ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญสูงมาก เป็นพาหนะของชนชั้นสูงสำหรับพระราชดำเนินทางบก และเป็นเหมือนรถถังหรือ เครื่องมือสำคัญในการนำลี้พลเข้าต่อสู้กับข้าสึก ยิ่งถ้าเป็นช้างเผือก สิ่งมงคลคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว พระองค์ก็จะทรงโปรดเกล้าฯให้นำมาเลี้ยง และประดับยศศักดิ์ให้ด้วย
พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา น่าจะเสด็จมาทอดพระเนตรการคล้องช้างด้วยเสมอ เพราะนอกจากจะเป็นขั้นตอนในการคัดเลือกช้างแล้ว ยังเป็นมหรสพชนิดหนึ่งอีกด้วย
ที่ตั้งวังช้างอยุธยา แล เพนียด ริมถนนป่าโทน ข้างคุ้มขุนแผน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2540 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เดิมได้ตั้งชื่อว่า ปางช้างอยุธยา แล เพนียด และได้เปลี่ยนชื่อ ใหม่เป็น วังช้างอยุธยา แล เพนียด เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของและสถานที่ ที่อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่มรดกโลก คำว่า แล หมายถึง แลมอง แลเห็น แลดู เป็นคำโบราณ เพนียด หมายถึง โบราณสถานเป็นที่จับช้างโบราณ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ความหมายรวม คือ เป็นสถานที่ทำงานของช้าง และดูแลเพนียดคล้องช้าง
ภาพของวังช้างอยุธยา แล เพนียด
ขนาดพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ทิศเหนือติดกับบึงน้ำโบราณข้างคุ้มขุนแผน ทิศใต้ติดริมถนนป่าโทน ตั้งใกล้กับศาลหลักเมือง ด้านทิศตะวันออกติดกับสระน้ำวัดเกษ ทิศตะวันตกติดกับโครงการตลาดน้ำเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
สิ่งก่อสร้างของวังช้างอยุธยา แล เพนียด
ลานพักช้างใหญ่
เป็นลานโล่งมีคานเหล็กกั้นสูง 150 เซนติเมตรขนาดเหล็กที่เป็นเสาเหล็กกลม 8 นิ้วมีตะแกรงเหล็ก เพื่อป้องกันช้างนำอาหารฟาดที่ตะแกรงแล้วไม่เสียหาย ที่กั้นช้างด้านหน้ายาว 10 เมตร ป้องกันนักท่องเที่ยวเข้าใกล้ชิดช้างเพื่อให้อาหารช้างในระยะแค่ปลายงวงจะกั้นเฉพาะด้านหน้าที่นักท่องเที่ยวให้อาหารช้างและ บันทึกภาพเท่านั้น คอกกันชั้นในและชั้นนอกห่างกัน 150 เซนติเมตร หลังคากันแสงทำด้วยการขึงแสลนสีดำ ป้องกันแสงแดด ด้านริมถนนเป็นรั้วลวดหนาม ด้านในจะเป็นลานโล่ง ใช้เชือกกั้นมิให้บุคคลภายนอกเข้าไปเป็นบริเวณที่ช้างพักอาศัย เพื่อป้องกันอันตราย ควาญช้างก็จะใช้พื้นที่เป็นสถานที่พักช้าง อาบน้ำให้ช้าง พักผ่อน
ลานพักช้างน้อย
ช้างน้อยจะอยู่ด้านหน้าของช้างใหญ่ จะมีราวเหล็กสำหรับผูกช้าง ด้านริมถนน มีรั้วลวดหนามกันริมถนน ยาวประมาณ 4 เมตร ช้างน้อยไปทำงานวันละ 3-4 เชือก มีหน้าที่คอยต้อนรับนักท่อง เที่ยว เชิญชวนนักท่องเที่ยวบันทึกภาพกับช้างน้อย โดยคิดค่าใช้จ่ายต่อท่าน 40 บาท ควาญช้างน้อยจะมีหน้าที่สลับกันออกมาต้อนรับและพักในบริเวณ ลาน ให้อาหารและทำความสะอาด (เก็บมูลช้างเอง) ถ้าเป็นปัสสาวะ ต้องนำน้ำมาราด กวาดให้แห้ง วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ช้างน้อยจะโชว์ความสามารถ ประกอบเสียงดนตรี มีคนพากษ์ เสริมกิจกรรมลอดท้องช้าง ให้เป็นสิริมงคลสำหรับผู้มาเยือน เป็นภาพที่ประทับใจของนักท่องเที่ยวจริง ๆ
อาคารจำหน่ายตั๋ว สำนักงานของฝ่ายขาย
เป็นอาคารทรงไทย ขนาดกว้าง 2.8 เมตร ยาว 4 เมตร มีผนังติดกระจกติดเครื่องปรับอากาศ เป็นสำนักงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน 4 คน จำหน่ายบัตรนั่งช้าง ติดต่อสอบถาม เก็บเอกสารสำนักงาน โทรศัพท์ เครื่องส่งโทรสาร
อาคารจำหน่ายของที่ระลึก
อาคารทรงไทย ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ติดเครื่องปรับอากาศสำหรับจำหน่ายของที่ระลึก ดังเช่นผลิตภัณฑ์กระดาษมูลช้าง เสื้อยืด ของที่ระลึกจากเซรามิก ผ้าไหม ร่ม ฯลฯ ที่เกี่ยวกับช้าง มีเจ้าหน้าที่คอยบริการ 4 คน
อาคารจำหน่ายอาหารช้าง
อาคารทรงไทย ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร มีบาร์กันสูง 1 เมตร มีเคาร์เตอร์ วางตะกร้า ใส่อาหารช้าง เช่น กล้วย อ้อยสับ อาหารเม็ด จำหน่ายตะกร้า นมสำหรับช้างน้อยทางบริษัทจำหน่ายให้ในราคาทุน ซึ่งเป็นนมสำหรับเด็ก (ของคน) มาผสมน้ำ น้ำตาลและวิตามิน เกลือแร่ให้ช้างกิน สำหรับนักท่องเที่ยวซื้อให้ช้างน้อย
ห้องน้ำ
สำหรับบริการนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่จะอยู่ด้วยกัน เพราะพื้นที่จำกัด ของวังช้างอยุธยา แล เพนียด การสร้างห้องน้ำจะเป็นลักษณะอาคารชั้นเดียวทรงไทยยาว ห้องสุขาหญิง 5 ห้อง ห้องสุขาชาย 2 ห้อง ห้องปัสสาวะชาย จะอยู่ด้านหลังอาคาร
ลานจอดรถ ของนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่
ใช้พื้นที่ด้านหลังวังช้างอยุธยา แล เพนียด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน รถยนต์ส่วนบุคคล ให้ข้ามสะพานไปจอดพื้นที่เป็นเกาะว่าง ส่วนรถบัสขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ให้จอดที่ลานกว้าง ด้านหลังคุ้มขุนแผน มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยการสะดวก รวมถึงที่จอดรถจักรยานนักท่องเที่ยว
ด้านความปลอดภัย
ตำรวจท่องเที่ยว จะมาตรวจเยี่ยมทุกชั่วโมง โดยตู้สีน้ำเงินมีสมุดให้ตรวจเยี่ยม เพื่อให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวปลอดภัย และทุกวันตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยา จะมีมาลงชื่อตรวจเยี่ยมทุกวัน
