สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหาร Delivery
mk-gold-บุฟเฟ่ต์ mk gold บุฟเฟ่ต์
สุกกี้เอ็มเค + ติ๋มซำ บุฟเฟ่ต์ มีกว่า 90 รายการอาหาร ภายใน 1...
pizza-company pizza company
สั่งซื้อ Pizza Company ทางอินเตอร์เน๊ต ง่ายมากเพียงแค่คลิ๊กท...
โออิชิ-เดลิเวอรี่ โออิชิ เดลิเวอรี่
โออิชิ เดลิเวอรี่...
ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง
ฮั่วเซ่งฮง ภัตตาคารจีน เปิดบริการมายาวนานกว่า 35 ปี...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา   >    อยุธยา
เจ้าของบทความ mo    Share
อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา    ขื่อ : อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

   

   ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

   URL : http://www.ayutthaya.org/

   ประเภท : วัด

  จุดเด่น :

เมืองหลวงเก่า เมืองมรดกโลก UNESCO สร้างสมัยพระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. 1893


  รายละเอียด :

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือ "อยุธยา" ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นเมืองหลวงเก่าของไทยเรา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระราคมธิบดีที่ 1 ในเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง นับเป็นราชธานีของไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย เ

"ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา"

ทำบุญไหว้พระในวัดที่บรรพชนได้สร้างไว้ ฟังเรื่องราวแห่งราชธานีเก่าแก่ที่กระซิบผ่านซอกอิฐแห่งหมู่พระเจดีย์ และฐานพระที่นั่งในพระราชวังโบราณ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอลังการราวสวรรค์ สัมผัสตลาดและอาหารการกินแบบภาคกลางที่แสนถูกปากถูกใจในเกาะกรุงเก่า

ราชธานีที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยแห่งนี้ ปัจจุบันได้รับการยกย่องจากยูเนสโก้ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกที่นี่เต็มไปด้วยวัดวาอาราม โบราณสถานแม้เหลือเพียงซากปรัก แต่ก็มิอาจบดบังความเกรียงไกรของอยุธยาในอดีตที่ไร้กาลเวลาลงได้

 

วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ วัดป่าแก้ว หรือ วัดเจ้าพระยาไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1900 สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตน์มหาเถรในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดคณะป่าแก้ว ต่อมาเรียกให้สั้นลงว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาคนเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนี้ พระราชาธิบดีจึงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น“วัดเจ้าพระยาไทย” สันนิษฐานว่ามาจากที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสร้างวัดป่าแก้วขึ้นบริเวณที่ซึ่งได้ถวายพระเพลิงพระศพของเจ้าแก้วเจ้าไทยหรืออาจมาจากการที่วัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า “เจ้าไทย” ฉะนั้นเจ้าพระยาไทยจึงหมายถึงตำแหน่งพระสังฆราชในปี พ.ศ. 2135 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้งองค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ราษฎรเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” ฉะนั้นนานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย และเพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้
นอกจากนี้ยังมี วิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก ค่าเข้าชม ต่างชาติ คนละ 20 บาท

 

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์
    

วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้ง อยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดิน เดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์ใหญ่สององค์เมื่อ พ.ศ.2035 องค์แรกทางทิศตะวันออกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดา และองค์ที่สอง คือองค์กลางเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระบรมเชษฐา ต่อมาในปี พ.ศ. 2042 ทรงสร้างพระวิหารขนาดใหญ่และในปี พ.ศ.2043 ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง 8 วา (16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร พระนามว่า “พระศรีสรรเพชญดาญาณ” ซึ่งภายหลังเมื่อคราวเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด ในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญชิ้นส่วนชำรุดของพระประธานองค์นี้ลงมากรุงเทพฯและบรรจุชิ้นส่วน ซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อ เจดีย์ว่า “เจดีย์สรรเพชญดาญาณ”

สำหรับเจดีย์องค์ที่สามถัดมาทางทิศตะวันตก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เจดีย์สามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา ระหว่างเจดีย์แต่ละองค์มีมณฑปก่อคั่นไว้ซึ่งคงจะมีการสร้างในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และมีร่องรอยการบูรณะปฏิสังขรณ์หนึ่งครั้งในราวรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีการบูรณะเจดีย์แห่งนี้จนมีสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน วัดนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00–18.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 60 บาท ชาวต่างประเทศ 180 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน อันได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังหลวง วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดไชยวัฒนาราม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานศิลปากรที่ 3 โทร. 0 3524 2501, 0 3524 2448 หรือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทร. 0 3524 2284, 0 3524 2286
หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30-21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน

