ด้านทิศเหนือของวัดโตนด เป็นที่ว่างเปล่า มีพื้นที่ 9 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวา เหมาะสมกับการตั้งโรงเรียนเทศบาลเมืองหลังสวน เพราะอยู่ทางด้านหลังของที่ตั้งวัดโตนด ซึ่งไม่บดบังทัศนียภาพของวัด ทางด้านทิศตะวันออกของวัดโตนด เป็นอาคารเรียนเดิมของ เอกชนซึ่งได้เลิกกิจการแล้ว จึงไม่สมควรให้กันเขตจัดประโยชน์เพราะจะบดบังทัศนียภาพ ถ้ามองจากด้านหน้าของวัดโตนด
ภายในอาคารเสนาสนะประกอบด้วย
1. อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2470 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
2. ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น
3. กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง
4. ศาลาอเนกประสงค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
5. ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยไม้
นอกจากนี้มี หอระฆัง หอกลอง โรงครัว และโรงเก็บพัสดุ ปูชะนียะวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2455 นอกจากนี้ยังมีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 1 องค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2455
วัดโตนดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2450 เดิมชาวบ้านเรียกว่าวัดดอนโหนดเพราะตั้งอยู่ในที่ดอนและมีต้นโตนดขึ้นอยู่มากมาย ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างต่มาบูรณะในสมัยพระอธิการหนู อชิโต เป้นเจ้าอาวาส ท่านได้ก่อสร้างอาคารเสนาสนะและปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ จนมีความเจริญ วัดโตนดได้รับความอุปถัมภ์จากราษฎรบ้านบางยี่โรมาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2458
การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม คือ
รุปที่ 1 พระครูธรรมวิจิตร อุดมปัยญาปรีชามุนี (ยัง)
รูปที่ 2 พระธรรมรามคณีสุปรีชาสังฆปาโมกขื (หนูป พ.ศ. 2430 – 2480
รูปที่ 3 พระราชธรรมเวที (เปียก จตฺตาสุโณ) พ.ศ. 2480 – 2512
รูปที่ 4 พระครูธรรมวิจิตรอุดมปัญญาปรีชามุนี (กล่อม) พ.ศ. 2513 – 2515
รูปที่ 5 พระเขมานันทคุณ (ปรางเขมานนฺโท) พ.ศ. 2516 – 2521
รูปที่ 6 พระครูมรุธรรมประสาท (บุญเจิม) พ.ศ. 2521 – 2531
รูปที่ 7 พระครูมงคลคณารักษ์ (ผิน สุมโน) พ.ศ. 2532 – ปัจจุบัน