สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหาร Delivery
mk-gold-บุฟเฟ่ต์ mk gold บุฟเฟ่ต์
สุกกี้เอ็มเค + ติ๋มซำ บุฟเฟ่ต์ มีกว่า 90 รายการอาหาร ภายใน 1...
pizza-company pizza company
สั่งซื้อ Pizza Company ทางอินเตอร์เน๊ต ง่ายมากเพียงแค่คลิ๊กท...
โออิชิ-เดลิเวอรี่ โออิชิ เดลิเวอรี่
โออิชิ เดลิเวอรี่...
ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง
ฮั่วเซ่งฮง ภัตตาคารจีน เปิดบริการมายาวนานกว่า 35 ปี...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   ศิลปะและวัฒนธรรม    >   เวียงกุมกาม   >    เชียงใหม่
เจ้าของบทความ heartkub    Share
เวียงกุมกาม    ขื่อ : เวียงกุมกาม

   

   ที่ตั้ง : เชียงใหม่

   URL : http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/Chiangmai/data/pic_vieng-kumkam.htm

   ประเภท : วัด

  จุดเด่น :

เรื่องราวของผู้คนและบ้านเมืองในภาคเหนือตอนบนนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏอยู่ในหนังสือพงศาวดารหรือตำนานทางพุทธศาสนา หรือไม่ก็เป็นนิทานพื้นบ้านปรัมปรา แฝงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ความศักดิ์สิทธิ์ของผู้มีบุญมาเกิด เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ทวยราษฎร์ให้เล่าขานสืบต่อกันมา เรื่องราวที่จะกล่าวต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของ พญามังราย  ซึ่งมีมูลเหตุที่น่าเชื่อคือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ณ์ในยุคสร้างบ้านแปงเมืองในดินแดนแถบนี้


  รายละเอียด :

เชื่อกันว่า พญามังราย บรรพกษัตริย์ผู้ครอบครอง และสืบทอดราชวงศ์ลวจังกราช เหนือราชบัลลังก์เมืองหิรัญนครเงินยาง แห่งแค้วนโยนโบราณอันกว้างใหญ่ แถบลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำสาย และแม่น้ำกก ได้เสด็จพร้อมด้วยไพร่พลมาที่ดอยจอมทอง ซึ่งตั้งอยู่ตรงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ริมแม่น้ำกกที่ไหลมาแต่เทือกเขาสูงทางทิศเหนือ ณ ดอยแห่งนี้ พระองค์โปรดให้ สร้างเวียง* แห่งใหม่ขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๖ มีนามว่า เชียงราย หรือ เวียงแห่งพญามังราย

 
เพื่อเป็นการแสดงแสนยานุภาพและขยายอาณาเขตพระองค์จึงเสด็จขึ้นไปทางเหนือไปรวบรวมรี้พล และสร้างเวียงฝางไว้เป็นเมืองหน้าด่าน  อีกทั้งยังได้สำรวจเส้นทางในลุ่มน้ำแม่ระมิงค์หรือสายน้ำแห่งชาวรามัญเพื่อขยายดินแดนลงมาทางใต้เพราะทรงทราบถึงเกียรติศัพท์อันร่ำลือว่า หริภุญไชยเป็นแค้วนใหญ่ร่มเย็นด้วยพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบสุขมั่งคั่ง มีศิลปะวิทยาการเจริญรุ่งเรืองแต่อดีตกาลครั้งพระนางจามเทวี จึงทรงปรารถนาที่จะรวมแค้วนหริภุญไชยให้อยู่ในเขตขัณฑสีมาแห่งพระองค์ ในที่สุด พระองค์ก็ยกกำลังพละข้ายึดครองหริภุญไชยได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๔
 
