1.สะพานไม้มอญ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
สะพานมอญ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานอุตตมานุสรณ์ ถือเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 850 เมตร และเป็นอันดับสองของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในพม่า และเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอสังขละบุรี ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวมาสัมผัสธรรมชาติ พร้อมๆ กับการได้เห็นวิถีชีวิตชุมชนชาวมอญในแถบนี้ สิ่งที่ห้ามพลาดอีกอย่างหนึ่งก็คือการได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก กับสะพานที่เสมือนเป็นสายใยวัฒนธรรมของชาวมอญและไทยในดินแดนสุดขอบประเทศแห่งนี้ บริเวณสะพานเป็นจุดชมวิวทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณที่สวยงาม สามารถมองเห็นลำน้ำสามสาย คือ ซองกาเลีย บีคลี่ และรันตี ที่ไหลมาบรรจบกันเป็นสามประสบ (จุดกำเนิดแม่น้ำแควน้อย)
2.สะพานไม้ ซูตองเป้ จ.แม่ฮ่องสอน
สะพานไม้ไผ่สาน ที่เกิดจากแรงศรัทธาของชาวบ้านความยาวกว่า 500 เมตร ความกว้างของสะพาน 2 เมตรที่ร่วมแรงรวมใจกันสร้างสะพานไม้เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นเส้นทางสัญจรลงมาบิณฑบาตรในหมู่บ้าน วัสดุที่ใช้ในการสร้างสะพานนี้ ได้จากการบริจาคเสาบ้านเก่าของคนในหมู่บ้าน แล้วนำมาตอกลงเป็นเสาสะพานทีละต้นๆ จนได้สะพานไม้ที่เปี่ยมไปด้วยพลังศรัทธาแห่งนี้ อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองสามหมอก นับได้ว่าเป็นที่เที่ยวแห่งใหม่ของเมืองแม่ฮ่องสอนเลยก็ว่าได้ โดยสถานที่ที่จะแนะนำต่อไปนี้ มีชื่อว่า “สะพานซูตองเป้” เป็นสะพานไม้ไผ่ ตั้งอยู่ที่บ้านกุงไม้สัก อำเภอเมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
3.สะพานอัษฎางค์ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
สะพานอัษฎางค์ เป็นท่าขื้นเทียบเรือหลังจากที่เสด็จประพาสฝรั่งเศส ที่เห็นนี่คือบูรณะใหม่ทั้งหมดแล้ว แต่ว่ายังคงรูปแบบสภาพเดิมทั้งหมด สะพานอัษฎางค์ .. สร้างขึ้นจากเงินพระราชทานจากพระคลังข้างที่ (ทรัพย์สินส่วนพระองค์) จากล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5 และพระราชทานนามว่า “สะพานอัษฎางค์” เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่พระราชโอรส คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุฒิ ทรงหายจากอาการประชวร ณ เกาะแห่งนี้ และล้นเกล้าฯทรงทำพิธีเปิดเมื่อ 23 สิงหาคม 2434
4.สะพานภูมิพล (สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม) กรุงเทพมหานครฯ
สะพานภูมิพล เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย และถนนกาญจนาภิเษก ลักษณะเป็นสะพานขึงขนาด 7 ช่องการจราจร ทางด้านเหนือหรือ "สะพานภูมิพล 1" เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทางด้านใต้หรือ "สะพานภูมิพล 2" เชื่อมระหว่างตำบลทรงคนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 แต่ก่อนหน้านั้นได้เปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
5.สะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานครฯ
สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ ๑๓ มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร
6.สะพานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี อ.เมือง จ.ตาก
สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี หรือที่เรียกว่า "สะพานแขวน" สร้างเมื่อ พุทธศักราช 2525 โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก เพื่อสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ปีเป็นสะพานแขวนที่สวยงาม เหมาะสำหรับชมความงามของลำน้ำปิงบริเวณ โดยรอบมีสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่สวยงาม มีสวนสุขภาพ และสนามกีฬาหลายประเภท ยาวตามลำน้ำปิง มีอาคารกิตติคุณสำหรับใช้จัดกิจกรรมงานต่าง ๆ
7.สะพานทางรถไฟข้ามแม่น้ำแคว จ.กาญจนบุรี
สะพานทางรถไฟข้ามแม่น้ำแคว ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขามอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะสร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นไฮไลท์ และถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาญจนบุรี แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มาเที่ยวชมมากที่สุด ใครมาเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ยังไม่เคยได้ไปเดินบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว หรือยังไม่ได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับสะพานข้ามแม่น้ำแคว เรียกได้ว่ายังมาไม่ถึงเมืองกาญจน์
8.สะพานสารสิน จ.ภูเก็ต
สะพานสารสินเป็นสะพานที่สร้างข้ามช่องปากพระเพื่อเชื่อมระหว่างเกาะภูเก็ตตรงบริเวณท่าฉัตรไชยกับท่านุ่น สะพานสารสินมาเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ เมื่อเกิดโศกนาฏกรรมของหนุ่มสาว 2 คน ที่ตัดสินปัญหาด้วยการใช้ผ้าขาวม้าผูกต่อกันมัดตัวเองกระโดดจากกลางสะพานลง สู่พื้นน้ำ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2516 และได้มีการนำเรื่องราวของคนทั้งสองไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ "สะพานรักสารสิน"
9.สะพานไม้ วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
วัดท่าขนุน หรือที่ชาวทองผาภูมิ รู้จักกันในนามชื่อ วัดหลวงปู่สาย ศาสนสถานแห่งนี้มีความสำคัญ ต่อพระพุทธศาสนา รวมถึงประชาชนชาวไทยเชื้อสายมอญ พม่า และกะเหรียง ที่เลื่อมใส ศรัทธาตลออดมา
10.สะพานติณสูลานนท์ จ.สงขลา
สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร ชาวสงขลานิยมเรียกว่า สะพานติณ สะพานเปรม หรือสะพานป๋าเปรม สะพานข้ามทะเลสาบที่ยาวที่สุด นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของ จ.สงขลา สร้างขึ้นในสมัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อ อำนวยความสะดวกในการคมนาคมให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องรอข้ามแพขนานยนต์ซึ่งมีไม่เพียงพอกับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น