ภูน้อย เป็นบริเวิณสุสานของไดโนเสาร์วางตัวอยู่ในชั้นหินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนบนบกเกิดเป็นภูเขาหินตะกอน ในปี 2551 ได้เริ่มสำรวจขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ ทั้งเกล็ดปลาโบราณ เเละกระดูกไดโนเสาร์มากมายวางตัวอยู่บนชั้นหินทราย เช่น กระดูกส่วนขา กระดูกส่วนหลัง กระดูกส่วนคอ กระดูกส่วนซี่โครง มีสภาพแตกหัก กระจัดกระจาย
ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม คณะสำรวจได้ทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบต่อเนื่องมากขึ้น พบตัวอย่างไดโนเสาร์หลายชั้น เเละได้ทำการขุดล้อมเเละเข้าเฝือกซากดึกดำบรรพ์เพื่อป้องกันการแตกหักในระหว่างขนย้ายกลับเข้ามาทำการอนุรักษ์ตัวอย่างต่อที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร
ปี 2554 ตั้งเเต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤศจิกายน ทางคณะทำงานเพื่อการสำรวจเเละศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ แหล่งขุดค้นซากดึกดำบรรพฺภูน้อย ประกอบด้วย กรมทรัพยากรธรณีและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าทำการสำรวจขุดค้น และอนุรักษ์ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์เพิ่มเติม โดยพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ จระเข้ เต่า ปลา รวมเพื่มมากกว่า 250 ชิ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมีการค้นพบโครงกระดูกหางของไดโนเสาร์ชอโรพอดที่วางตัวต่อเนื่องกันอีกด้วย