อีก ๒ ปีต่อมา ทรงดำริว่า หริภุญไชยเป็นเวียงศูนย์กลางทางพุทธศาสนา มีความคับแคบเกินไป การจะขยายเวียงเพื่อรองรับชุมชนจำนวนมากทำได้ยาก จึงทรงมอบเวียงหริภุญไชยให้อ้ายฟ้าดูแล แล้วนำกำลังรี้พลพร้อมด้วยราษฎรไปตั้งมั่นอยู่ที่ บ้านแซว หรือ ชแว เพื่อพิจรณาทำเลที่เหมาะสมสำหรับสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางการปกครองและการค้าขาย ตลอดจนมีพื้นที่เหมาะสมกับการเกษตรกรรม ทางเลือกพี้นที่บ้านกลาง บ้านลุ่ม และบ้านแห้ม โปรดให้สร้างเวียงใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๒๙ ณ บริเวณที่แม่น้ำปิงหรือน้ำแม่ระมิงค์ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก ด้วยพิเคราะห์ว่าแม่น้ำปิงสายนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างดินแดนทางทิศเหนือและทิศใต้ ทรงให้ขุดคูเวียง ๓ ด้าน ใช้น้ำแม่ระมิงค์เป็นคูเวียงธรรมชาติด้านทิศเหนือ ก่อกำแพง ๔ ด้าน  มีสัณฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมสร้างที่ประทับเรือนหลวงภายในเวียงด้วยฐานะที่เป็นเมืองหลวงควบคุมดูแลการเมืองการปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เวียงนี้จึงได้ชื่อเรียกขานกันทั่วไปว่า  “เวียงกุ๋มก๋วม” หรือ “เวียงกุมกาม”  ในเวลาต่อมา
 
อาจด้วยเพราะเวียงกุมกามตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มบริเวณคุ้งน้ำเมื่อย่างเข้าหน้าฝน พื้นที่โดยรอบก็จะชุ่มแฉะ คราวใดที่แม่น้ำปิงมีปริมาณน้ำสูงมาก ก็จะถาโถมเข้าท่วมเวียงได้ง่าย หลักฐานจากชั้นดินในการขุดค้นทางโปราณคดีและการขุดแต่งโบราณสถานในเวียงกุมกาม ยืนยันความจริงว่าเวียงกุมกามประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม  ทั้งนี้เห็นได้จาก  โบราณสถานวัดร้างหลายแห่งพบอยู่ทั้งในเวียงและนอกเวียงนั้น ถูกดินเหนียวร่วนปนกรวดทราย  ซึ่งเป็นตะกอนน้ำพัดพา  กลบฝังอยู่ลึกประมาณ ๑.๕๐ – ๒.๐๐ เมตร  ส่งผลเสียหายแก่บ้านเมืองอยู่เป็นประจำ  เป็นเหตุให้พญามังรายทรงย้ายมาสร้างเวียงใหม่
 
ณ บริเวณที่พระองค์พร้อมด้วยพระสหาย  คือ  พ่อขุนรามคำแหง  แห่งเมืองสุโขทัย  และพญางำเมือง  แห่งเมืองพะเยา พิจารณาร่วมกันว่าบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกอยู่ระหว่างอุสุจบรรพตหรือดอยสุเทพทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  กับแม่น้ำปิงซึ่งไหลผ่านมาทางด้านทิศตะวันออกนั้น เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม  จึงโปรดให้สร้างเวียงแห่งใหม่  มีขื่อว่า “นพบุรีศรีนครงพิงค์เชียงใหม่” ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาแทนเวียงกุมกาม เมืองปี พ.ศ. ๑๘๓๙
 