ด้านการบริการนักท่องเที่ยว วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้จัดเจ้าหน้าที่ควาญช้าง เป็นเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งมี 2 จุดระยะห่างกัน 200 เมตร เฝ้าระวังช้างและคนทั่วไปเข้ามารบกวนช้างบ ระหว่างบริการนักท่องเที่ยว เพื่อช่วยควาญช้างที่อยู่บนคอช้าง เป็นการเพิ่มความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง
การจัดการสิ่งแวดล้อม สิ่งปฏิกูลจากช้าง
1. ช้างเป็นบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริโภคร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวเฉลี่ยแล้ววันละ 200 กิโลกรัมต่อเชือกโดยประมาณ เมื่อกินมากก็ถ่ายมูลมาก วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยเก็บมูลช้างที่ล่วงลงพื้น โดยใช้เวลาการเก็บหลังจากมูลล่วงลงพื้นไม่เกิน 2 นาที นำมูลช้างมารวบรวมไว้ในรถลากบรรทุก ระหว่างเส้นทางเดินของช้างจะมีเจ้าหน้าที่ เป็นระยะคอยเก็บมูลช้างมารวบไว้ ทุก 2 วัน จะนำมูลช้างมาทิ้งไว้ที่ทิ้งมูลช้าง ที่หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง ต.สวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. ปัสสาวะช้าง ปกติช้างจะกินน้ำปริมาณ 10-20 ลิตรต่อครั้ง กินน้ำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน กินน้ำเท่าใด ก็ปัสสาวะเท่านั้น เมื่อช้างมาอยู่รวมกัน ปัสสาวะจะมากและถ้าทิ้งไว้ให้แห้งจะส่งกลิ่น การจัดการต้องใช้น้ำล้างพื้น มีลางระบายน้ำมีบ่อพักน้ำปัสสาวะและน้ำล้างพื้นไปรวมกันโดยนำน้ำชีวภาพ (น้ำอีเอ็ม) มาใส่ในบ่อพักน้ำจะทำให้ย่อยสลาย และระบายไปตามท่อระบายน้ำทิ้งต่อไป
ส่วนลานปูนอีก 1 แห่งคือระยะข้างวงเวียนศาลหลักเมือง จะเป็นจุดถ่ายภาพที่ประทับใจของนักท่องเที่ยว คือริมบึงพระรามและด้านหลังเป็นวัดพระราม จะเป็นจุดที่บันทึกภาพได้สวยงาม ตรงบริเวณนั้น เทคอนกรีตปูพื้นด้วยอิฐโบราณ ทำให้เข้าบรรยากาศโบราณสถานและทำพื้นที่ให้เอียง มีบ่อพักให้น้ำปัสสาวะช้างมารวมกันและมีปั้มน้ำคอยล้างพื้นทุก ๆ 1 ชั่วโมง ช้างเมื่ออยู่รวมกันจะได้กลิ่นปัสสาวะเพื่อนช้างด้วยกัน ก็จะมีปฎิกิริยาต่อการปัสสาวะ อีก 1 จุดบริเวณด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง ตรงนั้นเรียกกันว่าจุด 20 นาที ช้างจะหยุดถ่ายภาพ เมื่อหยุดช้างได้กลิ่นปัสสาวะเพื่อนช้างก็จะปัสสาวะเช่นกันอีก การจัดการนำผงดินซีโอไลด์ ซึ่งมีคุณสมบัติกำจัดกลิ่น ทำให้กลิ่นของปัสสาวะช้างจะลดลง และราดพื้นด้วยน้ำชีวภาพ
ขยะมูลฝอย
ที่เกิดจากช้างคือเศษอาหารช้าง คือใบสับปะรด เศษหญ้า เศษอาหารช้าง เช่นเปลือกผลไม้ ฯลฯ จะนำมาเก็บรวมไว้ในรถกระแทะเศษอาหาร มูลช้างแยกใส่อีก 1 กระแทะ เพื่อนำมาทำปุ๋ยชีวภาพอีกครั้ง ส่วนขยะอื่น ๆ จะมีเจ้าหน้าที่รถเก็บขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา มาดำเนินการจัดเก็บต่อไป
ร้านอาหาร
เป็นร้านจำหน่ายอาหาร พื้นที่ขนาด กว้าง 3.5 เมตร ยาวประมาณ 5 เมตร อยู่ด้านลานจอดรถ ควาญช้างเรียกว่าร้านน้าปลื้ม เป็นที่จำหน่ายอาหารตามสั่ง และข้าวแกง โดยให้น้าปลื้มมาจำหน่ายอาหารให้ควาญช้างในราคาประหยัด เปรียบเหมือนสวัสดิการควาญช้างและพนักงาน ไม่ต้องเดินทางไปไกล จะเป็นที่รับประทานอาหารของควาญช้าง เจ้าหน้าที่ และบางครั้งนักท่องเที่ยวไทย คนขับรถ และไกด์ ก็มารับประทานเช่นกัน
กิจกรรมของวังช้างอยุธยา แล เพนียด ช้างใหญ่ บริการนักท่องเที่ยวนั่งช้างชมโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เส้นทางการเดินของช้างนำนักท่องเที่ยวชมโบราณสถานดังรายการ ระยะเวลา 10 นาที ได้ชมโบราณสถานดังนี้ ศาลหลักเมือง วัดเกษ คุ้มขุนแผน วัดพระราม
เส้นทางการเดินของช้างนำนักท่องเที่ยวชมโบราณสถาน ระยะเวลา 20 นาที ได้ชมโบราณสถานดังนี้ ศาลหลักเมือง วัดเกษ คุ้มขุนแผน วัดพระราม วิหารพระมงคลบพิตร อนุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง บึงพระราม ด้านอยุธยามหาปราสาท
กิจกรรมช้างเล็ก
ช้างเล็กคือช้าง ตั้งแต่ 3 - 10 ขวบ จะได้รับการฝึกให้ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วย การแสดงความสามารถ ดังเช่น สวัสดี ออกเสียง การนั่งกับพื้น ยืนสองขา เดินสองขา สามขา เป่าเมาร์ออแกน ใส่หมวกให้นักท่องเที่ยว นั่งบนเก้าอี้ เล่นฮูลาฮูก เป็นการแสดงให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเป็นรอบ วันละ ประมาณ 3 รอบการแสดง ก่อนและหลังการแสดง จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาขอถ่ายภาพ ซึ่งจะคิดค่าบริการท่านละ 20 บาท เพื่อเป็นรายได้ให้กับช้างและควาญ
กิจกรรมที่ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมคือการได้ซื้ออาหารให้ช้าง ให้นมช้างให้ขนมปัง
กิจกรรมบันทึกภาพด้วยระบบดิจิตอล พร้อมอัดภาพให้พร้อม
นักท่องเที่ยวเมื่อใช้บริการนั่งช้าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการจะบันทึกภาพท่านไว้ แล้วเข้าระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อท่านกลับมาจากนั่งช้าง ท่านก็จะได้ชมภาพของท่านบนจอภาพ เมื่อท่านประสงค์จะอัดภาพ เป็นที่ระลึก ท่านก็เพียงสั่งภาพ ภายใน 30 วินาที ท่านจะได้ภาพที่ประทับใจ
กิจกรรมเสริม
