สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหาร Delivery
mk-gold-บุฟเฟ่ต์ mk gold บุฟเฟ่ต์
สุกกี้เอ็มเค + ติ๋มซำ บุฟเฟ่ต์ มีกว่า 90 รายการอาหาร ภายใน 1...
pizza-company pizza company
สั่งซื้อ Pizza Company ทางอินเตอร์เน๊ต ง่ายมากเพียงแค่คลิ๊กท...
โออิชิ-เดลิเวอรี่ โออิชิ เดลิเวอรี่
โออิชิ เดลิเวอรี่...
ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง
ฮั่วเซ่งฮง ภัตตาคารจีน เปิดบริการมายาวนานกว่า 35 ปี...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   อุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ   >    กาญจนบุรี
เจ้าของบทความ heartkub    Share
อุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ    ขื่อ : อุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ

   

   ที่ตั้ง : ต.ช่องสะเดา อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี

   URL : http://http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/kan/data/place/pic_9-army-war.htm

   ประเภท : พิพิธภัณฑ์

  จุดเด่น :

เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่บอกประวัติเกียวกับสงคราม 9 ทัพระหว่างชาติไทยกับพม่า ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์


  รายละเอียด :

อุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ อยู่ที่ทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี ระหว่างทางไปน้ำตกเอราวัณ อ.ศรีสวัสดิ์ เลี้ยวซ้ายจากทางหลวง ประมาณ 600 เมตร ทางเข้ามีเสาธงเป็นสัญลักษณ์ เสาสีเขา 4 ต้น คือ กองทัพไทยทั้ง 4 ทัพ และ เสาสีน้ำตาล 9 ต้น แสดงถึง กองทัพทั้ง 9 ของพม่า แต่มี 5 กองทัพที่ยกมาทางหุบเขาที่ทุ่งลาดหญ้าแห่งนี้ ซึ่งมีกองทัพไทย ออกมาตั้งรับ แทนที่จะตั้งอยู่ในเมืองหลวงเหมือนเมื่อก่อน จนในที่สุดไทยเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ

 
ประวัติโดยสังเขป คือ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ หลังจากสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียงสองปีกว่า ปราสาทราชวังท้องพระโรงยังเป็นเครื่องไม้อยู่ ส่วนพม่า ก่อนหน้านั้นก็มีเรื่องยุ่งๆ  แย่งชิงราชสมบัติกัน สุดท้ายพระเจ้าปะดุงได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าปะดุงองค์นี้เก่ง รวบรวมพม่าเป็นปึกแผ่นได้ เมื่อรู้ว่าไทยเพิ่งสร้างกรุงใหม่ ก็ดำริจะตีไทยให้ย่อยยับเหมือนเมื่อครั้งอยุธยา
 
จึงกรีธาทัพใหญ่ ไพร่พลถึง ๑๔๔,๐๐๐ คน แบ่งเป็น ๙ กองทัพ ยกเข้ามา ๕ ทิศทาง เราจึงเรียกสงครามครั้งนี้ว่า ‘สงคราม ๙ ทัพ หรือ ‘ศึกเก้าทัพ
 
ทั้ง ๙ ทัพ ๕ ทิศทาง ว่ากันย่อๆ ดังนี้
 
ทิศทางที่ ๑ กองทัพที่ ๔, ๕, ๖, ๗, ๘ รวมเป็น ๕ กองทัพ ยกหนุนเนื่องกันเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ พระเจ้าปะดุงเป็นจอมทัพกองทัพหลวง คือ กองทัพที่ ๘
 
ทิศทางที่ ๒ กองทัพที่ ๙ ยกมาทางด่านแม่ละเมา มีหน้าที่ตัดหัวเมืองเหนือให้ขาดจากภาคกลาง ตีดะลงมาตามลำน้ำปิง ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ลงมาบรรจบกับทัพหลวง
 
ทิศทางที่ ๓ กองทัพที่ ๓ เคลื่อนจากตองอูมารวมทัพที่เชียงแสน (ของพม่า) ตีลำปาง สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย พิษณุโลกแล้วลงมาสมทบทัพหลวง
 
ทิศทางที่ ๒ กองทัพที่ เคลื่อนมาทางด่านบ้องตี้ ทิวเขาตะนาวศรี (กาญจนบุรี) ตีราชบุรี ตัดหัวเมืองฝ่ายใต้
 
ทิศทางที่ ๕ กองทัพที่ ๑ มีทั้งทัพบกและทัพเรือ เข้าตีหัวเมืองฝ่ายใต้ ตั้งแต่ชุมพรลงไป
 
พระราชพงศาวดาร บันทึกเอาไว้ว่า
 
“พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ (วังหลวงและวังหน้า) ได้ทรงทราบข่าวศึก ดังนั้น จึงดำรัสให้ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ มีกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขฝ่ายหลัง (แต่ยังดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์) เป็นต้น กับท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย พร้อมกัน ดำรัสปรึกษาราชการเป็นหลายเวลา...”
 