 

วัดพระมงคลบพิตร

วัดพระมงคลบพิตร     

วัดพระมงคลบพิตร  ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นระหว่างปี พ.ศ. 1991–2145 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทาง ด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดเกล้าฯให้ก่อมณฑปสวมไว้

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 อสุนีบาตตกลงมาต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตรเกิดไฟไหม้ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑปเป็นมหาวิหารและต่อพระเศียรพระมงคลบพิตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. 2285–2286) ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 วิหารพระมงคลบพิตรถูกข้าศึกเผาเครื่องบนโทรมลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรขวาของพระมงคลบพิตรหัก รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่ สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ

 

วัดพนัญเชิงวรวิหาร

 วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดพนัญเชิง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (จากคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่าเป็นพระอารามหลวงลำดับที่ ๑๕) อยู่ในเขตปกครองของคณะสงฆ์ตำบลหอรัตนไชย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ตอนใต้ของเกาะเมือง ทางราชการใช้ชื่อว่าตำบลคลองสวนพลู (หรือตำบลกะมัง) อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การเดินทางสู่วัดพนัญเชิงวรวิหาร ๓ ทาง
ก. เดินทางโดยรถยนต์ไปตามถนนพหลโยธิน แยกเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่สามแยกอำเภอวังน้อย ถนนสายโรจนะถึงเจดีย์ใหญ่วัดสามปลื้ม ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑ เลี้ยวซ้ายไปตามถนน ผ่านวัดใหญ่ชัยมงคลแล่นเรื่อยไปจนถึงวัด
ข. เดินทางโดยรถไฟไปยังสถานีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่อรถประจำทาง หรือรถรับจ้างเพื่อข้ามเรือที่สถานีตำรวจป้อมเพชร ซึ่งเรียกว่า ท่าข้ามวัดสุวรรณดาราราม – วัดพนัญเชิงฯ
ค. เดินทางโดยเรือ มีเรือ ๓ สาย สายใต้และสายตะวันตก จะถึงวัดซึ่งอยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจป้อมเพชรก่อนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายเหนือจะถึงตัวจังหวัดก่อนถึงวัด

 

ปางช้าง (แลเพนียด)

ปางช้าง (แลเพนียด)

เมื่อมาถึงอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นอกจากโบราณสถาน ร้านรวง และต้นไม้แล้ว สิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจไม่แพ้กันก็คือ ช้างตัวใหญ่ใจดี ที่แต่งองค์ทรงเครื่องสวยงาม เดินอุ้ยอ้ายพานักท่องเที่ยวเดินชมทิวทัศน์รอบๆกรุงเก่า
ปางช้างอยุธยา แลเพนียด

เปิดให้บริการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ด้วยเจตนารมณ์จะลดปัญหาการเข้ามาเร่ร่อน หากินในเมืองหลวงของช้างและควาญช้าง คุณสมพาสน์ มีพันธุ์ จึงรวบรวมช้าง และควาญ
เหล่านั้นเข้าด้วยกัน แล้วทำการฝึกอบรม เพื่อใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว
จนถึงวันนี้ "ปางช้าง" เปลี่ยนเป็น "วังช้าง" มีช้างในสังกัด 60 เชือก และช้างสมาชิกอีกราว 50 เชือก รวมแล้วมีช้างกว่า 100 เชือก ที่หมุนเวียนบริการ นักท่องเที่ยว ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์

 

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ กรุงศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยังเป็นที่พำนักของ สมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีอีกด้วย วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้าง และ ดูแลตลอดเวลาจวบจนถูกทำลายลงหลังเสียกรุงครั้งที่ 2

ประวัติ  วัดมหาธาตุเป็นวัดที่เก่าแก่และมีประวัติที่ไม่ค่อยจะชัดเจน บางฉบับบอกว่า ในปี พ.ศ. 1917 บางฉบับก็บอก พ.ศ. 1927 แต่อย่างไรก็ตาม ได้ใช้เวลาก่อสร้างไปเป็นจำนวนมาก
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์เคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ปรางค์ของวัดนี้เดิมทีเดียวสร้างด้วยศิลาแลง แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดังเดิม ในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่ รวมเป็นความสูง 25 วา แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ 5

 

