สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหารยอดนิยม
ร้านปะการัง-บางแสน ร้านปะการัง บางแสน
ริมทะเล บรรยากาศดียามเย็น อาหารอร่อยและสด มีที่จอดรถ...
ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู
ไส้กรอกอีสาน ไส้หมูบดผสมวุ้นเส้น ใช้เครื่องอย่างดี...
พรชัยขนมปัง พรชัยขนมปัง
ร้านขนมปัง ที่มีเมนูหลากหลาย ตั้งอยู่ที่ตลาดยอด พระนคร เมนูเ...
โกทิ-หัวหิน โกทิ หัวหิน
ร้านเก่าแก่คู่ อ.หัวหิน มากว่า 50 ปี ตรงข้ามตลาดโต้รุ่งหัวหิ...
อาม้า-เบเกอรี่ อาม้า เบเกอรี่
จำหน่ายขนมปังไส้ทุกชนิด เค้ก และคุกกี้ต่างๆ รับสั่งทำเค้ก อา...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   ศิลปะและวัฒนธรรม    >   ลุมพินีวัน   >   
เจ้าของบทความ gplace    Share
ลุมพินีวัน    ขื่อ : ลุมพินีวัน

   

   ที่ตั้ง : Taulihawa Road, Lumbini Sanskritik, เนปาล 32900

   URL : http://gplace.com/ลุมพินีวัน

   ประเภท :

  จุดเด่น :

  • สถานที่ประสูติพระพุทธเจ้า เมืองมรดกโลก

  • เสาอโศก

  • รอยเท้าที่ 7 ภายในวิหารมหามายาเทวี 

  • พระพูทธรูปพระพุทธเจ้าน้อย(ที่คนสร้างร่วมกันสร้าง)


  รายละเอียด :

ลุมพีนีวัน สถานที่ประสูติของพระพุทธองค์ ชายแดนกิ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์(เมืองพระบิดา) ทางทิศตะวันออก 11 กม.และเมืองเทวทหะ(เมืองพระมารดา) ห่างออกไปทางทิศตะวันตก 11 กม. ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวันสถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ 


ปัจจุบันลุมพีนีเป็นเมืองชายแดน อยู่ในเมืองติเลาราโกต (Tilaurakot) ประเทศเนปาล ติดชายแดนเมืองโคราฆปุระของประเทศอินเดีย มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ทางการเรียกสถานที่นี้ว่า รุมมินเด (Lumpini) มีสภาพเป็นชนบท มีผู้อาศัยอยู่ไม่มาก มีสิ่งปลูกสร้างเป็นพุทธสถานเพียงเล็กน้อย แต่มีวัดพุทธอยู่ในบริเวณนี้หลายวัด รวมทั้งวัดไทยลุมพินี ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540


ลุมพินีวัน ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูให้เป็น "พุทธอุทยานทางประวัติศาสตร์ของโลก" ซึ่งเป็นดำริของ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านตั้งใจเริ่มโครงการฟื้นฟูให้ลุมพินีวันเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธบนพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว่า 6,000 ไร่ (ขนานตามแนวเหนือใต้) แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนสำหรับปลูกป่าและสร้างวัดพุทธนานาชาติจากทั่วโลกกว่า 41 ประเทศ โดยโบราณสถานลุมพินีวันตั้งอยู่ทางด้านใต้ ปัจจุบัน มีวัดไทยและวัดพุทธทั่วโลกไปสร้างอยู่จำนวนมากและมีขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะแสวงบุญ


สิ่งที่น่าสนใจ



  • เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ระบุว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ

  • มหาวิหารมายาเทวี ภายในประดิษฐานภาพหินแกะสลักพระรูปพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรส โดยเป็นวิหารเก่ามีอายุร่วมสมัยกับเสาหินพระเจ้าอโศก
    ปัจจุบัน ทางการเนปาลได้สร้างวิหารใหม่ทับวิหารมายาเทวีหลังเก่า และได้ขุดค้นพบศิลาจารึกรูปคล้ายรอยเท้า สันนิษฐานว่าเป็นจารึกรอยเท้าก้าวที่เจ็ดของเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงดำเนินได้เจ็ดก้าวในวันประสูติ

