พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สังกัดสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 12 ภูเก็ต กรมศิลปากร
โบราณวัตถุที่สำคัญ
1. พระนารายณ์
ขนาด สูง 235 ซม.
ชนิด ศิลา
แบบศิลปะ ปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 14
พบที่ บริเวณเขาพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอปะกง จังหวัดพังงา
2. เศียรนางภูเทวี
ขนาด สูง 41 ซม.
ชนิด หินชนวน
แบบศิลปะ ปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12 - 14
3. ภาชนะดินเผาและเครื่องประดับ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
พบที่ถ้ำหลังโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และควนลูกปัด ตำบลคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
การจัดแสดง
ได้เน้นหนักถึงเนื้อหาด้านวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยา ของกลุ่มชนชาวภูเก็ต และจังหวัดชายทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทย วัตถุประสงค์หลัก เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานวีรกรรมของท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร ในการสงครามกับพม่า เมื่อ พ.ศ. 328 เสริมสร้างให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำท้องถิ่น มีส่วนรับใช้สังคม เป็นการแสดงเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชน ผู้อาศัยในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง มีรายละเอียดดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แสดงความเป็นอยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตลอดคาบสมุทรไทย-มลายู และดินแดนใกล้เคียง โบราณวัตถุที่ขุดพบบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกภาคใต้ของไทย เทวรูปจากตำบลเหล ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
2. จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ โดยศึกษาจากจดหมายเหตุของ ชาวต่างประเทศ การจัดแสดงประกอบด้วย โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ แผนที่ ภาพวาด และรูปจำลองโบราณสถาน เส้นทางเดินเรือ ทิศทางลม ท่าจอดเรือและแหล่งชุมชนโบราณของดินแดนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกแถบภาคใต้ของประเทศไทย เช่นกลุ่มชนซาไก