เมื่อทรงวางแผนต่อสู้เรียบร้อยแล้ว
 
ตรงนี้ ขอเน้นสักนิดว่า เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว เจ้านายไทยต้นๆ
 
พระราชวงศ์นั้น มิได้ทรงเว้นว่างจากศึกสงคราม ท่านรบเก่งกันมาแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแล้ว ท่านก็ยังต้องเหนื่อยยาก ทำศึกสงครามต่อในรัชกาลที่ ๑ นั้น ต้องทำสงครามออกศึกถึง ๗ ครั้ง
 
ฝ่ายไทยในครั้งนั้นรวมพลแล้วได้เพียง ๕๓,๐๐๐ คน จัดแบ่งเป็นกองทัพไปสกัดทัพพม่าเพียง ๒ ทาง คือ
 
ทิศทางที่ ๑ เจ้าพระยาธรรมาธิบดี เป็นแม่ทัพหน้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นแม่ทัพหลวง พระยามหาโยธา คุมกองมอญ ๓,๐๐๐ คนไปขัดตาทัพที่ด่านกรามช้าง
 
ทิศทางที่ ๒ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษเทเวศร์ (กลับมาจากสงครามคราวนี้ได้เป็นกรมพระราชวังหลัง) เป็นแม่ทัพไปตั้งค่ายหลวงที่นครสวรรค์ พระยาพระคลัง (หน) และพระยาอุทัยธรรม (บุนนาค) เป็นกองหลังตั้งค่ายอยู่เมืองชัยนาท
 
สรุปว่า แม้มีกำลังพลเพียง ๑ ใน ๓ ของพม่าในที่สุดฝ่ายไทยก็สามารถตีทัพพม่า ค่ายพม่าแตกได้ ทุกทิศทาง นับว่าเป็นศึกซึ่งเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ทีเดียว
 
จะขอเล่าถึงชัยชนะทางด้านเมืองกาญจนบุรีและราชบุรี ซึ่งพม่ายกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ถึง ๕ ทัพ ตามที่มีผู้จดบันทึกเอาไว้ เป็นการประกอบดังนี้
 
“กองทัพหน้าพม่าล่วงเข้ามาที่ด่านกรามช้าง มีกำลังพลถึง ๑๑,๐๐๐ คน เข้าปะทะตีทัพ พระยามหาโยธา (ที่คุมกองมอญ ๓,๐๐๐ คน) ขัดตาทัพอยู่ ถอยหนีเข้ามาหาทัพหลวง ส่วนกองทัพพม่าหนุนเนื่องกันเข้ามา มาตั้งค่ายอยู่ท่าดินแดงวังหน้าจึงมีพระราชบัณฑูรดำรัสสั่งให้ท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงยกพลออกตีค่ายพม่า รบกันเป็นสามารถล้มตายด้วยกันทั้งสองข้าง ในครั้งนี้วังหน้า ทรงมีพระราชบัณฑูรให้ทำครกและสากใหญ่ไว้ในค่ายหลวง ๓ สำรับ ดำรัสให้ประกาศแก่นายทัพนายกองและทหารทั้งปวงว่า ถ้าผู้ใดถอยหนีพม่าข้าศึกจะเอาตัวลงครกโขลกเสีย”
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ มหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ ๑ นั้น ทราบกันดีว่าทรงห้าวหาญ ดุเด็ดขาด และพระทัยร้อน ถึงพวกพม่าพากันเรียกท่านว่า ‘พระยาเสือ ตั้งแต่รัชสมัยกรุงธนบุรี ว่ากันว่า หากพวกพม่าได้ยินว่า ‘พระยาเสือ เป็นแม่ทัพ กำลังใจก็ลดลงแล้ว
 
ในการศึกสงครามนั้น ท่าน ‘เอาจริง มิใช่แต่เพียงขู่
 
ครั้งนั้น ท่านดำรัสสั่งให้ พระยาสีหราชเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาเพชรบุรี เป็นนายทัพกองโจร ถือพล ๕๐๐ คน มีปลัดทัพสองคน คือ พระยารามคำแหง พระยาเสนานนท์ ยกลัดป่ามาคอยซุ่มสกัดตีกองลำเลียงพม่าที่ตำบลพุไคร้ อันเป็นช่องแคบ (พุไคร้นี้เคยไปมาแล้ว เป็นเขามีช่องแคบลับลี้เหมาะสำหรับซุ่มจริงๆ  สมัยเมื่อตุลาคม ๒๕๑๖ เคยมีพวกนิสิตนักศึกษาไปหลบซ่อนอยู่)

