ประเพณี บุญเดือนสิบ เกิดขึ้นจากความเชื่อในขนบธรรมเนียมประเพณีนิยมสืบทอดแนวคิดจากอินเดียที่ ว่า บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วยังต้องใช้เวรกรรมอยู่ในยมโลกและจะกลับมาเยี่ยม ญาติหรือครอบครัวของตนในช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ถึง แรม 15ค่ำ ซึ่งทำให้เกิดมีการทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีบุญเดือนสิบนี้ไม่ได้มีขึ้นเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดในทาง ภาคใต้เท่านั้น แต่ยังมีทำกันในจังหวัดทางภาคเหนือ และภาคอีสานอีกด้วย และจะมีชื่อเรียกต่างกัน ในภาคอีสานจะเรียกว่า "งานบุญข้าวสาก"และ"งานบุญตานก๋วยสลาก"
ใน วันงานจะถือเป็นเสมือนวันรวมญาติที่จะทยอยกันมาร่วมกันทำบุญ "รับตายาย" ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายแล้วที่บรรพบุรุษของครอบครัวตนจะต้องกลับยมโลกจะ ร่วมกันทำบุญครั้งสุดท้ายที่เรียกว่า "ส่งตายาย"ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่สุด
สำหรับ สำรับอาหารที่จัดไปทำบุญมักจะเป็นชุดทองเหลืองหรือถาดโดยจะจัดของที่ใส่ไว้ เป็นชั้นหรือเป็นชุดโดยชั้นล่างสุดจะใส่ข้าวสาร อาหารแห้ง หอม กระเทียม ชั้นถัดไปเป็นผลไม้และของใช้ประจำวันส่วนชั้นบนสุดใส่ขนมที่เป็นเอกลักษณ์ ของงานบุญเดือน 10 ซึ่งขาดไม่ได้มีอยู่ 5 ชนิด คือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมดีซำ และขนมกง ซึ่งขนมทั้ง 5 ชนิดนี้จะมีความหมายแตกต่างกัน คือ
ขนมลา เปรียบเสมือนเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ตายสวมใส่ในนรกภูมิ
ขนมพอง เปรียบเสมือนแพให้ผู้ตายใช้เป็นพาหนะข้ามห้วยแห่งทุกข์และบาปหรือเวรกรรมต่างๆ
ขนมบ้า เปรียบเสมือน การละเล่นที่ให้ผู้ตายเล่น เช่น สะบ้า
ขนมดีซำ เปรียบเสมือนเบี้ยหรือเงินที่ให้ผู้ตายใช้ในระหว่างใช้เวรกรรมในนรกภูมิ
ขนมกง เปรียบเสมือนเครื่องทรงหรือเครื่องประดับเพื่อให้ดูภูมิฐานและสวยงาม
ส่วน อาหารคาวหวานอย่างอื่นที่จะมีเพิ่มเติมลงไปนั้นก็แล้วแต่จะพิจารณาว่าญาติ พี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วของตนจะชอบอาหารหรือขนมใดนอกจากอาหารแล้วยังนิยมใส่ เครื่องใช้ไม้สอย อาทิ ด้าย เข็ม และเงินเหรียญ (ธนบัตร ก็ได้) ลงไปในสำรับด้วยสำรับอาหารที่จัดไว้ส่วนใหญ่จะจัดเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งเตรียมไว้เพื่อบำเพ็ญกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วซึ่งจะนำไป บำเพ็ญที่ศาลาวัดและอีกชุดหนึ่งจะจัดเตรียมไว้สำหรับผู้เสียชีวิตที่ไม่มี ญาติ หรือไม่มีใครทำบุญไปให้โดยจะตั้งก่อนทางเข้า วัดซึ่งจะเรียกว่า "ตั้งเปรต"หลังจากการบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมพิธีก็จะเข้าแย่งอาหารที่เหลือจากการบำเพ็ญกุศลโดยมีความ เชื่อว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้เปรตนี้ เป็นอาหารศักดิ์สิทธิ์ กินแล้วจะได้กุศลแรงและจะเป็นศิริมงคลแก่ตนและครอบครัวพิธีนี้ชาวนครศรี ธรรมราชจะเรียกว่า"ชิงเปรต"หรือการแย่งอาหารจากเปรตนอกจากการทำบุญที่วัด แล้ว ทางราชการยังจัดให้มีการทำพิธี แห่เป็นทางการ รวมทั้งมีการละเล่นต่างๆควบคู่กันไปด้วย เช่น การแสดงมโนราห์ หนังตะลุง และการแสดงพื้นบ้านอื่นๆ
เทศกาลบุญสารทเดือนสิบ และงานกาชาด ประจำปี 2554ได้จัดขึ้นบริเวณลานหน้าวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีการรวบรวมหุ่นจำลอง “เปรต” เดือนสิบ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวนครศรีธรรมราชว่าในช่วงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบ บรรดาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วโดยเฉพาะบุคคลที่ก่อกรรมไม่ดีไว้เมื่อครั้ง ยังมีชีวิตเมื่อตายไปจะลงไปชดใช้กรรมในนรกภูมิกลายเป็น “เปตชน” หรือที่รู้จักในนามของ “เปรต” นั่นเอง
สำหรับ ขบวนแห่เปรตดังกล่าวนั้นเป็นการจำลองรูปแบบของเปรตลักษณะต่างๆตามแต่จะก่อ กรรมมาเมื่อครั้งดำรงชีวิต เมื่อถึงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบยมโลกหรือนรกภูมิจะพักการลงโทษเปรตเหล่านี้ และปลดปล่อยให้ขึ้นมารับส่วนบุญส่วนกุศลที่ลุกหลานได้ร่วมกันทำบุญอุทิศส่วน กุศลให้ในรช่วงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบนครศรีธรรมราช และได้มีการจำลองรูปแบบขอส่วนบุญส่วนกุศลตามเส้นทางถนนราชดำเนินท่ามกลาง ความสนุกสนานของผู้พบเห็นบ้างใช้เป็นโอกาสในการสั่งสอบบุตรหลานถึงการทำกรรม ชั่ว เมื่อตายไปจะตกนรกภูมิกลายเป็นเปรตเช่นนี้ โดยขบวนเปรตดังกล่าวนี้ได้ตั้งต้นแห่จากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารแล้วไปสิ้น สุดที่ลานตะเคียนศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดแสดงในบริเวณดังกล่าว
กิจกรรม
- ขบวนแห่หฺมฺรับจากสนามหน้าเมืองไปยังวัดพระมหาธาตุ
- พิธียกหฺมฺรับเพื่ออุทิศส่วนบุญแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ
- ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
- นิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐ
- การออกร้าน OTOP
- การประกวดร้านค้าย้อนยุค
- การประกวดแข่งขันหัตถกรรมพื้นบ้าน มหรสพทางวิญญาณ
- การแสดงรำวงเวียนครก