อุทยานแห่งชาติภูเวียง ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู และอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่นได้รับการประกาศให้เป้นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2534 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 71 ของประเทศ มีพื้นที่ 203,125 ไร่ ภูมิประเทศลักษณะเป้นสันเขาสูง มีแนวเทือกเขาล้อมรอบเป็นวงสองชั้น เป้นแอ่งคล้ายปล่องภูเขาไฟ สูงประมาณ 210-844 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีที่ราบลุ่มตอนกลางด้านทิศตะวันตกเป็นหน้าผาสูง บนยอดเขาสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์เบื้องล่าง สภาพป่าสามารถแบ่งสังคมป่าออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น น้ำตกตาดฟ้า จุดชมพระอาทิตย์ขึ้น จุดชมพระอาทิตย์ตกดิน น้ำตกทับพญาเสือ ถ้ำฝ่ามือแดง พระพุทธไสยาสน์ และสุสานหอย 130 ล้านปี
ปี พ.ศ. 2519 มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์และสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อายุประมาณ 130 ล้านปี ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัย และเสด็จทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ 130 ล้านปี นักธรณีวิทยาจากโครงการสำรวจแหล่งเรยูเนียม กรมทรัพยากรธรณี ได้สำรวจพบซากไดโนเสาร์ครั้งแรกของประเทศไทยที่ภูเวียง จากนั้นจึงได้ทำการศึกษาและสำรวจเพิ่มเติม จนพบแหล่งซากกระดูกไดโนเสาร์ถึีง 9 แหล่งขุดค้น ความสำคัญของซากไดโนเสาร์ภูเวียง คือ เป็นสกุลและชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด เช่น ไดโนเสาร์ภุเวียงชิดกินพืช ไดโนเสาร์กินเนื้อ ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ
แสดงความเป็นเจ้าของบทความ
ทางเข้าอุทยาน
แผนที่การเดินทางในอุทยาน
เริ่มเดินทางออกจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ป้ายบอกทาง
จุดแรกที่เดินมาถึงคือ หลุมขุดุค้นที่ 3
หลุมขุดค้นที่ 3 ห้วยประตูตีหมาแหล่งไดโนเสาร์กินพืช
พบเมื่อเดือน พ.ค. 2536 เป็นชิ้นส่วนของไดโนเสาร์กินพืช ขนาดใหญ่หลายชิ้น ที่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นส่วนใด มีเเพียงกระดูกคอชิ้นเดียวที่บอกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืขแต่ยังไม่ทราบว่าเป็นชนิดเดียวกับพันธุกินพืชภูเวียงที่พบที่หลุมขุดค้นที่ 1 หรือไม่ ชิ้นกระดูกเหล่านี้ฝังตัวอยู่ในหินเสาขัวอายุประมาณ 130 ล้านปี
จากหลุมขุดค้นที่ 3 ออกเดินทางสู่จุดต่อไป
จุดชมวิว ที่อยู่ ระหว่างทางจากหลุมขุดค้นที่ 3 ไปหลุมขุดค้นที่ 1
สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามจากยอดเขา และสัมผัสอากาศบริสุทธิ์เย็นสบาย
เดินออกจากจุดชมวิวอีก 150 ม. ก็ถึง หลุมขุดค้นที่ 1
ซากไดโนเสาร์ของหลุมขุดค้นแห่งนี้ คือ ไดโนเสาร์ตัวจิ๋วเท่าไก่
มีขนาดเล็กที่สุด คล้ายสัตว์ปีกหัวเรียวแหลม ฟันเล็กแหลม เรียงแถวยาว คอยาวบิดดค้งได้คล่องหางยาว เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเท่าไก่งวง มีรูปร่างกะทัดรัด ว่องไว ไล่้จับสัตว์ขนาดเล็กกินเป็นอาหาร
ออกเดินทางสู่หลุมขุดค้นต่อไป เดินไปประมาณ 500 ม. เจอสุสานหอย 130 ล้านปี
สุสานหอย 130 ล้านปี
ออกเดินไปอีก 50 ม. ก็พบกับหลุมขุดค้นที่ 2
จากหลุมขุดค้นที่ 2 เดินทางต่อไปอีกประมาณ 500 เมตตร จะพบกับหลุมขุดค้นที่ 9 ซึ่งเป็นหลุมขุดค้นสุดท้าย
หลุมขุดค้นที่ 9 ลานหินลาดยาว แหล่งไดโนเสาร์กินเนื้อไทรันสยาม
พบเมื่อเดือนสิงหาคม 2536 เป็นกระดูสโพกด้านซ้าย และกระดูกโคนหางของไดโนเสาร์กินเนื้อสกุลและชนิดใหม่ของโลก มีความยาวประมาณ 7 เมตร ลักษณะกระดูกบ่งบอกว่าเป็นบรรพบุรุษของทีเร็กซ์ ในภาพยนต์เรื่องจูแรสสิคพาร์ด ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีอายุอยุ่ในยุคทีเครเซียสตอนปลาย ในขณะที่ไทรันสยามมีอายุอยู่ในยุคทีเครเซียสตอนต้น และมีขนาดประมาณครึ่งนึงของทีเร็กซ์
วางที่นี่