1. การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ และ แหล่งวัฒนธรรม เพื่อการพักผ่อน และการเรียนรู้ วิชาการรักษาสุขภาพกายใจได้รับความเพลิด
เพลินและสุนทรียภาพมีความรู้ต่อการรักษาคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดี มีสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒน ธรรมท้องถิ่น
2. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หมายถึงการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับระบบนิเวศโดยมีกระบวน
การเรียนรู้ร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัด การสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการ
รักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
3.การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรมสวนเกษตรวนเกษตรฟาร์มปศุสัตว์ เพื่อชื่นชมความสวยงามความสำเร็จ และเพลิดเพลินในแหล่ง
เ กษตรกรรมนั้นบนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น
4. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อชมงานประเพณีต่างๆ ในรอบปีที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆจัดขึ้นได้รับความเพลิดเพลินตื่นตาตื่นใจในสุนทรีย์ ศิลป์มีความรู้ ความเข้าใจต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นบนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษา
มรดก ทางวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมโดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมการจัดการการท่องเที่ยว
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง ::
เป็นอ่างเก็บน้ำ ตั้งอยู่ที่หมู่ 10 และ หมู่ 12 ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในความดูแลของกรมชล ประทาน และอยู่
ระหว่างการประสานงานเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญต่อไปประชาชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคและการพักผ่อนหย่อนใจ
เป็นอ่างเก็บน้ำที่อยู่ท่ามกลางหุบเขาจะเห็นวิวทิวทัศน์ของแนวสันเขายาวอย่างสวยงาม
เขาแผงม้า ::
เขาแผงม้าในอดีต เคยเป็นป่าผืนเดียวกับเขาใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่อย่างชุกชุมเป็นต้นน้ำของลำห้วย
หลายสายไหลรวมกันเป็นลำพระเพลิง ต่อมาชาวบ้านจากที่ต่าง ๆ อพยพเข้ามาบุกเบิก หักร้างถางพง ล่าสัตว์ ตัดต้นไม้ ถือครองที่ดินในบริเวณ
เขาแผงม้ามากขึ้น และมีการใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมากในการทำเกษตร ผืนป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ จึงกลายสภาพเป็นภูเขาหัวโล้น
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ::
เป็นศูนย์วิจัยพันธุ์ไม้ในเขตป่าภาคอีสานและเปิดให้หมู่คณะที่สนใจมาจัดกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงนิเวศอยู่ริม เส้น ทาง หลวง หมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) ระยะทาง 57 กิโลเมตรจากตัวเมืองมีพื้นที่ประมาณ 78 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง พบ
สัตว์ป่าหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมูป่าไก่ป่า ไก่ฟ้าพระยาลอและนกต่าง ๆ หากได้มีโอกาสปีนขึ้นไปบนยอดหอคอยสูง เหนือระดับยอด ไม้ที่ทาง
สถานีสร้างขึ้น จะมองเห็นผืนป่าเขียวขจีอันกว้างใหญ่รายล้อมอยู่รอบตัวตลอดจนเห็นเขาแผงม้าที่อยู่ไกลออกไปอากาศที่นี่เย็นสบายตลอดทั้ง
ปี มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทางซึ่งใช้เวลาตั้งแต่ 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 3 ชั่วโมง มีบ้านพักไว้บริการ จำนวน 3 หลัง พักได้หลังละ 20
คน
สอบถามรายละเอียดโทร.0 4425 8642 หรือ ติดต่อที่ฝ่ายจัดการสถานีวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
กรุงเทพฯโทร 02-579 1121–30, 02- 579 0160 ต่อ 4401 โทรสาร 02-561 4771