ตลาดน้ำคลองสระบัว

ตลาดน้ำคลองสระบัว

ตลาดน้ำ คลองสระบัว หนึ่งเดียวตลาดน้ำละครพื้นบ้าน  คลองสระบัวเป็นคลองส่งน้ำเล็กๆ ในทางประวัติศาสตร์เป็นคลองที่พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้เดินทางจากพระราชวังไปเพนียดคล้องช้าง สระที่ขุดขึ้นได้อ้างอิงจากสัณฐานของวัดต่างๆ ที่อยู่โดยรอบ แล้วขุดขึ้นตามตำแหน่งเดิมที่เคยมีอยู่ในอดีตวันที่คลองสระบัวได้ติดตลาดน้ำวิถีไทยให้ได้เที่ยวชมกัน

ตั้งอยู่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือ (ทุ่งขวัญ) พบกับสระบัวกว้างขวาง พร้อมเวทีกลางน้ำสำหรับแสดงนิทานพื้นบ้านอันตระการตา ความเขียวขจีของทุ่งนา บอกถึงความเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของไทยและที่เรียกรอยยิ้มได้มากที่สุด คงหนีไม่พ้นเจ้าทุยหน้าตาดีที่ลงไปนอนปลักอยู่ในบ่อโคลนเย็นฉ่ำอย่างสบายอารมณ์ รอบๆสระน้ำจะเป็นเพิงหลงัคามุงแฝกปลูกเรียงรารยติดต่อเป็นแถวยาว ขายนอาหารไทยสารพัดที่เน้นการใช้วัสดุธรรมชาติเป็นภาชนะ

 

ตลาดโก้งโค้ง

ตลาดโก้งโค้ง

ตลาดโก้งโค้ง ตั้งอยู่บริเวณบ้านแสงโสม ตำบลขนอนหลวง ซึ่งในอดีตเป็นด่านขนอน และเป็นสถานที่ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิด ทั้งสินค้าในชุมชนและสินค้าที่มาจากต่างเมืองคำว่า ตลาดโก้งโค้ง มาจากการที่คนขายสินค้าจะนั่งอยู่บนพื้นดิน คนที่มาซื้อจะต้องโก้งโค้ง เพื่อเลือกดูของที่ตนสนใจ การโก้งโค้งของคนไทยนั้น ทำได้สุภาพ นุ่มนวล เป็นกิริยาที่แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน ภาพการซื้อขายจะเต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรีระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย

ตลาดโก้งโค้ง แม้ที่นี่จะเป็นตลาดเล็กๆ แต่ก็ให้ความรู้สึกดีๆ ชอบที่พ่อค้าแม่ค้าแต่งตัวชุดไทยแบบชาวบ้าน ติดป้ายชื่อด้วย สินค้าก็ให้ความรู้สึกว่าเป็นสินค้าของชุมชนที่ทำขึ้นมาขายด้วยใจแล้วที่แปลกกว่าที่อื่น ก็คือมีสถานที่ไว้รับจัดงานแต่งงานในบรรยากาศแบบไทยๆ ด้วย

ในปัจจุบันตลาดโก้งโค้งได้รับการรรื้อฟื้นขึ้นมา พร้อมกับน้ำใจไมตรีของพ่อค้าแม่ค้าที่มีต่อคนซื้อเช่นในอดีต ตลาดนี้จึงเต็มไปด้วยรอยยิ้ม

วัดพระศรีสรรเพชญ์

    ตั้ง อยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาต


  เงื่อนไข :

การเดินทางสู่อยุธยา

ทางรถยนต์

จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทางดังนี้

ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทาง หลวงหมายเลข 32 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรี หรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวง หมายเลข 3111) แล้วแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานีทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยก สะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทางรถโดยสารประจำทาง

กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รถออกจากสถานีขนส่ง สายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 (หมอชิต 2) ทุกวันๆละหลายเที่ยว รถธรรมดาและรถปรับอากาศ สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 936-1972

ทางรถไฟ

สามารถใช้ขบวนรถโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปสายเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบ้านภาชี ในแต่ละวันจะมีรถไฟบริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารขึ้นล่องวันละหลายเที่ยว นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังจัดขบวนรถจักรไอน้ำเดินระหว่างกรุงเทพฯ-สถานีอยุธยา-กรุงเทพฯ ในโอกาสพิเศษ ปีละ 4 ขบวน คือวันที่ 26 มีนาคม (วันสถาปนาการรถไฟและวันที่ระลึกถึงการเปิดทางรถไฟสายแรกที่เดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2433) วันที่ 12 สิงหาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ) วันที่ 23 ตุลาคม (วันปิยมหาราช เพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงให้กำเนิดกิจการรถไฟไทย) และวันที่ 5 ธันวาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) รายละเอียดสอบถาม หน่วยบริการเดินทางสถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 223-7010, 223-7020