 
แม้ศูนย์กลางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การปกครอง เศรษฐกิจ ศิลปะ และวิทยาการต่าง ๆ จะย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่แล้วในช่วงเวลานั้น เวียงกุมกามก็ยังคงความสำคัญโดยเฉพาะกับราชวงศ์มังราย มีผู้คนอยู่อาศัยสืบต่อกันมา เห็นได้จากเมื่อครั้งที่ มีงานอภิเษกแต่งตังพระนางปายโคขึ้นเป็นราชเทวี และงานฉลองยศอุปราชเจ้าพญาไชยสงครามราชโอรสพญามังรายโปรดให้มีการเฉลิมฉลองทั้งเวียงเชียงใหม่และเวียงกุมกามถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน  เมื่อครั้งประชวรก็โปรดที่จะเสด็จมาประทับพักผ่อนที่เวียงกุมกาม  เมื่อครั้นสิ้นสมัยของพญามังรายแล้ว  มีเรื่องเล่ากันว่า นางจีมคำ  พระราชเทวีของพญาแสนภู ได้เสด็จเยี่ยมเวียงกุมกามโดยข้ามน้ำแม่โทอยู่บ่อยครั้ง จนได้เรียกบริเวณนี้ว่า  ขัวจีมคำ  หรือสะพานจีมคำ  ล่วงมาถึงสมัยพญากือนาซึ่งมีความกล่าวไว้ในศิลาจารึกพบที่วัดพระยืนว่า  มีผู้คนจำนวนมากจากหริภุญไชยเชียงใหม่  และเวียงกุมกาม  ร่วมกันเป็นศรัทธาทำบุญถวายทาน  แด่พระสุมนเถระที่พญากือนาอาราธนามาแต่เมืองสุโขทัย  เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา  จนถือได้ว่าเป็นการเริ่มยุคทองของพุทธศาสนาในอาณาจัตรล้านนา  ต่อมาในสมัยพญาแสนเมืองมา  พระองค์เสด็จมาเวียงกุมกามเพื่อหล่อพระพุทธรูปเจ้าสิกขี ๑ พระองค์ แล้วให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดการโถมช้างค้ำกลางเวียง
 
 
 
 
 
เวียงกุมกาม  เริ่มประสบปัญหาความยุ่งยาก  เมื่อท้าวมหาพรมเจ้าเมืองเชียงราย  ได้นำกำลังพลจำนวนหนึ่งเข้ามากวาดต้อนผู้คนที่เวียงกุมกาม  เพื่อเข้าตีเวียงเชียงใหม่  แต่ไม่สามารถต้านทานกำลังรบของพญาแสนเมืองมาได้  จึงยกทัพกลับไป  เวียงกุมกาม  ใช่จะมีความสำคัญเพราะเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของเวียงเชียงใหม่เท่านั้น แต่ชื่อ กุมกามดูเหมือนจะเป็นชื่อที่คุ้นเคย  ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อราชบุตรของพญาแสนเมืองมา คือ ท้ายยี่กุมกามด้วย  อย่างไรก็ตามในสมัยพญาติโลกราช เวียงกุมกาม มีฐานะเป็นเพียงพันสาหนึ่งของเวียงเชียงใหม่  โดยมี  หมื่นกุมกาม  เป็นผู้ปกครองดูแลต่อมา ในสมัยพระเมืองแก้ว  พระองค์เสด็จมาบำเพ็ญกุศลสร้างวิหาร  และอัญเชิญพระประติมาทองสำริด มาประดิษฐานบนแท่นชุกชีที่วัดกุมกามที่ปาราม  หรือ  วัดเกาะกุมกามด้วย
 
                ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑  เชียงใหม่เสียแก่พม่า ผลของสงครามและฐานะของความไร้อิสรภาพ  ประกอบกับอุทกภัยทางธรรมชาติหลายครั้งหลายหน  อาจมีส่วนทำให้บทบาทของเวียงกุมกามหมดความสำคัญสูญหายใปจากหน้าประวัติศาสตร์ตลอดสมัยการปกครองของพม่าที่ยึดครองล้านนาอยู่ ๒๑๖ ปี แม้ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เวียงกุมกามคงเป็นแค่ตำนานของผู้คนในเวียงเชียงใหม่ ครั้งเมื่อ พระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมด้วยพระยาจ่าบ้าน  ได้ยกทัพมาต่อสู้กับพม่าที่
 