การบริการถ่ายภาพด้วยระบบดิจิตอล 3 ขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก สำหรับนักท่องเที่ยว ที่มาเยือน ด้วยระบบที่รวดเร็วทันสมัย ถ่ายและขยาย ได้เลย ภายในเวลา 45 วินาที เป็นการบันทึกภาพเมื่อนั่งช้าง ออกจากเกย เจ้าหน้าที่จะบันทึกภาพของนักท่องเที่ยวทุกคน เมื่อนักท่องเที่ยวกลับมา ก็จะให้ชมที่จอโทรทัศน์ เมื่อตัดสินใจเลือกภาพแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะสั่งล้างภาพให้ โดยระหว่างที่นักท่องเที่ยวรอ ก็จะเข้าไปชมสินค้าของที่ระลึก
นิทรรศการกิจกรรมผลงานช้างที่วังช้างอยุธยา แล เพนียด
กิจกรรมช้างช่วยเก็บศพ เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้ ทีมงานช้างไปช่วงเก็บศพที่จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ชาวญี่ปุ่นทุกคนรู้จักเหตุการณ์นี้เป็นอย่างดี แต่ที่ประทับใจคือช้างได้มีส่วนร่วมในครั้งนี้ กิจกรรมช้างแสดงความสามารถในการแสดงภาพยนตร์ ละคร ต้อนรับอาคันตุกะ ศิลปินดารา ภาพยนตร์ ละคร ฯลฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เห็นความสามารถของช้าง
หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง
ที่ตั้ง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางการเดินทางจากตัวเมือง ข้ามคลองเมือง(แม่น้ำลพบุรีเดิม) ตามเส้นทางผ่านวัดวงษ์ฆ้อง วัดอินทาราม วัดแม่นางปลื้ม วัดสามวิหาร วัดเจดีย์แดง เพนียดคล้องช้าง หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง จะตรงกันข้ามกับ สำนักงานทางหลวงชนบท และบ่อบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ก่อนถึงวัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร เป็นสถานที่อยู่อาศัย ที่พักให้กับควาญช้าง ทุกคน แบ่งออกเป็นห้องแถว เป็นอาคารชั้นเดียว แบ่งออกเป็นห้องพักกว้าง 3.6 เมตร ยาว 4.8 เมตร มีจำนวน 12 ห้อง มีแถวเดียว และบ้านหลังเดียว ขนาดเดียวกับห้องพัก จำนวน 24 ห้อง แต่ปลูกเป็นหลัง มีพื้นที่ต่อเติมให้สำหรับที่ครอบครัวมีลูก และชายคาด้านหน้า อาคารต่อกันมุงจาก มีไฟฟ้าและน้ำสำหรับควาญช้างฟรี ห้องน้ำจะเป็นห้องน้ำรวม ชีวิตกับที่พักของควาญช้างส่วนใหญ่จะอยู่นอกบ้าน พื้นที่ของหมู่บ้านช้างเพนียดหลวงอยู่ติดกับแม่น้ำลพบุรี ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางด้วยเรือสามารถมาเยือนได้อีกทางหนึ่ง ปัจจุบัน จะมีนักท่องเที่ยวชาวไทย และต่างประเทศ เข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรมและการดูแลช้างจำนวนมาก นักเรียน นักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ การเลี้ยงช้างและกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้านช้าง ซึ่งมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และกิจกรรมดังต่อไปนี้
คชอภิบาลสถาน ศาลปะกำ
สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน เชือกปะกำ เชือกบาศ ที่สำหรับคล้องช้าง ที่ได้รับมอบจากหมอเฒ่า หมอช้างจากจังหวัดสุรินทร์และชัยภูมิ ซึ่งเป็นเชือกของบรรพบุรุษของควาญช้างที่ ใช้คล้องช้าง(จับช้างป่า) มาฝึกหัดเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ สตรีห้ามจับและบุคคลใดจะขึ้นไปบนศาลมิได้นอกจากเจ้าของศาล หรือได้รับอนุญาต เฉพาะผู้ที่เจ้าของอนุญาตเท่านั้น บนศาลปะกำนั้นก็จะเป็นที่รวบรวมอุปกรณ์ในการคล้องช้าง เช่น แผ่นหลังรองหลังช้าง ทวย กาหลั่น ซองในอุปกรณ์ต่าง ไม้งก ไม้คันจาม และงาช้างที่เสียชีวิตไป ได้ถอดงาเก็บไว้ พร้อมกับอวัยวะช้าง เช่น ปลายงวงนำมาทำให้แห้ง หางช้างที่เสียชีวิตไปแล้วเก็บไว้บูชา
ควาญช้าง เจ้าหน้าที่และผู้ที่เดินทางมาหมู่บ้านช้างที่ศรัทธาในปะกำจะกราบไหว้ขอพร จะเกิดโชคลาภ ตามประสงค์สิ่งที่นำมากราบไหว้ ดังเช่น หัวหมู ไก่ต้ม ผลไม้ สุรา หมากพลู บุหรี่ ดอกไม้ ธูปเทียน พวงมาลัย ฯลฯ ยกเว้นเป็ด การเซ่นไหว้ดังเช่นเมื่อเกิดบุตรใหม่ แต่งงานใหม่ เดินทางไปบ้าน กลับบ้านต่างจังหวัด นำช้างไปแสดงในสถานที่ต่างจังหวัด ต้องบูชา บวงสรวง หรือการไปทำงานทุกวันจะประสบโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น ถ้ามิได้บอกกล่าวจะประสบปัญหาต่าง ๆ และก็มีผู้ที่มากราบไหว้ตลอดทุกวัน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีผู้คนเข้ามากราบไหว้ขอพร
โครงการกระดาษมูลช้าง
เป็นการนำ มูลช้าง มาทำกระดาษ เป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน มาปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนการผลิต ให้เหมาะสมกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และพัฒนาขั้นตอนการผลิต ให้เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต และกระบวนการให้ง่ายขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่และแม่บ้านควาญช้างได้ ใช้เวลาว่างมาทำมูลช้างให้เป็นกระดาษ
ช้างกินใบสับปะรด ที่ซื้อมาจากไร่สับปะรด จังหวัดระยอง ที่หักหัวสับปะรดแล้ว เกษตรกรจะไถทิ้ง ผู้รับเหมาจัดหาต้นสับปะรดจะไปเหมาสวนไว้ แล้วตัดต้น ขนส่งมาที่หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง เฉลี่ยวันละ 10 ตัน ช้างกินสับปะรดเป็นอาหารหลัก คุณสมบัติของสับปะรด มีเส้นใยสูง เมื่อกินใบสับปะรด เข้าไปในท้องช้าง ก็เหมือนกับเครื่องต้มใบสับปะรด เมื่อถ่ายออกมาก็จะเหลือเส้นใย กับสิ่งปฎิกูลที่ร่างกายช้างไม่ได้ใช้ เจ้าหน้าที่ควาญช้างจะเก็บมูลช้าง ไปหมักกับเชื้อจุรินทรีย์