ทางเรือ

ปัจจุบันเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศมาก เพราะนอกจากจะได้ชมทัศนียภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นการย้อนให้เห็นประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาที่ประเทศไทยมีการค้าขายกับชาวต่างชาติ โดยเรือสำเภาต่างประเทศที่สัญจรในลำน้ำเจ้าพระยาในอดีต


แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 16323 โหวต : 594
Google Map



ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว อยุธยา *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   ภูเขาทอง-อยุธยา  (4421)
   อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา  (16323)
   วัดอโยธยา  (4854)
   พิพิธภัณฑ์เรือไทย  (7852)
   วัดสมณโกฎฐาราม  (3354)
   ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร  (10407)
   คุ้มขุนแผน  (2060)
   พระราชวังจันทรเกษม  (5874)
   ศาลหลักเมือง-อยุธยา  (5089)
   วัดนิเวศธรรมประวัติ  (5208)
   พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง  (4302)
   วัดมเหยงค์  (5134)
   วัดกษัตราธิราชวรวิหาร  (5179)
   ตลาดโก้งโค้ง  (6803)
   ปางช้างแลเพนียด  (5116)
   ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา  (2828)
   หมู่บ้านโปรตุเกส  (5210)
   พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น-เกริก-ยุ้นพันธ์  (4978)
   เจดีย์พระศรีสุริโยทัย  (5528)
   วิหารพระมงคลบพิตร  (5269)
ร้านอาหาร
   ก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยา  (6976)
   เจี๊ยบต้มเลือดหมู  (4384)
   บ้านวัชราชัย  (6547)
   ร้านกั๋วยเตี๋ยว-วัดใหญ่-อยุธยา  (6788)
   ก๋วยเตี๋ยวเรือเจ๊นิด  (3402)
   แม่ผ่องศรี  (3071)
   ลุงนวย  (6687)
   สวนอาหารไทรทองริเวอร์  (11005)
   สตรอเบอร์รี่  (3311)
   หลบมุม  (4438)
   ขนมถ้วย-ตลาดโก้งโค้ง  (9914)
   ครัวน้อง  (3572)
   เค้กบ้านสวน  (2691)
   ส้มตำครกนายพัน  (7511)
   สี่แควกุ้งเผา  (10159)
   สมบัติเจ้าพระยา  (3374)
   แพกรุงเก่า  (6452)
   ข้าวแกงบ้านสวน3  (4161)
   เจ้าพระยามารวย  (4351)
   เจริญรุ่งเรือง  (3091)
ที่พัก
   พลูธยารีสอร์ท-แอนด์-สปา  (6887)
   อยุธยา-แกรนด์-โฮเทล  (7608)
   วราบุรี-อโยธยา-รีสอร์ท  (6512)
   กรุงศรี-ริเวอร์  (7028)
   โรงแรมอู่ทองอินน์  (9352)
   เดอะ-ลิม่า-เพลส  (6141)
   อยุธยา-โฮเทล  (6969)
ของฝาก
   หนังและก้างปลากรายทอดกรอบ  (12618)
   ปลาตะเพียนใบลาน  (8482)
   ขนมบ้าบิ่น  (12285)
   ตุ๊กตาชาววังและตุ๊กตาชาวบ้าน  (11018)
   บังนี-โรตีสายไหม  (9546)
   โรตีสายไหม  (9057)
   ผลไม้เชื่อมและผลไม้ดอง  (15530)
   โรตีสายไหม-บังอิมรอน-อยุธยา  (8397)
   มีดอรัญญิก  (16951)
   เค้กบ้านสวน3  (6832)
   งอบ  (9955)
   หม้อดินเผา  (19911)
เทศกาล
   งานตรุษจีน-กรุงเก่าอยุธยามหามงคล-ครั้งที่7-ประจำปี2556  (3591)
   ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำ  (4688)
   ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง-ไทย-รามัญ  (4530)
   ตรุษจีนกรุงเก่าอยุธยามหามงคล-ครั้งที่-5  (770)
   งานอยุธยามรดกโลก-และงานกาชาด  (1483)
   สุดยอดเรือสยาม  (4376)
   งานตรุษจีนกรุงเก่าอยุธยามหามงคล  (5144)
   อยุธยามรดกโลก  (4800)
   ลอยกระทงตามประทีป-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ  (9346)
   งานไหว้ครูมวยไทยโลก-และมหัศจรรย์มวยไทย-มรดกโลก  (4919)
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)