พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดให้ถวายสักการะ
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สำหรับวันอังคารและวันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ -๒๐.๐๐ น.
การบินครั้งแรกในประเทศไทย
กิจการบินของไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
เจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๔ นายชาร์ลส์ แวน เด็น บอร์น
(Charles Van Den Born) ชาวเบลเยี่ยม ได้นำเครื่องบินแบบอังรีฟาร์มัง ๔
(Henry Farman IV) ปีก ๒ ชั้นมาแสดงการบินเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ที่สนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร)
หมายเหตุ: รัชกาลที่ ๖ ทรงเป็น "พระบิดาด้านการบินของไทย"
ขณะนั้น ประเทศฝรั่งเศสกำลังพัฒนาด้านการบิน ทำให้จอมพลสมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรี
สุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสนาธิการ
ทหารบก ได้ทรงเห็นความสำคัญ และความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้อง
มีเครื่องบินไว้ป้องกันประเทศเหมือนกับต่างประเทศ
หมายเหตุ: จอมพลสมพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ
กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ทรงเป็น "พระบิดาของกองทัพอากาศ"
ดังนั้นกระทรวงกลาโหมจึงได้ดำริจัดตั้งกิจการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของ
กองทัพบก และได้คัดเลือกนายทหาร ๓ คน ไปศึกษาวิชาการบิน ณ
ประเทศฝรั่งเศส คือ
๑. นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป)
๒. นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข)
๓. นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต
หมายเหตุ: ยศครั้งหลังสุด คือ
๑. พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ
๒. นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์
๓. นาวาอากาศเอก พระยาทยานพิฆาฎ
กองทัพอากาศยกย่องท่านทั้งสามเป็น "บุพการีทหารอากาศ"
ระหว่างที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศสนั้น
กระทรวงกลาโหมได้สั่งซื้อเครื่องบินจากประเทศฝรั่งเศส เป็นเครื่องบิน
เบรเกต์ ชนิดปีก ๒ ชั้น จำนวน ๓ เครื่อง เครื่องบิน นิเออปอรต์ ชนิดปีก
ชั้นเดียว จำนวน ๔ เครื่อง และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์)
ได้บริจาคเงินส่วนตัว ซื้อเครื่องบินแบบเบรเกต์ให้แก่กระทรวงกลาโหม
อีก ๑ เครื่อง รวมเป็น ๘ เครื่อง เครื่องบินทั้งสองแบบนี้ นายทหารทั้ง ๓ คน
ได้เป็นผู้ทดลองบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส แล้วจึงส่งมายังประเทศไทย นับว่า
นายทหารทั้งสามเป็นนักบินชุดแรกของไทย