(อีเอ็ม) ไว้สัก 3 วัน เพื่อให้กลิ่นมูลช้างนั้นน้อยลง และเปลี่ยนกลิ่น เป็นกลิ่นเปรี้ยว ๆ
ขั้นตอนการผลิต นำเส้นใยมาล้าง น้ำให้เหลือแต่เส้นใย นำไปต้มด้วยความร้อน ผสมโซดาไฟ อัตราใยมูลช้าง 15 กิโลกรัมต่อ โซดาไฟ 1 กิโลกรัม ต้มนาน 1 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาล้างน้ำ ประมาณ 3 ครั้งน้ำเส้นใย เข้าเครื่องปั่นครั้งละ 30 กิโลกรัม ปั่น 30 นาที ก็จะได้เส้นใย สำหรับทำกระดาษมูลช้าง กระบวนการต่อไป ต้องการให้สีออกขาว ก็จะฟอกด้วยคลอรีน แล้วล้างคลอรีนออก ถ้าจะให้มีสีก็ย้อมสีย้อมผ้า เมื่อได้เส้นใยที่ต้องการ ก็นำมาสู่การ ทำกระดาษ ด้วนนำเส้นใยลงในอ่างน้ำ มีเฟรม ขนาดเท่าหนังสือพิมพ์ ตักเส้นใยตามปริมาณ ต้องการความหนา เมื่อลงเฟรมแล้ว เกลี่ยให้เส้นใยกระจายให้ทั่ว ยกให้สะเด็ดน้ำ นำไปตากแดด แห้งสนิทนำมาลอกออกจากเฟรม เก็บในที่แห้งไว้
เมื่อได้กระดาษแล้ว ก็นำกระดาษมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึก เป็นสมุดบันทึก ที่คั่นหนังสือ สมุดสะสมภาพ และนำกระดาษมูลช้างนำมาให้ช้างวาดรูปจำหน่าย ฯล ฯ สถานที่จำหน่ายที่วังช้างอยุธยา แล เพนียด ต่อไป
โครงการปุ๋ยชีวภาพ
มูลช้างจากวังช้างอยุธยา แล เพนียด จะเก็บมารวมไว้ในกระแทะเพื่อนำมาทิ้งที่ลานหมักปุ๋ย ที่หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง ส่วนเศษอาหารช้าง และมูลช้างที่หลักช้าง(ที่นอนช้างในเวลากลางคืน) ในแต่ละวันที่เก็บไว้และจะนำมารวมกัน ที่ลานหมักปุ๋ยเช่นกัน มูลช้างและเศษอาหารจากการกินของช้างจะมาคลุกเคล้ากัน นำน้ำจุรินทรีย์ ชีวภาพไปราด ทิ้งไว้ 1 เดือนไปกลับ 1 ครั้งทิ้งไว้ ก็จะได้ปุ๋ยชีวภาพ นำมา ผึ่งแดดให้แห้ง นำเข้าเครื่องตีปุ๋ยให้ละเอียด แยกเศษไม้ เศษหินออก บรรจุถุงจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว
โครงการสืบสานสายพันธุ์ช้างไทย
ด้วยสถิติของกรมปศุสัตว์ ซึ่งรวบรวมทำประวัติช้างบ้านด้วยการฝังไมโครชิฟที่คอช้างทำทะเบียนประวัติไว้ ซึ่งเริ่มต้นในปี 2540 นี้เอง ส่วนช้างบ้านเมื่ออายุ 8 ปีให้ไปจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง ที่ที่ว่าการอำเภอ คือจดทะเบียนตั๋วรูปพรรณช้าง สถิติทั่วไปประเทศมีช้างบ้านไม่เกิน 2,600 ตัว วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้ตะหนักถึงการเพาะพันธุ์ช้างเพื่อเพิ่มประชากรช้าง การอัตราการเกิดไม่สัมพันธ์กับการตายของช้าง จึงเริ่มส่งเสริมและลงมือเปิดตัวโครงการเพาะพันธ์ช้าง ด้วยการจัดพิธีวิวาห์ช้างขึ้นในปี 2542 เป็นข่าวที่โด่งดังไปทั่วโลก สำนักข่าวได้เผยแพร่ภาพไปทั่วโลก มีการคัดเลือกช้างเพศผู้ เพศเมีย จัดให้มีการวิวาห์ฝ่ายเพศผู้เพศเมีย การจัดครั้งนั้นยิ่งใหญ่ มีประชาชนมาเป็นสักขีพยานจำนวนมาก การผสมพันธ์ช้างระหว่างเพศผู้ และเพศเมีย นั้นต้องมีความสัมพันธ์คือตัวเมียที่เป็นสัดจะต้องได้รับการผสมพันธ์ ในช่วง 3 วัน จะส่งผลให้การผสมพันธ์นั้นประสบความสำเร็จ จากปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาถึงปี พ.ศ. 2550 วังช้างอยุธยา ฯ ได้กำเนิดลูกช้าง 30 เชือก ทำให้นักอนุรักษ์ช้างทั่วโลกได้ให้ความสนใจเข้ามาศึกษาจากเราเป็นจำนวนมาก
โครงการอนุบาลช้างน้อย
จากโครงการสืบสานสายพันธ์ช้าง จะตั้งท้อง 18-22 เดือน เมื่อแม่ช้างตกลูก (ให้กำเนิด) แล้ว ช้างจะได้รับการดูแลอนุบาล คือการเลี้ยงดู โดยแม่ช้างไม่ต้องไปทำงาน อยู่ในคอกที่มีหลังคา เจ้าหน้าที่ควาญช้างคอยดูแล สุขภาพ อาหารช้าง น้ำ เก็บมูล ทำความสะอาด ตลอดระยะเวลา 3 ปีเต็ม ลูกช้างก็จะได้รับความปลอดภัย สุขภาพแข็งแรง แม่ช้างจะได้ปริมาณอาหารที่มากพอที่จะผลิตนมให้ลูกช้างอย่างมีคุณค่า และลูกช้างก็มีพัฒนาการที่ดี จากการกินนมอย่างเดียวก็เริ่มปรับตัวกินอาหารช้างบ้างจนกระทั่ง 3 ปีผ่านไป ลูกช้างจะถูกแยกจากแม่ลูก แม่ก็จะนำมาฝึกใหม่ เพื่อให้ทำงานปกติ ลูกช้างก็จะนำเข้าโรงเรียนฝึกลูกช้างต่อไป
โครงการช้างชรา
ช้างที่ทำงาน ในวังช้างอยุธยา แล เพนียด อายุมากก็จะให้หยุดทำงาน มีจำนวน 4 เชือก ได้แก่ พังดอกหมาก อายุประมาณ 80 ปี พังรุ่งเรื่องอายุ 75 ปีมีปัญหาเรื่องฟันหลุดและกร่อนการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด พังรุ่งทรัพย์อายุ 85 ปี ร่างกายเคลื่อนไหวช้ากินน้อย พังพลับพลึงร่างกายอ่อนแออายุ 65 ปี ช้างเมื่อแก่แล้วจะมีอาการดังกล่าว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่ดูแลสุขภาพอาหารที่เหมาะสมและนำมาออกกำลังกายก็จะส่งผลให้อายุสั้น ทางวังช้างอยุธยา แล เพนียด ก็จัดกิจกรรมดูแลช้างชรา ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้เข้ามาดูแล ทั้งที่ไม่ได้เป็นควาญช้าง บุคคลทั่วไปเข้ามาดูแลให้อาหารพาไปกินหญ้า อาบน้ำ ก็เป็นการต่ออายุช้างให้อยู่กับวังช้างอยุธยา แล เพนียด ให้ได้นานขึ้นไปอีก
บ้านพักรับรอง
บ้านพักรับรองสร้างไว้เป็นห้องพักยกพื้น 1 หลัง แบ่งออกเป็น 2 ห้องนอน กว้าง 3.6 เมตร ยาว 7.2 เมตร มีจำนวน 4 หลัง สำหรับรับรองแขกผู้มาเยือน ประสงค์จะพักที่หมู่บ้านช้าง และสำหรับชาวต่างประเทศ ที่มีความประสงค์จะพักและชมวิถีชีวิตการเลี้ยงช้างของหมู่บ้านช้างเพนียดหลวง โดยมีเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร ชาวออสเตรเลีย 2 คน เข้ามาช่วยดูแล ประสานงานภายใต้โครงการ ประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่มาเลี้ยงช้างที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญสูงมาก เป็นพาหนะของชนชั้นสูงสำหรับพระราชดำเนินทางบก และเป็นเหมือนรถถังหรือ เครื่องมือสำคัญในการนำลี้พลเข้าต่อสู้กับข้าสึก ยิ่งถ้าเป็นช้างเผือก สิ่งมงคลคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว พระองค์ก็จะทรงโปรดเกล้าฯให้นำมาเลี้ยง และประดับยศศักดิ์ให้ด้วย
พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา น่าจะเสด็จมาทอดพระเนตรการคล้องช้างด้วยเสมอ เพราะนอกจากจะเป็นขั้นตอนในการคัดเลือกช้างแล้ว ยังเป็นมหรสพชนิดหนึ่งอีกด้วย
ที่ตั้งวังช้างอยุธยา แล เพนียด ริมถนนป่าโทน ข้างคุ้มขุนแผน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2540 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เดิมได้ตั้งชื่อว่า ปางช้างอยุธยา แล เพนียด และได้เปลี่ยนชื่อ ใหม่เป็น วังช้างอยุธยา แล เพนียด เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของและสถานที่ ที่อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่มรดกโลก คำว่า แล หมายถึง แลมอง แลเห็น แลดู เป็นคำโบราณ เพนียด หมายถึง โบราณสถานเป็นที่จับช้างโบราณ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ความหมายรวม คือ เป็นสถานที่ทำงานของช้าง และดูแลเพนียดคล้องช้าง
ภาพของวังช้างอยุธยา แล เพนียด
ขนาดพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ทิศเหนือติดกับบึงน้ำโบราณข้างคุ้มขุนแผน ทิศใต้ติดริมถนนป่าโทน ตั้งใกล้กับศาลหลักเมือง ด้านทิศตะวันออกติดกับสระน้ำวัดเกษ ทิศตะวันตกติดกับโครงการตลาดน้ำเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
สิ่งก่อสร้างของวังช้างอยุธยา แล เพนียด
ลานพักช้างใหญ่
เป็นลานโล่งมีคานเหล็กกั้นสูง 150 เซนติเมตรขนาดเหล็กที่เป็นเสาเหล็กกลม 8 นิ้วมีตะแกรงเหล็ก เพื่อป้องกันช้างนำอาหารฟาดที่ตะแกรงแล้วไม่เสียหาย ที่กั้นช้างด้านหน้ายาว 10 เมตร ป้องกันนักท่องเที่ยวเข้าใกล้ชิดช้างเพื่อให้อาหารช้างในระยะแค่ปลายงวงจะกั้นเฉพาะด้านหน้าที่นักท่องเที่ยวให้อาหารช้างและ บันทึกภาพเท่านั้น คอกกันชั้นในและชั้นนอกห่างกัน 150 เซนติเมตร หลังคากันแสงทำด้วยการขึงแสลนสีดำ ป้องกันแสงแดด ด้านริมถนนเป็นรั้วลวดหนาม ด้านในจะเป็นลานโล่ง ใช้เชือกกั้นมิให้บุคคลภายนอกเข้าไปเป็นบริเวณที่ช้างพักอาศัย เพื่อป้องกันอันตราย ควาญช้างก็จะใช้พื้นที่เป็นสถานที่พักช้าง อาบน้ำให้ช้าง พักผ่อน
ลานพักช้างน้อย
ช้างน้อยจะอยู่ด้านหน้าของช้างใหญ่ จะมีราวเหล็กสำหรับผูกช้าง ด้านริมถนน มีรั้วลวดหนามกันริมถนน ยาวประมาณ 4 เมตร ช้างน้อยไปทำงานวันละ 3-4 เชือก มีหน้าที่คอยต้อนรับนักท่อง เที่ยว เชิญชวนนักท่องเที่ยวบันทึกภาพกับช้างน้อย โดยคิดค่าใช้จ่ายต่อท่าน 40 บาท ควาญช้างน้อยจะมีหน้าที่สลับกันออกมาต้อนรับและพักในบริเวณ ลาน ให้อาหารและทำความสะอาด (เก็บมูลช้างเอง) ถ้าเป็นปัสสาวะ ต้องนำน้ำมาราด กวาดให้แห้ง วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ช้างน้อยจะโชว์ความสามารถ ประกอบเสียงดนตรี มีคนพากษ์ เสริมกิจกรรมลอดท้องช้าง ให้เป็นสิริมงคลสำหรับผู้มาเยือน เป็นภาพที่ประทับใจของนักท่องเที่ยวจริง ๆ
อาคารจำหน่ายตั๋ว สำนักงานของฝ่ายขาย
เป็นอาคารทรงไทย ขนาดกว้าง 2.8 เมตร ยาว 4 เมตร มีผนังติดกระจกติดเครื่องปรับอากาศ เป็นสำนักงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน 4 คน จำหน่ายบัตรนั่งช้าง ติดต่อสอบถาม เก็บเอกสารสำนักงาน โทรศัพท์ เครื่องส่งโทรสาร
อาคารจำหน่ายของที่ระลึก
อาคารทรงไทย ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ติดเครื่องปรับอากาศสำหรับจำหน่ายของที่ระลึก ดังเช่นผลิตภัณฑ์กระดาษมูลช้าง เสื้อยืด ของที่ระลึกจากเซรามิก ผ้าไหม ร่ม ฯลฯ ที่เกี่ยวกับช้าง มีเจ้าหน้าที่คอยบริการ 4 คน
อาคารจำหน่ายอาหารช้าง
อาคารทรงไทย ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร มีบาร์กันสูง 1 เมตร มีเคาร์เตอร์ วางตะกร้า ใส่อาหารช้าง เช่น กล้วย อ้อยสับ อาหารเม็ด จำหน่ายตะกร้า นมสำหรับช้างน้อยทางบริษัทจำหน่ายให้ในราคาทุน ซึ่งเป็นนมสำหรับเด็ก (ของคน) มาผสมน้ำ น้ำตาลและวิตามิน เกลือแร่ให้ช้างกิน สำหรับนักท่องเที่ยวซื้อให้ช้างน้อย
ห้องน้ำ
สำหรับบริการนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่จะอยู่ด้วยกัน เพราะพื้นที่จำกัด ของวังช้างอยุธยา แล เพนียด การสร้างห้องน้ำจะเป็นลักษณะอาคารชั้นเดียวทรงไทยยาว ห้องสุขาหญิง 5 ห้อง ห้องสุขาชาย 2 ห้อง ห้องปัสสาวะชาย จะอยู่ด้านหลังอาคาร
ลานจอดรถ ของนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่
ใช้พื้นที่ด้านหลังวังช้างอยุธยา แล เพนียด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน รถยนต์ส่วนบุคคล ให้ข้ามสะพานไปจอดพื้นที่เป็นเกาะว่าง ส่วนรถบัสขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ให้จอดที่ลานกว้าง ด้านหลังคุ้มขุนแผน มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยการสะดวก รวมถึงที่จอดรถจักรยานนักท่องเที่ยว
ด้านความปลอดภัย
ตำรวจท่องเที่ยว จะมาตรวจเยี่ยมทุกชั่วโมง โดยตู้สีน้ำเงินมีสมุดให้ตรวจเยี่ยม เพื่อให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวปลอดภัย และทุกวันตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยา จะมีมาลงชื่อตรวจเยี่ยมทุกวัน