ท่าวังตาล ยังไม่ปรากฏว่ามีการกล่าวถึงชื่อ  กุมกาม  ตราบจนตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองเวียงเชียงใหม่พระองค์แรก ได้ฟื้นฟูบ้านเมืองโดยใช้นโยบาย  “เก็บผักใส่ซ้า  เก็บข้าใส่เมือง” ทำให้ผู้คนมาตั้งถิ่นฐานในเวียงเชียงใหม่มากขึ้น  ซึ่งอาจรวมถึงบริเวณเวียงกุมกามด้วย  ในสมัยรัชการที่ ๕ มีบันทึกชึดเจนว่า  ผู้คนเข้าไปอยู่อาศัยเป็นชุมชนขนาดเล็กที่ “บ้านช้างค้ำท่าวังตาล” กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา กรมศิลปากร สำรวจและขุดค้น  พบโบราณสถาน วัดร้างหลายแห่ง มิติของเมืองในตำนานเริ่มฉายภาพเด่นชัดขึ้น  จนกระทั่งเป็นข้อยุติว่า  ท่าวังตาล  คือ ที่ตั้งแห่ง “เวียงกุมกาม รุ่งอรุณแห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”
 
 
เวียงที่สูญหายและหวนคืน
 
เวียงกุมกามปัจจุบัน  อยู่ในเขตการปกครองท้องถิ่งขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังตาล องค์การบริหารส่วนตำบลหนองผึ้ง  อำเภอสารภี  และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหอย  อำเภอเมือง  ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๕ กิโลเมตร
 
                จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศ  และการสำรวจทางโบราณคดี  มีร่องรอยแนวกำแพงเวียงทางทิศใต้คูเวียงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก  สันนิษฐานตามสภาพว่า เวียงมีลักษณะสี่เหลี่ยมผีนผ้า  ขนาดกว้าง ๖๐๐ เมตร ยาว ๘๕๐ เมตร โดยประมาณ สำนักงานศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ กรมศิลปากร ดำเนินการขุดค้นขุดแต่ง และอนุรักษ์โบราณสถาน ที่อยู่ทั้งภายใน และภายนอกเวียงเล้ว จำนวน ๔๒ แห่ง ยืนยันว่า ฐานโบราณสถานทุกแห่งถูกทับถมด้วยตะกอนน้ำท่วม ในระดับ  ๑ – ๒ เมตร  เวียงกุมกามในปัจจุบัน จึงมีสภาพดังเช่น “นครโบราณใต้พิภพ” ที่ถูกเปิดเผยออกมาให้สาธารณชนได้รับรู้

  เงื่อนไข :

ศิลปกรรมในเวียงกุมกาม

 
                โบราณสถานที่โดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรม ล้วนเป็นศาสนาสถานเนื่องในพุทธศาสนา ได้แก่ เจดีย์เหลี่ยม ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขี้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยถ่ายแบบสถาปัตยกรรมมาจาก เจดีย์กู่กุดวัดจามเทวี จังหวัดลำพูน องค์เจดีย์มีฐานสี่เหลี่ยม ประดับซุ้มพระโดยรอบ ซ้อนชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ มีการบูรณะซ่อมแซมใหญ่  โดยช่างชาวพม่า ทำให้ลวดลายปูนปั้น และประติมากรรมพระพุทธรูปในซุ้มเป็นศิลปะแบบพม่า
 
                เจดีย์ที่วัดหัวหนอง มีช้างหมอบคู้ขาหน้าล้อมรอบฐานเจดีย์ลักษณะเดียวกันกับช้างล้อมที่เจดีย์รุวันเวลิ ในประเทศศรีลังกา เป็นอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐
 
                ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมในเวียงกุมกาม ได้พัฒนาเป็นศิลปะล้านนาอย่างแท้จริง  โดยสร้างเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีเรือนธาตุสูง ประดับลูกแก้วอกไก่และชุดมาลัยเถามียอดเป็นองค์ระฆังขนาดเล็ก เช่น เจดีย์ที่วัดกู่ไก่ไม้ซ้ง วัดธาตุขาว วัดอีก้าง วัดกู่ขาว เป็นต้น เจดีย์บางองค์มีเรืองธาตุสูง และประดับซุ้มพระ ๔ ด้าน โดยมีชุดมาลัยเถารองรับองค์ระฆังขนาดเล็ก เช่น เจดีย์ที่วัดปู่เบี้ย
 
                วัดวาอารามบางแห่งที่เพิ่งถูกค้นพบในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นมา ไม่ปรากฏยอดเจดีย์ แต่มีฐานเจดีย์ วิหาร กำแพงแก้ว ฝังจมอยู่ใต้พื้นดิน ๑ – ๒ เมตร ยังคงรักษางานลวดลายปูนปั้นที่วิจิตร งดงามไว้เป็นอย่างดี เช่น
 
หัวบันไดมกรคายนาค ลายประดับสิงห์ เหมราช กิเลน ที่วัดหนานช้าง หงส์ ที่วัดหัวหนอง เทวดาปูนปั้นแบบนูนสูงและลวดลายปูนปั้นมกรคายมังกร  ที่วัดกู่ป้าด้อม เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญไชย  เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ หมิง – ชิง และชิ้นส่วนพระพุทธรูป ซึ่งข้อมูลโดยละเอียด รับทราบได้จาก “ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม”
 
            วิถีชีวิตของผู้คนในเวียงกุมกาม ย่อมหนีไม่พ้นกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่ด้วยจารีตประเพณี อันสืบเนื่องมาจากข้อกฎหมายโบราณที่เรียกว่า “มังรายศาสตร์” ซึ่งเป็นหลักยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนมาแต่โบราณกาล ทำให้กลิ่นอายของล้านนายังคงอบอวลอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้คนที่เรียกตนเองว่า “คนเมือง”
 
                ประจักษ์พยานเห็นได้จาก งานรื่นเริง และงานบุญในเทศกาล สำคัญทางพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วยพิธีกรรม การแต่งกาย ศิลปะการแสดง และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
 
                กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยความร่วมมือของฝ่ายการเมือง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น กำลังดำเนินการฟื้นฟู และอนุรักษ์เวียงกุมกาม ให้คืนสู่บรรยากาศในอดีตที่รุ่งเรืองของ รุ่งอรุณแห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เป็น “เมืองประวัติศาสตร์” ที่มีวิถีชีวิตของผู้คนอยู่ร่วมกันกับโบราณสถานอย่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 8239 โหวต : 594
Google Map



ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว เชียงใหม่ *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   วัดพระธาตุดอยน้อย  (7699)
   พิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยม  (2371)
   เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี  (9516)
   โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์  (10717)
   สถูปพระนเรศวรมหาราช  (3339)
   แม่สาเฮ้าส์ไปรเวทคอลเล็คชั่น  (5862)
   วัดศรีสุพรรณ  (3079)
   วัดยางหลวง  (2680)
   ถ้ำเมืองออน  (9433)
   จุดชมวิวขอบด้ง  (2951)
   ดอยปุย  (4484)
   เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล  (2900)
   ไร่สตรอเบอรี่แม่ริม  (2893)
   สวนกล้วยไม้แม่แรม  (8351)
   บ้านแม่กลางหลวง  (2881)
   หนองบัวพระเจ้าหลวง  (9219)
   พิพิธภัณฑ์บ้านคำอูน  (7110)
   เมากาแฟ  (3206)
   เสาอินทขิล  (6128)
   วัดถ้ำตับเต่า  (8495)
ร้านอาหาร
   ร้านอาหารสวัสดิการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์  (4462)
   ร้านอาหาร-คุ้มแก้วพาเลซ  (4391)
   ลุงโดมโภชนา  (3908)
   ธาราบาร์  (4133)
   ร้านแอมแชร์  (3528)
   เจ๊ดา  (6650)
   ร้านอาหาร-รสมือแม่-เชียงใหม่  (4461)
   ข้าวซอยเสมอใจ  (5643)
   ร้านบ้านไร่สเต็กเฮ้าส์  (3221)
   love-at-first-bite  (5032)
   คำดารา  (5484)
   AlpinaFineFoods  (2359)
   บ้านร่มไม้บาหลี  (4292)
   อ่างขางถิงถิงโภชนา  (3417)
   สวนอาหารบ้านสวนชมจันทร์  (7304)
   ยามาโต้-เชียงใหม่  (6279)
   ร้านอาหาร-แกงร้อนบ้านสวน  (5270)
   สามเสนวิลล่าเชียงใหม่  (3909)
   ร้านไวน์บาร์  (3739)
   ตลาดบ้านฮ่อ  (3680)
ที่พัก
   อะเวย์-สวนสวรรค์-เชียงใหม่  (7464)
   โรงแรมเดอะพาร์ค  (6108)
   ม่อนภูไพร-รีสอร์ท  (6456)
   10ที่พักเชียงใหม่ใกล้แหล่งชอปปิ้ง  (2803)
   ภูอิงฟ้า-รีสอร์ท  (6716)
   ระรินจินดา-เวลเนส-สปา-รีสอร์ท  (6088)
   เดอ-นากา-เชียงใหม่  (5932)
   โรงแรม-โพธิ-ซีรีน  (5913)
   บ้านสวนชายดอย  (7590)
   เรนฟอเรสท์-บูติค-แอนด์-พรพิรุณ-เวียงพิงค์  (8033)
   บ้านผาหมอนดอยอินทนนท์  (2521)
   บ้านสายหมอก  (3397)
   ธาราบุรี-รีสอร์ท  (6405)
   เบล-วิลล่า-เชียงใหม่  (6402)
   ยางคำ-วิลเลจ-เชียงใหม่  (6179)
   มาริษา-วิลล่า  (6679)
   บ้านท่าศาลา  (6687)
   แอท-โฮม-เชียงใหม่  (6610)
   โรงแรม-ฮอลิเดย์-อิน-เชียงใหม่  (11125)
   วีดารา-รีสอร์ท-แอนด์-สปา  (7085)
ของฝาก
   บ้านถวาย  (16177)
   ร่มบ่อสร้าง  (13628)
   หวานละมุนเชียงใหม่  (6397)
   โรงงานไทยศิลาดล  (12000)
   ผักปลอดสารพิษ  (15534)
   ตลาดวโรรส  (4572)
เทศกาล
   งานสืบฮีตสานฮอย-ของดีบ่เก่า  (5758)
   ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพในวันวิสาขบูชา  (4735)
   เชียงใหม่เคาท์ดาวน์-2010  (6509)
   งานปี๋ใหม่เมือง-ดอกเอื้องงาม  (5063)
   งานไม้ดอกไม้ประดับเชียงใหม่-ประจำปี2556  (4504)
   มหาศุกร์สนุกสาดม่วนกันหน้ากาด  (4878)
   งานพืชสวนโลก-2553-2554  (64989)
   ไชน่าทาวน์เมืองเชียงใหม่  (5609)
   งานประเพณียี่เป็ง-จังหวัดเชียงใหม่  (5384)
   ราชพฤกษ์-2554  (5)
   งานกุหลาบเหมันต์เชียงใหม่-ปี-2553  (905)
   งานทอเส้นฝ้ายสานเส้นใยใส่สีธรรมชาติครั้งที่14  (5056)
   การบูชาเสาอินทขิล  (4752)
   งานเทศกาลบอลลูนนานาชาติเชียงใหม่ครั้งที่6  (4565)
   ประเพณีบูชาเสาอินทขิล  (5769)
   เทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง  (7509)
   การแสดงและประกวดพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ  (4570)
   งาน-ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่2556-จ-เชียงใหม่  (4893)
   ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ  (392)
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)