  • พระพุทธเจ้าน้อย(รูปปั้น ปางประสูติ) ใกล้ทางเข้าลุมพีนีวัน ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยร่วมใจกันสร้างถวาย

  • สระสรงสนาน หน้าวิหารมหามายาเทวี


ประวัติลุมพีนีวัน หลังพุทธปรินิพาน


กษัตริย์พระองค์หนึ่งซึ่งได้รับส่วนแบ่งแห่งพระบรมสารีริกธาตุ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในสถูปแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากลุมพินีวันนัก จวบจนพุทธศักราชได้ 294 ปี พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จนมัสการพุทธสังเวชนียสถานทั่วทั้งชมพูทวีป พร้อมด้วยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ (หรือพระอุปคุต) ได้เสด็จมานมัสการ ณ ลุมพินีนี้ พระองค์โปรดฯ ให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระนำทางและชี้จุดที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ แล้วทรงสร้างอาราม พระเจดีย์และเสาศิลาจารึกไว้เป็นสัญลักษณ์ว่า ลุมพินีวันนี้มีความสำคัญอย่างไร ซึ่งเสาศิลาหินทรายของพระเจ้าอโศกยังคงตั้งอยู่ ณ ที่เดิมจนถึงปัจจุบัน



สระสรงสนาน และ มหามายาเทวีวิหาร หลังการบูรณะ
หลังจากยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช เรื่องราวของลุมพินีวันได้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาเกือบ 700 ปี โดยไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารที่สามารถสืบค้นถึงความเป็นไปของลุมพินีวันในช่วงนี้ได้


จนในประมาณ พ.ศ. 900 สมณะฟาเหียนได้เดินทางจากประเทศจีนมาถึงลุมพินีวัน ท่านได้กล่าวไว้สั้น ๆ เพียงว่าได้พบบ่อสรงสนาน และระบุที่ตั้งของลุมพินีวันว่าอยู่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 14-16 กิโลเมตร


ต่อมา ในปี พ.ศ. 1181 สมณะเฮี้ยนจัง หรือ พระถังซำจั๋ง ได้เดินทางมาถึงลุมพินีวัน โดยได้จดบันทึกระบุที่ตั้งสถานที่ต่าง ๆ ในลุมพินีวันไว้คร่าว ๆ ท่านได้กล่าวถึงบ่อสรงสนาน ซึ่งคงเป็นบ่อเดียวกับที่สมณะฟาเหียนกล่าวไว้ในบันทึก ซึ่งบ่อนี้ยังคงมีอยู่มาจนปัจจุบัน และกล่าวว่าไม่ไกลจากบ่อนั้นไปประมาณ 24 ก้าว มีต้นสาละต้นหนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นจุดที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จากจุดนั้นไปทางใต้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นจุดที่พระอินทร์เสด็จจากสวรรค์ลงมาต้อนรับพระราชโอรสที่ประสูติใหม่ ใกล้ ๆ กันมีเจดีย์อีกสี่องค์ ที่สร้างไว้เพื่อถวายแก่ท้าวจตุโลกบาล ที่ทำหน้าที่ถวายอภิบาลพระโอรสประสูติใหม่ และใกล้กันนั้นมีเสาอโศกรูปสิงห์ประดิษฐานอยู่บนยอด


จวบจน พ.ศ. 2438–2439 เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม และคณะ ได้ค้นพบเสาศิลาพระเจ้าอโศกซึ่งถูกฝังดินไว้และพบจารึกเป็นอักษรพราหมีระบุว่าที่แห่งนี้คือสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จากนั้นจึงเริ่มมีการขุดค้นทางโบราณคดี โดยพบซากปรักหักพังจำนวนมาก ซากสถูปกว่า 50 องค์ และซากวิหารอาราม มีอายุตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมริยะ ราชวงศ์ศุงคะ ราชวงศ์กุษาณะ และสมัยคุปตะ (ประมาณ พ.ศ. 300 - พ.ศ. 950)


  เงื่อนไข :

แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 1252 โหวต : 594
Google Map



ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   ลุมพินีวัน  (1252)
   วัดไทยลุมพินี  (1454)
ร้านอาหาร
ที่พัก
ของฝาก
เทศกาล
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)