ด้านการบริการนักท่องเที่ยว วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้จัดเจ้าหน้าที่ควาญช้าง เป็นเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งมี 2 จุดระยะห่างกัน 200 เมตร เฝ้าระวังช้างและคนทั่วไปเข้ามารบกวนช้างบ ระหว่างบริการนักท่องเที่ยว เพื่อช่วยควาญช้างที่อยู่บนคอช้าง เป็นการเพิ่มความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง
การจัดการสิ่งแวดล้อม สิ่งปฏิกูลจากช้าง
1. ช้างเป็นบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริโภคร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวเฉลี่ยแล้ววันละ 200 กิโลกรัมต่อเชือกโดยประมาณ เมื่อกินมากก็ถ่ายมูลมาก วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยเก็บมูลช้างที่ล่วงลงพื้น โดยใช้เวลาการเก็บหลังจากมูลล่วงลงพื้นไม่เกิน 2 นาที นำมูลช้างมารวบรวมไว้ในรถลากบรรทุก ระหว่างเส้นทางเดินของช้างจะมีเจ้าหน้าที่ เป็นระยะคอยเก็บมูลช้างมารวบไว้ ทุก 2 วัน จะนำมูลช้างมาทิ้งไว้ที่ทิ้งมูลช้าง ที่หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง ต.สวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. ปัสสาวะช้าง ปกติช้างจะกินน้ำปริมาณ 10-20 ลิตรต่อครั้ง กินน้ำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน กินน้ำเท่าใด ก็ปัสสาวะเท่านั้น เมื่อช้างมาอยู่รวมกัน ปัสสาวะจะมากและถ้าทิ้งไว้ให้แห้งจะส่งกลิ่น การจัดการต้องใช้น้ำล้างพื้น มีลางระบายน้ำมีบ่อพักน้ำปัสสาวะและน้ำล้างพื้นไปรวมกันโดยนำน้ำชีวภาพ (น้ำอีเอ็ม) มาใส่ในบ่อพักน้ำจะทำให้ย่อยสลาย และระบายไปตามท่อระบายน้ำทิ้งต่อไป
ส่วนลานปูนอีก 1 แห่งคือระยะข้างวงเวียนศาลหลักเมือง จะเป็นจุดถ่ายภาพที่ประทับใจของนักท่องเที่ยว คือริมบึงพระรามและด้านหลังเป็นวัดพระราม จะเป็นจุดที่บันทึกภาพได้สวยงาม ตรงบริเวณนั้น เทคอนกรีตปูพื้นด้วยอิฐโบราณ ทำให้เข้าบรรยากาศโบราณสถานและทำพื้นที่ให้เอียง มีบ่อพักให้น้ำปัสสาวะช้างมารวมกันและมีปั้มน้ำคอยล้างพื้นทุก ๆ 1 ชั่วโมง ช้างเมื่ออยู่รวมกันจะได้กลิ่นปัสสาวะเพื่อนช้างด้วยกัน ก็จะมีปฎิกิริยาต่อการปัสสาวะ อีก 1 จุดบริเวณด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง ตรงนั้นเรียกกันว่าจุด 20 นาที ช้างจะหยุดถ่ายภาพ เมื่อหยุดช้างได้กลิ่นปัสสาวะเพื่อนช้างก็จะปัสสาวะเช่นกันอีก การจัดการนำผงดินซีโอไลด์ ซึ่งมีคุณสมบัติกำจัดกลิ่น ทำให้กลิ่นของปัสสาวะช้างจะลดลง และราดพื้นด้วยน้ำชีวภาพ
ขยะมูลฝอย
ที่เกิดจากช้างคือเศษอาหารช้าง คือใบสับปะรด เศษหญ้า เศษอาหารช้าง เช่นเปลือกผลไม้ ฯลฯ จะนำมาเก็บรวมไว้ในรถกระแทะเศษอาหาร มูลช้างแยกใส่อีก 1 กระแทะ เพื่อนำมาทำปุ๋ยชีวภาพอีกครั้ง ส่วนขยะอื่น ๆ จะมีเจ้าหน้าที่รถเก็บขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา มาดำเนินการจัดเก็บต่อไป
ร้านอาหาร
เป็นร้านจำหน่ายอาหาร พื้นที่ขนาด กว้าง 3.5 เมตร ยาวประมาณ 5 เมตร อยู่ด้านลานจอดรถ ควาญช้างเรียกว่าร้านน้าปลื้ม เป็นที่จำหน่ายอาหารตามสั่ง และข้าวแกง โดยให้น้าปลื้มมาจำหน่ายอาหารให้ควาญช้างในราคาประหยัด เปรียบเหมือนสวัสดิการควาญช้างและพนักงาน ไม่ต้องเดินทางไปไกล จะเป็นที่รับประทานอาหารของควาญช้าง เจ้าหน้าที่ และบางครั้งนักท่องเที่ยวไทย คนขับรถ และไกด์ ก็มารับประทานเช่นกัน
กิจกรรมของวังช้างอยุธยา แล เพนียด ช้างใหญ่ บริการนักท่องเที่ยวนั่งช้างชมโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เส้นทางการเดินของช้างนำนักท่องเที่ยวชมโบราณสถานดังรายการ ระยะเวลา 10 นาที ได้ชมโบราณสถานดังนี้ ศาลหลักเมือง วัดเกษ คุ้มขุนแผน วัดพระราม
เส้นทางการเดินของช้างนำนักท่องเที่ยวชมโบราณสถาน ระยะเวลา 20 นาที ได้ชมโบราณสถานดังนี้ ศาลหลักเมือง วัดเกษ คุ้มขุนแผน วัดพระราม วิหารพระมงคลบพิตร อนุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง บึงพระราม ด้านอยุธยามหาปราสาท
กิจกรรมช้างเล็ก
ช้างเล็กคือช้าง ตั้งแต่ 3 - 10 ขวบ จะได้รับการฝึกให้ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วย การแสดงความสามารถ ดังเช่น สวัสดี ออกเสียง การนั่งกับพื้น ยืนสองขา เดินสองขา สามขา เป่าเมาร์ออแกน ใส่หมวกให้นักท่องเที่ยว นั่งบนเก้าอี้ เล่นฮูลาฮูก เป็นการแสดงให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเป็นรอบ วันละ ประมาณ 3 รอบการแสดง ก่อนและหลังการแสดง จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาขอถ่ายภาพ ซึ่งจะคิดค่าบริการท่านละ 20 บาท เพื่อเป็นรายได้ให้กับช้างและควาญ
กิจกรรมที่ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมคือการได้ซื้ออาหารให้ช้าง ให้นมช้างให้ขนมปัง
กิจกรรมบันทึกภาพด้วยระบบดิจิตอล พร้อมอัดภาพให้พร้อม
นักท่องเที่ยวเมื่อใช้บริการนั่งช้าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการจะบันทึกภาพท่านไว้ แล้วเข้าระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อท่านกลับมาจากนั่งช้าง ท่านก็จะได้ชมภาพของท่านบนจอภาพ เมื่อท่านประสงค์จะอัดภาพ เป็นที่ระลึก ท่านก็เพียงสั่งภาพ ภายใน 30 วินาที ท่านจะได้ภาพที่ประทับใจ
กิจกรรมเสริม
