที่คงอาศัยอยู่ก็ขาดการบำรุงรักษา ทำให้สภาพบ้านพักรถไฟส่วนใหญ่ถูกทอดทิ้งชำรุดทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ หากการรถไฟฯ วาง แผนฟื้นฟูโดยไม่ต้องลงทุนมากนัก เช่นปรับประโยชน์ใช้สอยบ้านพักรถไฟให้เป็นที่พักคนเดินทาง โดย มีบริการให้ในระดับเดียวกับโฮม สเตย์ ก็อาจเป็นการเพิ่มรายได้ที่ดีกว่า ปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมลงไป เรื่อย ๆ โดยอาจใช้ชื่อให้เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครว่า Railway Home Station เพื่อสร้าง แบรนด์
หากเริ่มที่สถานีรถไฟกันตัง ซึ่ง อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการท่องเที่ยวสูงก่อน ก็อาจเป็นโครงการนำร่องที่มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จ และกระตุ้นให้มีกำลังใจ และกำลังทุนที่จะพัฒนาพื้นที่อื่น ๆ ของรถไฟให้ฟื้นคืนชีวิตชีวาได้ต่อไป.
สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2456ในอดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500เมตร ไปถึงท่าเรือกันตัง ซึ่งเป็นท่าเรือเก่าแก่ตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันทางรถไฟส่วนนี้ถูกชาวบ้านรุกล้ำที่ จนไม่สามารถใช้การรางรถไฟส่วนนี้ได้แล้ว