ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล หรือเข้าอินทขิล
ประเพณีและเทศกาลมีความเกี่ยวข้องกันในแง่ที่ว่า เทศกาลคือเวลาที่ปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีที่กำหนดไว้เพื่อทำบุญและเรื่อนเริง ซึ่งนอกเหนือจากความหมายในเชิงวัฒนธรรมแล้ว ปัจจุบันยังเพิ่มความหมายในเชิงธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสร้างชื่อเสียงของท้องถิ่นและของประเทศให้เป็นที่รู้จักออกไปในวงกว้างอีกด้วย
พิธีกรรมและกิจกรรมตลอด 7 วัน
1. วันแรกเรียกว่าวัน “เข้าอินทขิล” จะอัญเชิญพระพุทธรูปคันธารราษฏร์ “ฝนแสนห่า” รอบเมืองเชียงใหม่ แล้วกลับมาที่วัดให้ประชาชนสรงด้วยน้ำส้มป่อยโรยกลีบกุหลาบ
2. พิธีการสักการะพระประทานในวิหาร มีการใส่บาตรดอกไม้ธูปเทียนลงไปในขัน 28 ใบ (พระพุทธเจ้า 28 พระองค์)
3. นิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ มาเจริญพระพระพุทธมนต์ตลอด 7 วัน
4. สักการะเสาอินทขิลด้วยดอกไม้ธูปเทียน สมโภชด้วยการละเล่นต่าง ๆ ตลอด 7 วัน
5. วันสุดท้ายเรียกว่า “วันออกอินทขิล” จะมีการนิมนต์พระสงฆ์ 108 รูป เพื่อเจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตราหารและเครื่องไทยะทานเป็นอันเสร็จพิธี
ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล เป็นการบูชาใหญ่ของวัดเจดีย์หลวงจัดในช่วงเดือน พ.ค. – มิ.ย. เป็นงานที่สวยสดงดงาม เนื่องจากพิธีส่วนใหญ่จะมีการใส่บาตรดอกไม้ เป็นงานพิธีที่มุ่งการสร้างกำลังใจให้ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุขและฝนตกต้องตามฤดูกาล ที่กำลังจะเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก
ข้อมูลและรูปภาพจาก thai.tourismthailand.org