ชุมชนบ้านปราสาท ประกอบไปด้วย 3 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.7 ม.8 ม.17 ชุมชนบ้านปราสาทเป็นแหล่งโบราณคดีขุดแต่งใหม่เป็นแห่งที่ 2 ต่อจากบ้านเชียงที่ลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งจากการขุดหลุมพบโครงกระดูกมนุษย์ที่มีสภาพสมบรูณ์ หันศรีษะ ไปทางทิศต่าง ๆ มีการฝังภาชนะดินเผาแบบเคลือบโคลนสีแดง แบบลายเชือกทาบ เครื่องประดับต่าง ๆ เช่น กำไล เปลือกหอยลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด เครื่องประดับศรีษะที่ทำด้วยสำริด
จากหลักฐานสันนิษฐานว่า บ้านปราสาทมีชุมชนอาศัยอยู่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดี และแบบเขมรโบราณ ระยะเวลาอยู่ใกล้ช่วง 2,500-3,000 ปีมาแล้ว แต่ละชั้นดินที่ขุดพบโครงกระดูก มีอายุแตกต่างกัน คือชั้นลึกที่สุด ประมาณ 5.50 เมตร อายุประมาณ 3,000 ปี ชั้นกลาง 5 เมตร อายุประมาณ 2,500 ปี จนถึงชั้นบนสุดจะพบภาชนะยุคพิมายดำ ประมาณ 1,500 ปี
นอกจากจะเป็นแหล่งโบราณคดีที่น่าสนใจแล้ว ทางทิศเหนือของหมู่บ้านยังมีลำน้ำซึ่งเกิดจากต้นน้ำเขาใหญ่ ไหลผ่านชื่อว่า "ลำธารปราสาท" ซึ่งถือเป็นลำน้ำศักดิ์สิทธื์ 1 ใน 9 ของแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ประกอบพิธีสำคัญของประเทศในงานพิธีพระบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ปี 2493
- เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ และมีอายุที่เก่าแก่ที่สุดของเขตภาคอีสานตอนล่าง มีการจัดแสดงในรูปของพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ประกอบด้วยหลุมขุดค้นจำนวน ๓ หลุม โครงกระดูกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ราว ๕๙ โครง รวมทั้งโบราณ วัตถุอื่น ๆ อีกจำนวนมาก
- เป็นแหล่งศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ในอดีต ของดินแดนภาคอีสานตอนล่าง
- เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทำให้เศรษฐกิจตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น
หลักฐานที่พบ
- โครงกระดูกมนุษย์อยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ ๑.๕๐ เมตร-๕ เมตร แสดงถึงการอยู่อาศัยทับซ้อนกันยาวนาน
- ภาชนะดินเผา หม้อปากแตร และหม้อแบบพิมายดำ
- เครื่องประดับและเครื่องมือสำริด
รายการนำเที่ยว
-ชุมชนแหล่งโบราณคดีอายุ 2,500 - 3,000 ปี ที่หลุมขุดค้นที่ 1
-ชมอาคารพิพิธภัณฑ์ 2 หลัง แสดงประวัติศาสตร์และความเป็นมาต่าง ๆ ของโบราณคดี
-ชมหลุมขุดค้นที่ 2 สมัยทวารดี - 3,000 ปี
-ชมหลุมขุดค้นที่ 3 อายุ 2,500 - 3,000 ปี
-ชมกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้าน จากเส้นใยพืช เช่น ทำหมวก กระเป๋า แฟ้มเอกสาร รองเท้า และของที่ระลึก
-ชมกลุ่มทอผ้า ทั้งผ้าทั้งฝ้าย ผ้าไหม ผ้าเทโร
-ชมกลุ่มทำอาหาร ขนม เช่น การทำน้ำพริก ขนมไทย ๆ
-ชมวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชาวบ้านปราสาท
-ร่วมการประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้นำเยี่ยมปราสาท