สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปงานเทศกาล

แสดงบทความทั้งหมด
เทศกาลประจำปี
ข่าวประชาสัมพันธ์
5 ร้านอาหารยอดนิยม
ร้านปะการัง-บางแสน ร้านปะการัง บางแสน
ริมทะเล บรรยากาศดียามเย็น อาหารอร่อยและสด มีที่จอดรถ...
ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู
ไส้กรอกอีสาน ไส้หมูบดผสมวุ้นเส้น ใช้เครื่องอย่างดี...
พรชัยขนมปัง พรชัยขนมปัง
ร้านขนมปัง ที่มีเมนูหลากหลาย ตั้งอยู่ที่ตลาดยอด พระนคร เมนูเ...
โกทิ-หัวหิน โกทิ หัวหิน
ร้านเก่าแก่คู่ อ.หัวหิน มากว่า 50 ปี ตรงข้ามตลาดโต้รุ่งหัวหิ...
อาม้า-เบเกอรี่ อาม้า เบเกอรี่
จำหน่ายขนมปังไส้ทุกชนิด เค้ก และคุกกี้ต่างๆ รับสั่งทำเค้ก อา...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   เทศกาลประจำปี    >   งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2553   >    สมุทรปราการ
เจ้าของบทความ nongview    Share
งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2553    ขื่อ : งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2553

   

   ที่ตั้ง : วัดบางพลีใหญ่ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

   URL : http://www.thai-tour.com/attraction/บางพลี/

   ประเภท : เทศกาลประจำปี

   ราคา : ฟรี

   เบอร์โทร :

  จุดเด่น :

ตักบาตรพระทางน้ำ แห่องค์หลวงพ่อโต การประดับตกแต่งขบวนเรือ แข่งเรือ ประกวดร้องเพลง มวยทะเล จำหน่ายอาหาร และสินค้าต่างๆ

19 ต.ค. 2553 - 22 ต.ค. 2553 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
 


  รายละเอียด :

ชาวจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับชุมชนบางพลีจัดงานประเพณีรับบัวประจำปี 2553 เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและกิจกรรมด้านพุทธศาสนาช่วง วันออกพรรษา ในระหว่างวันที่ 19 ต.ค. 2553 - 22 ต.ค. 2553 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ประวัติงานประเพณีรับบัว

ประเพณีรับบัวนี้ เป็นประเพณีที่เก่าแก่กันมาแต่โบราณ
ของชาวบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
 
ความเป็นมาของประเพณีดังกล่าวนี้
ประเพณีรับบัว เปรียบเสมือนสายใยแห่งความกลมเกลียว อันเป็นหนึ่งใจเดียวกันเสมอเพื่อนญาติ ระหว่างชาวไทย ชาวลาว ชาวรามัญ ที่พำนักอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มบารมีศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต ณ อำเภอบางพลี สมุทรปราการ หล่อหลวมจิตวิญญาณ ของมิตรไมตรีเข้าไว้ด้วยกัน อย่างแน่นแฟ้น เพื่อกลายเป็นมิ่งมงคลแห่งชีวิตสืบต่อมาช้านาน
ก่อกำเนิดสายน้ำสายแห่งชีวีสู่ประเพณีรับบัว ในครั้งอดีต ณ อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ มีชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ตั้งถิ่นฐานพำนักอยู่โดยแบ่งเป็น ชาวไทย ชาวลาว ชาวรามัญ ซึ่งประกอบสัมมาอาชีพแตกต่างกันออกไป ครึ่งหนึ่งได้ร่วมปรึกษาหารือ และมีความเห็นพ้องต้องกันว่าจะร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาพื้นที่รกร้าง เต็มไปด้วยป่ารกนี้ เพื่อใช้ประโยชน์ทำการเกษตร กล่าวคือในขณะนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลำคลอง ล้วนรายรอบไปด้วย พงล้อ กอแขม และวัชพืชนานาพันธ์ อีดทั้งยังมีบรรดาสัตว์ อันตราย ในละแวกใกล้เคียงอีกด้วย ส่วนทางทิศใต้นั้นมีปาแสมล้อมรอบน้ำมีสภาพเป็นน้ำเค็มและส่วนทางทิศเหนือประกอบด้วยบึงใหญ่ที่มีบัวหลวงงอกงาม หนาแน่น อยู่ทั่วบริเวณ
 
