จุดเด่น : |
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ มีจำหน่าย พืชผลเกษตรที่สูงของโครงการหลวง สวนไม้ดอก แปลงผักเมืองหนาว เส้นทางเดินป่า จุดดูนก
|
รายละเอียด : |
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ เป็นสถานีวิจัยพืชเมืองหนาวอีกแห่งหนึ่งของโครงการหลวง ตั้งอยู่ในบริเวณดอยอินทนนท์ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย เป็นแหล่งวิจัย รวบรวมพันธุ์พืชและผลิตไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวนานาชนิด อีกทั้งยังมีพืชผักสมุนไพร และไม้ผลขนาดเล็ก ซึ่งจัดจำหน่ายภายใต้ตร ดอยคำ รวมทั้งเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาเทร้าต์สายรุ้ง นอกจากนี้ยังมีประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ ได้แก่ การทำนาข้าวขั้นบันไดของเผ่ากะเหรี่ยง ประเพณีกินวอของชาวเผ่าม้งบ้านขุนกลาง และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อชมความงามธรรมชาติรอบๆพื้นที่ รวมทั้งกิจกรรมดูนกและชมดาว โครงการหลวงฯ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านขุนกลาง ตำบลห้วยหลวง โครงการหลวงฯนี้ รับผิดชอบส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้แก่กะเหรี่ยงและม้งในพื้นที่
เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์เพื่อช่วยเหลือชาวเขาให้มีพื้นที่ ทำกินเป็นหลักแหล่ง ส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนฝิ่น ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่ ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ให้สูงขึ้น ในขณะเดียวกันรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากภาคการเกษตรยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาให้ดีขึ้น ตลอดจนป้องกันการบุกรุกป่าไม้ ต้นน้ำ ลำธาร โดยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการทำไร่เลื่อนลอย มาทำการเกษตรในพื้นที่ถาวร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2527 ได้จัดตั้งหน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง ซึ่งห่างจากจุดที่ตั้งของสถานีหลักประมาณ 3 กิโลเมตร เพื่อดำเนินงาน ด้านการวิจัยและการผลิตไม้ผลเมืองหนาว ไม้ผลกึ่งเขตร้อน และพืชไร่ต่างๆ
ภายในสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ที่น่าสนใจดังนี้ 1. การท่องเที่ยวเกษตรเชิงนิเวศภายในสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ 2. เส้นทางเดินเท้า น้ำตกสิริภูมิ 3. การดูนก 4. ชมแปลงพืชผักเมืองหนาว ไม้ดอก ผักไฮโดรโพนิกส์ และงานวิจัยพืชเมืองหนาว 5. สวนกุหลาบพันธุ์ปี รวบรวมพืชสกุล Rhododendron เช่น อาซาเลีย (Azalia) และกุหลาบพันปีชนิดต่างๆ หลายชนิด เป็นพืชการค้าในต่างประเทศและหลายชนิดได้ขยายพันธุ์มาจากต้นที่ขึ้นตามธรรมชาติ เช่น คำแดง หรือคำดอย (Rhododendron arboreum) ที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ตามพื้นที่สูงของประเทศไทย เช่น ดอนอินทนนท์ ดอยอ่างขาง
|
เงื่อนไข : |
สอบถามรายละเอียด อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ โทร. 053-355728,053-3311608 ค่าธรรมเนียมการเข้าชม คนละ 20 บาท
การเดินทาง เดินทางตามเส้นทางสู่ดอยอินทนนท์ ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังเข้าสู่โครงการฯ อีกประมาณ 1 กิโลเมตร
|
|
แสดงความเป็นเจ้าของบทความ
คนเข้าดู : 817
โหวต : 594
|
|
Google Map
|