การบริการถ่ายภาพด้วยระบบดิจิตอล 3 ขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก สำหรับนักท่องเที่ยว ที่มาเยือน ด้วยระบบที่รวดเร็วทันสมัย ถ่ายและขยาย ได้เลย ภายในเวลา 45 วินาที เป็นการบันทึกภาพเมื่อนั่งช้าง ออกจากเกย เจ้าหน้าที่จะบันทึกภาพของนักท่องเที่ยวทุกคน เมื่อนักท่องเที่ยวกลับมา ก็จะให้ชมที่จอโทรทัศน์ เมื่อตัดสินใจเลือกภาพแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะสั่งล้างภาพให้ โดยระหว่างที่นักท่องเที่ยวรอ ก็จะเข้าไปชมสินค้าของที่ระลึก
นิทรรศการกิจกรรมผลงานช้างที่วังช้างอยุธยา แล เพนียด
กิจกรรมช้างช่วยเก็บศพ เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้ ทีมงานช้างไปช่วงเก็บศพที่จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ชาวญี่ปุ่นทุกคนรู้จักเหตุการณ์นี้เป็นอย่างดี แต่ที่ประทับใจคือช้างได้มีส่วนร่วมในครั้งนี้ กิจกรรมช้างแสดงความสามารถในการแสดงภาพยนตร์ ละคร ต้อนรับอาคันตุกะ ศิลปินดารา ภาพยนตร์ ละคร ฯลฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เห็นความสามารถของช้าง
หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง
ที่ตั้ง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางการเดินทางจากตัวเมือง ข้ามคลองเมือง(แม่น้ำลพบุรีเดิม) ตามเส้นทางผ่านวัดวงษ์ฆ้อง วัดอินทาราม วัดแม่นางปลื้ม วัดสามวิหาร วัดเจดีย์แดง เพนียดคล้องช้าง หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง จะตรงกันข้ามกับ สำนักงานทางหลวงชนบท และบ่อบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ก่อนถึงวัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร เป็นสถานที่อยู่อาศัย ที่พักให้กับควาญช้าง ทุกคน แบ่งออกเป็นห้องแถว เป็นอาคารชั้นเดียว แบ่งออกเป็นห้องพักกว้าง 3.6 เมตร ยาว 4.8 เมตร มีจำนวน 12 ห้อง มีแถวเดียว และบ้านหลังเดียว ขนาดเดียวกับห้องพัก จำนวน 24 ห้อง แต่ปลูกเป็นหลัง มีพื้นที่ต่อเติมให้สำหรับที่ครอบครัวมีลูก และชายคาด้านหน้า อาคารต่อกันมุงจาก มีไฟฟ้าและน้ำสำหรับควาญช้างฟรี ห้องน้ำจะเป็นห้องน้ำรวม ชีวิตกับที่พักของควาญช้างส่วนใหญ่จะอยู่นอกบ้าน พื้นที่ของหมู่บ้านช้างเพนียดหลวงอยู่ติดกับแม่น้ำลพบุรี ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางด้วยเรือสามารถมาเยือนได้อีกทางหนึ่ง ปัจจุบัน จะมีนักท่องเที่ยวชาวไทย และต่างประเทศ เข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรมและการดูแลช้างจำนวนมาก นักเรียน นักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ การเลี้ยงช้างและกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้านช้าง ซึ่งมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และกิจกรรมดังต่อไปนี้
คชอภิบาลสถาน ศาลปะกำ
สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน เชือกปะกำ เชือกบาศ ที่สำหรับคล้องช้าง ที่ได้รับมอบจากหมอเฒ่า หมอช้างจากจังหวัดสุรินทร์และชัยภูมิ ซึ่งเป็นเชือกของบรรพบุรุษของควาญช้างที่ ใช้คล้องช้าง(จับช้างป่า) มาฝึกหัดเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ สตรีห้ามจับและบุคคลใดจะขึ้นไปบนศาลมิได้นอกจากเจ้าของศาล หรือได้รับอนุญาต เฉพาะผู้ที่เจ้าของอนุญาตเท่านั้น บนศาลปะกำนั้นก็จะเป็นที่รวบรวมอุปกรณ์ในการคล้องช้าง เช่น แผ่นหลังรองหลังช้าง ทวย กาหลั่น ซองในอุปกรณ์ต่าง ไม้งก ไม้คันจาม และงาช้างที่เสียชีวิตไป ได้ถอดงาเก็บไว้ พร้อมกับอวัยวะช้าง เช่น ปลายงวงนำมาทำให้แห้ง หางช้างที่เสียชีวิตไปแล้วเก็บไว้บูชา
ควาญช้าง เจ้าหน้าที่และผู้ที่เดินทางมาหมู่บ้านช้างที่ศรัทธาในปะกำจะกราบไหว้ขอพร จะเกิดโชคลาภ ตามประสงค์สิ่งที่นำมากราบไหว้ ดังเช่น หัวหมู ไก่ต้ม ผลไม้ สุรา หมากพลู บุหรี่ ดอกไม้ ธูปเทียน พวงมาลัย ฯลฯ ยกเว้นเป็ด การเซ่นไหว้ดังเช่นเมื่อเกิดบุตรใหม่ แต่งงานใหม่ เดินทางไปบ้าน กลับบ้านต่างจังหวัด นำช้างไปแสดงในสถานที่ต่างจังหวัด ต้องบูชา บวงสรวง หรือการไปทำงานทุกวันจะประสบโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น ถ้ามิได้บอกกล่าวจะประสบปัญหาต่าง ๆ และก็มีผู้ที่มากราบไหว้ตลอดทุกวัน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีผู้คนเข้ามากราบไหว้ขอพร
โครงการกระดาษมูลช้าง
เป็นการนำ มูลช้าง มาทำกระดาษ เป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน มาปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนการผลิต ให้เหมาะสมกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และพัฒนาขั้นตอนการผลิต ให้เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต และกระบวนการให้ง่ายขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่และแม่บ้านควาญช้างได้ ใช้เวลาว่างมาทำมูลช้างให้เป็นกระดาษ
ช้างกินใบสับปะรด ที่ซื้อมาจากไร่สับปะรด จังหวัดระยอง ที่หักหัวสับปะรดแล้ว เกษตรกรจะไถทิ้ง ผู้รับเหมาจัดหาต้นสับปะรดจะไปเหมาสวนไว้ แล้วตัดต้น ขนส่งมาที่หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง เฉลี่ยวันละ 10 ตัน ช้างกินสับปะรดเป็นอาหารหลัก คุณสมบัติของสับปะรด มีเส้นใยสูง เมื่อกินใบสับปะรด เข้าไปในท้องช้าง ก็เหมือนกับเครื่องต้มใบสับปะรด เมื่อถ่ายออกมาก็จะเหลือเส้นใย กับสิ่งปฎิกูลที่ร่างกายช้างไม่ได้ใช้ เจ้าหน้าที่ควาญช้างจะเก็บมูลช้าง ไปหมักกับเชื้อจุรินทรีย์
(อีเอ็ม) ไว้สัก 3 วัน เพื่อให้กลิ่นมูลช้างนั้นน้อยลง และเปลี่ยนกลิ่น เป็นกลิ่นเปรี้ยว ๆ