ชาวไทย ชาวลาว และชาวรามัญ จึงลงแรงร่วมใจ พัฒนาผืนดินบริเวณนั้นอย่างแข็งแรงเรื่อยมาจนกระทั่ง มาบรรจบ ทางสามแยก คือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ประกอบด้วยปากน้ำลำคลอง 3 สาย คือ คลองสลุด คลองชวดลาดข้าว และคลองลาดกระบัง ทั้ง 3 ฝ่าย จึงกระทำการตกลง และมีความเห็นว่า จะแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพ ตามลำคลองทั้ง 3 สายนี้ ด้วยประสงค์จะทดลองเพื่อไม่รู้ถึงภูมิประเทศทั้งหมดว่า ที่ใด ทิศทางใด จะเหมาะสมสำหรับประกอบอาชีพ ทั้งด้านการขาย และเกษตรกรรมมากกว่ากัน จึงแยกย้ายกันไปดังนี้
ชาวไทยไปตามคลองชวดลาดข้าว ชาวลาวไปตามคลองสลุด และสุดท้ายชาวรามัญตามคลองลาดกระบัง
 
จนกระทั่งระยะเวลา 2 - 3 ปี ถัดมา ชาวรามัญที่แยกไปประกอบอาชีพ ณ คลองลาดกระบัง เริ่มมีรายได้และผลผลิตที่ตกต่ำ เนื่องจากประสบปัญหาศัตรูพืช จำพวกนก และหนูชุมชน เข้ามาทำลายพืช สวนไร่ นา บังเกิด ความเสียหาย เป็นอันมาก จึงตัดสินใจที่จะอพยพโยกย้ายกลับถิ่นฐานเดิม คือฝั่งบ้านปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีกำหนดการเดินทางในช่วง ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ พร้อมกันได้ชักชวนกันเก็บดอกบัวหลวงในบึงบริเวณใกล้เคียงเป็นจำนวนมากมาย เพื่อนเตรียมนำไปบูชาพระคาถาพัน ณ จุดหมายปลายทาง พร้อมกับได้บอกความปรารถนาต่อชาวไทยที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นอย่างดีว่า เมื่อถึง ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ในปีต่อ ไปนั้น ขอให้ชาวไทยทั้งหลายช่วยกัน รวบรวมเก็บเอาดอกบัวหลวงไปไว้ ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) พร้อมมอบให้กับพวกตน (ชาวรามัญ) เพื่อนำไปเป็นดอกไม้สำหรับเป็นพุทธรูปในวันออกพรรษา ต่อไปด้วยน้ำใจไมตรี ของชาวไทย ที่มีต่อชาวรามัญเสมอมา จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะกระทำตามที่ชาวรามัญได้ร้องขอไว้ หลังจากนั้นชาวรามัญ จึงได้พากันกราบนมัสการหลวงพ่อโต อีกทั้งยังอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ติดตัวด้วยเพื่อ ความเป็นสิริมงคล แล้วจึงได้ลากลับบ้านปากลัดเพื่อนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาต่อไป
 