  เงื่อนไข :

เที่ยวได้ตลอดทั้งปี


แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 7185 โหวต : 677
Google Map



ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว กาญจนบุรี *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   วัดป่าเลไลย์  (5798)
   ถ้ำกระแซ  (2727)
   น้ำตกไทรโยคใหญ่  (11947)
   เนินช้างศึก  (3194)
   โบราณสถานพงตึก  (9512)
   โรงถ่ายภาพยนตร์พระนเรศวร  (6937)
   วัดวังวิเวกการาม  (7931)
   เจดีย์พุทธคยาจำลอง  (2848)
   สวนเฉลิมพระเกียรติร9ทองผาภูมิ  (4531)
   เหมืองปิล็อก  (3143)
   วัดถ้ำเสือ  (8289)
   ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี  (3937)
   น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น  (9812)
   อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์  (5600)
   เขาช่องขาด  (7861)
   วัดมังกรทอง  (6992)
   เขื่อนวชิราลงกรณ์  (10975)
   น้ำตกจ๊อกกระดิ่น  (3432)
   วัดทิพย์สุคนธาราม  (2581)
   ด่านเจดีย์สามองค์  (8541)
ร้านอาหาร
   ร้านอาหารพริกแกง  (3360)
   SchluckRestaurantCafé  (3599)
   หมอชู  (5853)
   ทิพย์โภชนา  (3272)
   ครัวเสียงไผ่  (3953)
   เจ๊จวนก๋วยเตี๋ยวติดแอร์  (4321)
   มาดามแหนมเนือง  (3379)
   ร้านอาหารทัย-ไทย  (3740)
   ข้าวราดแกงนวลศรี  (3806)
   ครัวเงาะป่า  (3562)
   ครัวสุดแดน  (3192)
   บ้ารลุงชวลสวนป้าติ๋ว  (3256)
   แจ๋วโภชนา  (2942)
   อบอุ่นเฮ้าส์  (3321)
   ร้านอาหารบ้านผาสวรรค์  (3191)
   ร้านอาหารคีรีธารา  (3775)
   ร้านอาหารเซซาโว่  (4783)
   coffee-berry-สังขละ  (9626)
   วิชัยโภชนา  (3736)
   ก๋วยเตี๋ยวห้วยพลู  (3883)
ที่พัก
   บ้านไร่-ริมแคว  (9637)
   โรงแรม-นาคาคีรี  (5961)
   คำแสด-ริเวอร์แคว  (7596)
   รายาบุรี-รีสอร์ท  (6037)
   มนต์เสน่ห์-ริเวอร์แคว-รีสอร์ท  (6196)
   lake-heaven  (9884)
   พงษ์สุดา-ชาเลต์-  (6299)
   บ้านภูฟ้า  (6744)
   โรงแรมโยโกะริเวอร์แควรีสอร์ท  (7898)
   พี-เกสต์เฮ้าส์  (11557)
   บ้านห้วยอู่ล่อง  (10782)
   พงษ์สุดา-ชาเลต์  (6990)
   เรือนแพ-จังเกิ้ลราฟท์-ไทรโยค  (8093)
   พนธ์-นทีรีสอร์ท  (7774)
   ผึ้งหวาน-รีสอร์ท-แควน้อย  (7325)
   พรไพลิน-ริเวอร์ไซด์-รีสอร์ท  (7964)
   haiku-guesthouse  (9683)
   ดอนคำ-รีสอร์ท  (7846)
   มนต์เสน่ห์-ริเวอร์แคว  (7414)
   สามประสบรีสอร์ท  (7205)
ของฝาก
เทศกาล
   ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้งจังหวัดกาญจนบุรี2556  (4432)
   ประเพณีสงกรานต์ไทยทรงดำวัดเขาพรมนิมิต  (3962)
   งานสะพานข้ามแม่น้ำแคว  (7198)
   เทศกาลเห็ดโคนและอัญมณี-ปี-55  (6375)
   งานประเพณีสงกรานต์ไทย-รามัญ  (4362)
   งานไอยราปาร์ตี้  (3813)
   การจัดงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควและงานกาชาดประจำปี-2554  (5348)
   ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้งวัดหนองปรือ  (4787)
   งาน-river-kwai-trophy-chalenge-2012  (3818)
   งานประเพณีสงกรานต์-จังหวัดกาญจนบุรี  (4710)
   งานประเพณีสงกรานต์มอญสังขละบุรี  (5165)
   เทศกาลดนตรีมันไก่มาก-2  (4772)
   ประเพณีสงกรานต์บ้านหนองขาว  (4740)
   งานสะพานข้ามแม่น้ำแคว-และงานกาชาด  (4767)
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)