ขั้นตอนการผลิต นำเส้นใยมาล้าง น้ำให้เหลือแต่เส้นใย นำไปต้มด้วยความร้อน ผสมโซดาไฟ อัตราใยมูลช้าง 15 กิโลกรัมต่อ โซดาไฟ 1 กิโลกรัม ต้มนาน 1 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาล้างน้ำ ประมาณ 3 ครั้งน้ำเส้นใย เข้าเครื่องปั่นครั้งละ 30 กิโลกรัม ปั่น 30 นาที ก็จะได้เส้นใย สำหรับทำกระดาษมูลช้าง กระบวนการต่อไป ต้องการให้สีออกขาว ก็จะฟอกด้วยคลอรีน แล้วล้างคลอรีนออก ถ้าจะให้มีสีก็ย้อมสีย้อมผ้า เมื่อได้เส้นใยที่ต้องการ ก็นำมาสู่การ ทำกระดาษ ด้วนนำเส้นใยลงในอ่างน้ำ มีเฟรม ขนาดเท่าหนังสือพิมพ์ ตักเส้นใยตามปริมาณ ต้องการความหนา เมื่อลงเฟรมแล้ว เกลี่ยให้เส้นใยกระจายให้ทั่ว ยกให้สะเด็ดน้ำ นำไปตากแดด แห้งสนิทนำมาลอกออกจากเฟรม เก็บในที่แห้งไว้
เมื่อได้กระดาษแล้ว ก็นำกระดาษมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึก เป็นสมุดบันทึก ที่คั่นหนังสือ สมุดสะสมภาพ และนำกระดาษมูลช้างนำมาให้ช้างวาดรูปจำหน่าย ฯล ฯ สถานที่จำหน่ายที่วังช้างอยุธยา แล เพนียด ต่อไป
โครงการปุ๋ยชีวภาพ
มูลช้างจากวังช้างอยุธยา แล เพนียด จะเก็บมารวมไว้ในกระแทะเพื่อนำมาทิ้งที่ลานหมักปุ๋ย ที่หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง ส่วนเศษอาหารช้าง และมูลช้างที่หลักช้าง(ที่นอนช้างในเวลากลางคืน) ในแต่ละวันที่เก็บไว้และจะนำมารวมกัน ที่ลานหมักปุ๋ยเช่นกัน มูลช้างและเศษอาหารจากการกินของช้างจะมาคลุกเคล้ากัน นำน้ำจุรินทรีย์ ชีวภาพไปราด ทิ้งไว้ 1 เดือนไปกลับ 1 ครั้งทิ้งไว้ ก็จะได้ปุ๋ยชีวภาพ นำมา ผึ่งแดดให้แห้ง นำเข้าเครื่องตีปุ๋ยให้ละเอียด แยกเศษไม้ เศษหินออก บรรจุถุงจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว
โครงการสืบสานสายพันธุ์ช้างไทย
ด้วยสถิติของกรมปศุสัตว์ ซึ่งรวบรวมทำประวัติช้างบ้านด้วยการฝังไมโครชิฟที่คอช้างทำทะเบียนประวัติไว้ ซึ่งเริ่มต้นในปี 2540 นี้เอง ส่วนช้างบ้านเมื่ออายุ 8 ปีให้ไปจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง ที่ที่ว่าการอำเภอ คือจดทะเบียนตั๋วรูปพรรณช้าง สถิติทั่วไปประเทศมีช้างบ้านไม่เกิน 2,600 ตัว วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้ตะหนักถึงการเพาะพันธุ์ช้างเพื่อเพิ่มประชากรช้าง การอัตราการเกิดไม่สัมพันธ์กับการตายของช้าง จึงเริ่มส่งเสริมและลงมือเปิดตัวโครงการเพาะพันธ์ช้าง ด้วยการจัดพิธีวิวาห์ช้างขึ้นในปี 2542 เป็นข่าวที่โด่งดังไปทั่วโลก สำนักข่าวได้เผยแพร่ภาพไปทั่วโลก มีการคัดเลือกช้างเพศผู้ เพศเมีย จัดให้มีการวิวาห์ฝ่ายเพศผู้เพศเมีย การจัดครั้งนั้นยิ่งใหญ่ มีประชาชนมาเป็นสักขีพยานจำนวนมาก การผสมพันธ์ช้างระหว่างเพศผู้ และเพศเมีย นั้นต้องมีความสัมพันธ์คือตัวเมียที่เป็นสัดจะต้องได้รับการผสมพันธ์ ในช่วง 3 วัน จะส่งผลให้การผสมพันธ์นั้นประสบความสำเร็จ จากปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาถึงปี พ.ศ. 2550 วังช้างอยุธยา ฯ ได้กำเนิดลูกช้าง 30 เชือก ทำให้นักอนุรักษ์ช้างทั่วโลกได้ให้ความสนใจเข้ามาศึกษาจากเราเป็นจำนวนมาก
โครงการอนุบาลช้างน้อย
จากโครงการสืบสานสายพันธ์ช้าง จะตั้งท้อง 18-22 เดือน เมื่อแม่ช้างตกลูก (ให้กำเนิด) แล้ว ช้างจะได้รับการดูแลอนุบาล คือการเลี้ยงดู โดยแม่ช้างไม่ต้องไปทำงาน อยู่ในคอกที่มีหลังคา เจ้าหน้าที่ควาญช้างคอยดูแล สุขภาพ อาหารช้าง น้ำ เก็บมูล ทำความสะอาด ตลอดระยะเวลา 3 ปีเต็ม ลูกช้างก็จะได้รับความปลอดภัย สุขภาพแข็งแรง แม่ช้างจะได้ปริมาณอาหารที่มากพอที่จะผลิตนมให้ลูกช้างอย่างมีคุณค่า และลูกช้างก็มีพัฒนาการที่ดี จากการกินนมอย่างเดียวก็เริ่มปรับตัวกินอาหารช้างบ้างจนกระทั่ง 3 ปีผ่านไป ลูกช้างจะถูกแยกจากแม่ลูก แม่ก็จะนำมาฝึกใหม่ เพื่อให้ทำงานปกติ ลูกช้างก็จะนำเข้าโรงเรียนฝึกลูกช้างต่อไป
โครงการช้างชรา
ช้างที่ทำงาน ในวังช้างอยุธยา แล เพนียด อายุมากก็จะให้หยุดทำงาน มีจำนวน 4 เชือก ได้แก่ พังดอกหมาก อายุประมาณ 80 ปี พังรุ่งเรื่องอายุ 75 ปีมีปัญหาเรื่องฟันหลุดและกร่อนการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด พังรุ่งทรัพย์อายุ 85 ปี ร่างกายเคลื่อนไหวช้ากินน้อย พังพลับพลึงร่างกายอ่อนแออายุ 65 ปี ช้างเมื่อแก่แล้วจะมีอาการดังกล่าว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่ดูแลสุขภาพอาหารที่เหมาะสมและนำมาออกกำลังกายก็จะส่งผลให้อายุสั้น ทางวังช้างอยุธยา แล เพนียด ก็จัดกิจกรรมดูแลช้างชรา ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้เข้ามาดูแล ทั้งที่ไม่ได้เป็นควาญช้าง บุคคลทั่วไปเข้ามาดูแลให้อาหารพาไปกินหญ้า อาบน้ำ ก็เป็นการต่ออายุช้างให้อยู่กับวังช้างอยุธยา แล เพนียด ให้ได้นานขึ้นไปอีก
บ้านพักรับรอง
บ้านพักรับรองสร้างไว้เป็นห้องพักยกพื้น 1 หลัง แบ่งออกเป็น 2 ห้องนอน กว้าง 3.6 เมตร ยาว 7.2 เมตร มีจำนวน 4 หลัง สำหรับรับรองแขกผู้มาเยือน ประสงค์จะพักที่หมู่บ้านช้าง และสำหรับชาวต่างประเทศ ที่มีความประสงค์จะพักและชมวิถีชีวิตการเลี้ยงช้างของหมู่บ้านช้างเพนียดหลวง โดยมีเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร ชาวออสเตรเลีย 2 คน เข้ามาช่วยดูแล ประสานงานภายใต้โครงการ ประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่มาเลี้ยงช้างที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา