ชาวจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับชุมชนบางพลีจัดงานประเพณีรับบัวประจำปี 2553 เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและกิจกรรมด้านพุทธศาสนาช่วง วันออกพรรษา ในระหว่างวันที่ 19 ต.ค. 2553 - 22 ต.ค. 2553 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ประวัติงานประเพณีรับบัว
ประเพณีรับบัวนี้ เป็นประเพณีที่เก่าแก่กันมาแต่โบราณ
ของชาวบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ความเป็นมาของประเพณีดังกล่าวนี้
ประเพณีรับบัว เปรียบเสมือนสายใยแห่งความกลมเกลียว อันเป็นหนึ่งใจเดียวกันเสมอเพื่อนญาติ ระหว่างชาวไทย ชาวลาว ชาวรามัญ ที่พำนักอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มบารมีศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต ณ อำเภอบางพลี สมุทรปราการ หล่อหลวมจิตวิญญาณ ของมิตรไมตรีเข้าไว้ด้วยกัน อย่างแน่นแฟ้น เพื่อกลายเป็นมิ่งมงคลแห่งชีวิตสืบต่อมาช้านาน
ก่อกำเนิดสายน้ำสายแห่งชีวีสู่ประเพณีรับบัว ในครั้งอดีต ณ อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ มีชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ตั้งถิ่นฐานพำนักอยู่โดยแบ่งเป็น ชาวไทย ชาวลาว ชาวรามัญ ซึ่งประกอบสัมมาอาชีพแตกต่างกันออกไป ครึ่งหนึ่งได้ร่วมปรึกษาหารือ และมีความเห็นพ้องต้องกันว่าจะร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาพื้นที่รกร้าง เต็มไปด้วยป่ารกนี้ เพื่อใช้ประโยชน์ทำการเกษตร กล่าวคือในขณะนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลำคลอง ล้วนรายรอบไปด้วย พงล้อ กอแขม และวัชพืชนานาพันธ์ อีดทั้งยังมีบรรดาสัตว์ อันตราย ในละแวกใกล้เคียงอีกด้วย ส่วนทางทิศใต้นั้นมีปาแสมล้อมรอบน้ำมีสภาพเป็นน้ำเค็มและส่วนทางทิศเหนือประกอบด้วยบึงใหญ่ที่มีบัวหลวงงอกงาม หนาแน่น อยู่ทั่วบริเวณ
ชาวไทย ชาวลาว และชาวรามัญ จึงลงแรงร่วมใจ พัฒนาผืนดินบริเวณนั้นอย่างแข็งแรงเรื่อยมาจนกระทั่ง มาบรรจบ ทางสามแยก คือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ประกอบด้วยปากน้ำลำคลอง 3 สาย คือ คลองสลุด คลองชวดลาดข้าว และคลองลาดกระบัง ทั้ง 3 ฝ่าย จึงกระทำการตกลง และมีความเห็นว่า จะแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพ ตามลำคลองทั้ง 3 สายนี้ ด้วยประสงค์จะทดลองเพื่อไม่รู้ถึงภูมิประเทศทั้งหมดว่า ที่ใด ทิศทางใด จะเหมาะสมสำหรับประกอบอาชีพ ทั้งด้านการขาย และเกษตรกรรมมากกว่ากัน จึงแยกย้ายกันไปดังนี้
ชาวไทยไปตามคลองชวดลาดข้าว ชาวลาวไปตามคลองสลุด และสุดท้ายชาวรามัญตามคลองลาดกระบัง
จนกระทั่งระยะเวลา 2 - 3 ปี ถัดมา ชาวรามัญที่แยกไปประกอบอาชีพ ณ คลองลาดกระบัง เริ่มมีรายได้และผลผลิตที่ตกต่ำ เนื่องจากประสบปัญหาศัตรูพืช จำพวกนก และหนูชุมชน เข้ามาทำลายพืช สวนไร่ นา บังเกิด ความเสียหาย เป็นอันมาก จึงตัดสินใจที่จะอพยพโยกย้ายกลับถิ่นฐานเดิม คือฝั่งบ้านปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีกำหนดการเดินทางในช่วง ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ พร้อมกันได้ชักชวนกันเก็บดอกบัวหลวงในบึงบริเวณใกล้เคียงเป็นจำนวนมากมาย เพื่อนเตรียมนำไปบูชาพระคาถาพัน ณ จุดหมายปลายทาง พร้อมกับได้บอกความปรารถนาต่อชาวไทยที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นอย่างดีว่า เมื่อถึง ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ในปีต่อ ไปนั้น ขอให้ชาวไทยทั้งหลายช่วยกัน รวบรวมเก็บเอาดอกบัวหลวงไปไว้ ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) พร้อมมอบให้กับพวกตน (ชาวรามัญ) เพื่อนำไปเป็นดอกไม้สำหรับเป็นพุทธรูปในวันออกพรรษา ต่อไปด้วยน้ำใจไมตรี ของชาวไทย ที่มีต่อชาวรามัญเสมอมา จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะกระทำตามที่ชาวรามัญได้ร้องขอไว้ หลังจากนั้นชาวรามัญ จึงได้พากันกราบนมัสการหลวงพ่อโต อีกทั้งยังอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ติดตัวด้วยเพื่อ ความเป็นสิริมงคล แล้วจึงได้ลากลับบ้านปากลัดเพื่อนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาต่อไป