ในปีต่อมาเมื่อครบกำหนดวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ อีกครั้งชาวไทยจึงได้ช่วยกันเก็บรวบรวมดอกบัวหลวงมาไว้ ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) ตามสัญญาที่ได้ให้ไว้กับชาวรามัญ ซึ่งชาวรามัญได้เดินทางมารับดอกบัวเหล่านั้นในเวลา 3.00 - 4.00 นาฬิกา ทุกครั้ง ด้วยการโดยสารเรือขนาดใหญ่จำนวนหลายสิบลำ ซึ่งแต่ละลำสาสามารถบรรจุคนได้ถึง 50-60 คน และทุกครั้งที่เดินทางมานั้นชาวรามัญพร้อมใจกัน ส่งเสียงร้องรำทำเพลงล่องมาตามลำน้ำ เพื่อความคลื้นเครงสนุกสนานตลอดเส้นทาง แสดงถึงไมตรีจิตและมิตรภาพที่มอบให้กันเสมอมาพร้อมกันนี้ชาวไทยจึงได้จัดเตรียมสำรับคาวหวาน นานา ไว้รับรองอย่างเพียบพร้อม เมื่ออิ่มนำสำราญกันครบถ้วนแล้วชาวรามัญจึงนำดอกบัวหลวงไปบูชาหลวงพ่อโต ในวิหารของวัด และอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์กลับไปยังบ้านเรือของตนเพื่อความเป็นสิริมงคล และนำดอกบัวอีกส่วนหนึ่งกลับไปบูชาพระคาถาพัน ณวัดของพวกตนเองต่อไป และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นประวัติความเป็นมาของประเพณีรับบัว ประเพณีอันดีงามที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างช้านาน
 
พิธีแห่หลวงพ่อโต เสริมมงคลให้ชีวิต พิธีการแห่ หลวงพ่อโต เมื่อครั้งอดีตในราวปี พศ. ๒๔๖๗ นางจันกับญาติธรรมบางส่วน ด้วยกุศลจิตอันดีงามได่ร่วมใจ กันสร้างพระปฐมเจดีย์ ขึ้น ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงจัดให้มีการฉลององค์พระปฐมเจดีย์ขึ้น ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงจัดให้มีการฉลององค์พระปฐมเจดีย์โดยผ้าครององค์พระปฐมเจดีย์นี้ไปตามลำน้ำ พร้อมีมหรสพสมโภช ในยามค่ำคืน อย่างครื้นเครง พิธีนี้กระทำสืบเนื้องได้สัก 2- 3 ปี จึงได้หยุดไปด้วย เหตุใดไม่ปรากฎแน่บัดตั้งแต่ในกาล ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นการแห่รูปภาพจำลอง หลวงพ่อโต ขึ้นแทนโดยความอนุโมทนาธรรมของท่านสมภาพกุ่ย และนายฉาย งามขำ เป็นประธาน ฝ่ายชาวบ้านทั้งหลายในท้องถิ่นนั้นพิธีดังกล่าวจัดมาจนกระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ จึงได้จัดทำรูปหล่อองค์หลวงพ่อโต ซึ่งสร้างด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาทาบด้วยสีทอง แล้วนำมาแห่แทนแบบเดิม พร้อมจัดมหรสพเฉลิมฉลอง กันอย่างสนุกสนาน ต่อมาในปี ๒๔๘๗ สมัยพระครูพิศาล สมณวัตตต์ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) พร้อมด้วย พระครูวุฒิธรรมสุนทร ตำแหน่งรองเจ้าอาวาส ได้จัดให้ทำการหล่อรูปจำลอง หลวงพ่อโตขึ้นประเพณีรับบัว จะสืบเนื่องความสนุกสนานครึกครื้นเรื่อยมา โดยมีการละเล่นต่าง ๆ เพิ่มมาขึ้น เป็นการแข่งเรือพาย ชิงด้วยรางวัล การประกวดเรือประเภทสวยงาม ประเภทความคิดสร้างสรรค์และประเภทคลก ขบขัน การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านต่าง ๆ พร้อมมหรสพสมโภช อันน่าตื่นตาใจมากมาย และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ล่วงไปถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ นับเป็นเวลา 4 วัน
 
ทั้งนี้ ประเพณีรับบัว ที่มีช้านานนั้น อันเป็นเนื่องมาจาก ความร่วมมือร่วมใจ อย่างเต็มที่ของชาวบ้านในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
รวมทั้งจากการกุศลจิตอันแรงกล้า ทั่วทุกสารทิศที่พร้อมจะช่วยกันดำรงอยู่ไว้ด้วยเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตอันดีงามนี้สืบไป

  เงื่อนไข :

สอบถามเพิ่มเติม โทร 1672

พิธีรับบัวเริ่ม เวลา 7.00 น.


แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 15634 โหวต : 594



ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว สมุทรปราการ *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์-สมุทรปราการ  (5339)
   วัดทรงธรรมวรวิหาร  (6120)
   พระสมุทรเจดีย์  (7296)
   พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ  (5215)
   ป้อมพระจุล-สมุทรปราการ  (6396)
   วัดกลาง-สมุทรปราการ  (6374)
   วัดอโศการาม  (5096)
   ตลาดน้ำโบราณบางพลี  (9484)
   เมกะบางนา  (9258)
   วัดบางพลีใหญ่ใน  (5546)
   สุวรรณภูมิ  (6731)
   สวนศรีนครเขื่อนขันธ์  (3825)
   พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ-สมุทรปราการ  (5770)
   ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง  (6631)
   บางปู  (12089)
   ห้องน้ำไฮเทค-วัดบางพลีใหญ่ใน  (10177)
   วัดโปรดเกศเชษฐาราม  (5875)
   เมืองโบราณ  (11620)
   วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร  (5941)
   ป้อมแผลงไฟฟ้า  (4961)
ร้านอาหาร
   ร้านอาหารชายคา-สุวรรณภูมิ  (7648)
   สวนอาหารสมพงษ์  (5882)
   TheBibimbab  (2644)
   ร้านระเบียงทะเลบางปู  (2632)
   ร้านWineGardenBistroBar  (6)
   สายลมบางปู  (5262)
   bacco-italian-bar-and-pizza  (4140)
   ครัวปูหลน  (3347)
   ร้านกาแฟบ้านสวน29  (2100)
   ห้องอาหารสถานตากอากาศบางปู  (2976)
   อิ่มจัง  (2312)
   ร้านอาหารก้ามปู  (5394)
ที่พัก
   โนโวเทล-สุวรรณภูมิ-แอร์พอร์ต-โฮเตล  (5977)
   DuangpornInOn  (2572)
ของฝาก
   ขนมจาก  (20549)
เทศกาล
   เมษาฮาเฮ-มนต์เสน่ห์เมืองใต้  (3821)
   งานประเพณีรับบัวประจำปี2559  (2501)
   สงกรานต์พระประแดง  (3518)
   งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง  (4095)
   งานจองเปรียงเพ็ญ-๑๒-ลอยกระทงตามประทีป-ย้อนอดีตตลาดโบราณ  (4763)
   งานตรุษจีนณพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ  (3484)
   งานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้านครั้งที่33  (2754)
   งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2554  (4813)
   งานตรุษจีน-ณ-พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ  (3956)
   งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2553  (15634)
   เทศกาลปีใหม่จังหวัดสมุทรปราการ  (4681)
   พิพิธภัณฑ์ทันสมัย-และแสงไฟ-สยามราตรีปีที่-3  (4185)
   ตลาดโบราณบางพลี  (4793)
   งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง2556  (4845)
   ตักบาตรสมุทรปราการ-โครงการตักบาตรพระ-1-ล้านรูป-77-จังหวัด-ทุกวัดทั่วไทย  (3160)
   มหาสงกรานต์-4-ภาค-ณ-เมืองโบราณ-และสรงน้ำองค์พระพิฆเนศวร-พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ  (3144)
   แข่งขันเรือยาว-หน้าเมืองพระประแดง-ประจำปี-2554  (3967)
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)