พระธาตุเรืองรอง เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ ประชาชนชาวพุทธศาสนา ให้ความเคารพสักการะ บูชา โดยพระธาตุเรืองรองมีสถานที่ ตั้งอยู่ที่บ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง ห่างจากเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2373 สายศรีสะเกษ-ยางชุมน้อย ประมาณ 7.5 กม. เป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นโดยผสมศิลปอีสานใต้ สี่เผ่าไทย ได้แก่ ลาว ส่วย เขมร เยอ มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์อย่างลงตัว ทำให้มีความสวยงาม พระธาตุมีความสูง 49 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ชั้นล่างสุดใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา
ชั้นที่ 1 ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา
ชั้นที่ 2-3 ทำเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชนสี่เผ่าไทยของศรีสะเกษ คือ เขมร ส่วย ลาว เยอ
ชั้นที่ 4 ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ
ชั้นที่ 5 ใช้สำหรับการทำสมาธิ และ
ชั้นที่ 6 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (เส้นผมพระอรหันต์) และเป็นที่ชมทัศนียภาพของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทัศนียภาพของพื้นที่โดยรอบ
นับได้ว่าเป็นสถานที่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐาน เช่น พระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกพระพุทธเจ้า หรือของพระอรหันต์สาวก) พระบรมเกศาธาตุ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นที่ สักการะกราบไหว้ เป็นที่ยึดเหนี่ยว จิตใจของชาวพุทธ ได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานสิ่งที่ชาวพุทธถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกพระพุทธเจ้าหรือของพระอรหันต์สาวก) พระบรมเกษาธาตุ เป็นต้น เป็นที่บูชา กราบไว้สักการะ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของชาวพุทธทั่วๆ ไป เป็นที่เก็บวัตถุโบราณทุกชนิดเท่าที่จะหามาได้ เป็นที่ศึกษาค้นคว้าทางวัตนธรรมประเพณีชาวอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ "อีสานใต้" เป็นสถานที่ประชุมทั้งชาววัด ชาวบ้าน ทั้งราชการ และสาธารณชน เป็นที่ศึกษาอบรมธรรมวินัยแก่ชาวพุทธทั่วๆ ไป ฯลฯ
สาเหตุที่มาสร้างที่จังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากว่าชาวพุทธในถิ่นอีสานใต้ส่วนมากมีฐานะค่อนข้างยากจน บางคนจะเดินทางไปนมัสการปูชนียสถาน เช่น พระธาตุพนม จังหวัดนครพนมก็ห่างไกลถึง 400 กิโลเมตร จะไปที่พระเจดีย์นครปฐมก็ไกลจากที่นี่ถึง เกือบ 700 กิโลเมตร จะไปที่พระพุทธบาทสระบุรีก็ไกลถึง 500 กว่ากิโลเมตร ถ้าจะไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพที่เชียงใหม่ก็ยิ่งไกลออกไปอีกประมาณ 1 พันกิโลเมตรเศษ คิดแล้วคิดอีกก็ไปไม่ได้ เนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เพียงพอนั่นเอง ตายไปหลายชั่วคนแล้วก็ไม่มีโอกาส
ฉะนั้น จึงได้ตัดสินใจสร้างขึ้นที่อีสานใต้คือที่จังหวัดศรีสะเกษแห่งนี้ และที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ ณ บ้านสร้างเรืองแห่งนี้เป็นบ้านเกิดเมืองนอน ผู้ริเริ่มสร้างพระธาตุองค์นี้ (พระธัมมา พระมหาธัม จิตตปัญโญ หลวงปู่ธัมมา พิทักษา หรือพระครูวิบูล ธรรมภาณ (พ.ศ.2545)