ในปีต่อมาเมื่อครบกำหนดวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ อีกครั้งชาวไทยจึงได้ช่วยกันเก็บรวบรวมดอกบัวหลวงมาไว้ ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) ตามสัญญาที่ได้ให้ไว้กับชาวรามัญ ซึ่งชาวรามัญได้เดินทางมารับดอกบัวเหล่านั้นในเวลา 3.00 - 4.00 นาฬิกา ทุกครั้ง ด้วยการโดยสารเรือขนาดใหญ่จำนวนหลายสิบลำ ซึ่งแต่ละลำสาสามารถบรรจุคนได้ถึง 50-60 คน และทุกครั้งที่เดินทางมานั้นชาวรามัญพร้อมใจกัน ส่งเสียงร้องรำทำเพลงล่องมาตามลำน้ำ เพื่อความคลื้นเครงสนุกสนานตลอดเส้นทาง แสดงถึงไมตรีจิตและมิตรภาพที่มอบให้กันเสมอมาพร้อมกันนี้ชาวไทยจึงได้จัดเตรียมสำรับคาวหวาน นานา ไว้รับรองอย่างเพียบพร้อม เมื่ออิ่มนำสำราญกันครบถ้วนแล้วชาวรามัญจึงนำดอกบัวหลวงไปบูชาหลวงพ่อโต ในวิหารของวัด และอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์กลับไปยังบ้านเรือของตนเพื่อความเป็นสิริมงคล และนำดอกบัวอีกส่วนหนึ่งกลับไปบูชาพระคาถาพัน ณวัดของพวกตนเองต่อไป และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นประวัติความเป็นมาของประเพณีรับบัว ประเพณีอันดีงามที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างช้านาน
พิธีแห่หลวงพ่อโต เสริมมงคลให้ชีวิต พิธีการแห่ หลวงพ่อโต เมื่อครั้งอดีตในราวปี พศ. ๒๔๖๗ นางจันกับญาติธรรมบางส่วน ด้วยกุศลจิตอันดีงามได่ร่วมใจ กันสร้างพระปฐมเจดีย์ ขึ้น ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงจัดให้มีการฉลององค์พระปฐมเจดีย์ขึ้น ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงจัดให้มีการฉลององค์พระปฐมเจดีย์โดยผ้าครององค์พระปฐมเจดีย์นี้ไปตามลำน้ำ พร้อมีมหรสพสมโภช ในยามค่ำคืน อย่างครื้นเครง พิธีนี้กระทำสืบเนื้องได้สัก 2- 3 ปี จึงได้หยุดไปด้วย เหตุใดไม่ปรากฎแน่บัดตั้งแต่ในกาล ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นการแห่รูปภาพจำลอง หลวงพ่อโต ขึ้นแทนโดยความอนุโมทนาธรรมของท่านสมภาพกุ่ย และนายฉาย งามขำ เป็นประธาน ฝ่ายชาวบ้านทั้งหลายในท้องถิ่นนั้นพิธีดังกล่าวจัดมาจนกระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ จึงได้จัดทำรูปหล่อองค์หลวงพ่อโต ซึ่งสร้างด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาทาบด้วยสีทอง แล้วนำมาแห่แทนแบบเดิม พร้อมจัดมหรสพเฉลิมฉลอง กันอย่างสนุกสนาน ต่อมาในปี ๒๔๘๗ สมัยพระครูพิศาล สมณวัตตต์ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) พร้อมด้วย พระครูวุฒิธรรมสุนทร ตำแหน่งรองเจ้าอาวาส ได้จัดให้ทำการหล่อรูปจำลอง หลวงพ่อโตขึ้นประเพณีรับบัว จะสืบเนื่องความสนุกสนานครึกครื้นเรื่อยมา โดยมีการละเล่นต่าง ๆ เพิ่มมาขึ้น เป็นการแข่งเรือพาย ชิงด้วยรางวัล การประกวดเรือประเภทสวยงาม ประเภทความคิดสร้างสรรค์และประเภทคลก ขบขัน การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านต่าง ๆ พร้อมมหรสพสมโภช อันน่าตื่นตาใจมากมาย และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ล่วงไปถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ นับเป็นเวลา 4 วัน
ทั้งนี้ ประเพณีรับบัว ที่มีช้านานนั้น อันเป็นเนื่องมาจาก ความร่วมมือร่วมใจ อย่างเต็มที่ของชาวบ้านในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
รวมทั้งจากการกุศลจิตอันแรงกล้า ทั่วทุกสารทิศที่พร้อมจะช่วยกันดำรงอยู่ไว้ด้วยเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตอันดีงามนี้สืบไป