|
ขื่อ : งานประชุมอุโมงค์โลก2012
ที่ตั้ง : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
URL :
ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ราคา : n/a
เบอร์โทร : (0) 2 956 1580
|
จุดเด่น : |
ข้อดีของระบบอุโมงค์ใต้ดินป้องกันน้ำท่วม Multi-Services Flood Tunnel System คือ
ประหยัดการลงทุนโดยไม่ต้องเวนคืนที่ดิน
เหมาะกับสภาพทางกายภาพของกรุงเทพฯ ซึ่งพื้นผิวดินและเมืองเปลี่ยนไปแล้ว เต็มไปด้วยชุมชนและสิ่งปลูกสร้างแออัดขวางทางน้ำ
ระบบอุโมงค์ใต้ดินระบายน้ำสามารถกำหนดความลาดเอียงได้ตามต้องการ จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า Flood Way บนผิวดิน
ไม่มีปัญหาขยะหรือความตื้นเขิน อย่างทางระบายน้ำบนพื้นดินซึ่งต้องบูรณะตลอดเวลา
อุโมงค์ใต้ดินเป็นระบบปิด ไม่มีปัญหามวลชนมาบุกรุกทางน้ำ
ปัญหาความขัดแย้งและอลหม่านในสังคมชุมชนระหว่างการระบายน้ำ
ระบบอุโมงค์ใต้ดินเชื่อมคูคลองและแก้มลิงเข้าเป็นระบบเดียวกันทำให้มีประสิทธิภาพในการจัดการน้ำ
.เป็นทางลัดในการระบายน้ำตรงสู่ทะเลโดยไม่ต้องผ่านชุมชนหรือสิ่งกีดขวาง
สร้างเสริมความปลอดภัยแก่ประชาชนและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
เป็นการเตรียมรับมือและลดความเสียหายจากภัยพิบัติในปัจจุบัน และอนาคตที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
|
รายละเอียด : |
คณะกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์(TUTG) ขอเสนอให้มีแผนแม่บทระบบระบายน้ำให้เป็นวาระแห่งชาติ ไม่ว่ารัฐบาลชุดใดก็ขอให้เดินหน้าดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาของประเทศในหลักการ โดยยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติ กล่าวคือ
การบริหารจัดการน้ำที่สมบูรณ์แบบจากตอนเหนือของกทม.จนมาถึงทะเลต้องทำให้เป็นระบบเดียวกัน
ระบบการก่อสร้าง ควรทำเป็นเฟสร่วมกันโดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเป็นหน่วยงานเดียว
การป้องกันน้ำท่วมด้วยระบบอุโมงค์ใต้ดินเป็นการนำมวลน้ำออกสู่ทะเลได้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องผ่านชุมชน
ตัวอย่างระบบอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วมในต่างประเทศเช่น กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย ต้องเผชิญกับน้ำท่วมหนักทุกปีสร้างความเสียหายต่อประชาชนและเศรษฐกิจอย่างมาก ก็ได้สร้างอุโมงค์ใต้ดินระบายน้ำท่วม ที่เรียกว่า SMART (Stormwater Management and Road Tunnel) ระยะทางยาว 9.7 กิโลเมตร ซึ่งออกแบบเป็น 2 ชั้นบนใช้เป็นถนนและชั้นล่างเป็นทางระบายน้ำท่วม หากปริมาณน้ำท่วมมากก็จะปิดทางรถยนต์ เพื่อใช้พื้นที่ทั้งหมดระบายน้ำท่วม เมื่อเข้าภาวะปกติก็ล้างทำความสะอาดอุโมงค์และเปิดทางรถวิ่งต่อไป
กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วมหนักทางตอนเหนือของเกาะฮ่องกง โดยสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลพายุไซโคลนฤดูร้อนทำให้มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปี 2,200 มม. สูงที่สุดในชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อีกทั้งปัญหาการขยายตัวของเมืองทำให้พื้นผิวดินแออัดหนาแน่น ขาดพื้นที่รับน้ำจากพายุ รัฐบาลจึงได้ทำโครงการแผนแม่บทอุโมงค์ใต้ดินระบายน้ำ (Storm Water Drainage Master Plan) ซึ่งครอบคลุมย่านเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ Kennedy Town , Shek Tong Tsui, Sai Ying Pun, Sheung Wan, Central และ Wan Chai โดยฮ่องกงได้เริ่มก่อสร้างโครงการตั้งแต่ พ.ย. ปี 2007 และกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2012 โครงการประกอบด้วยการพัฒนาระบบอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน ทำอุโมงค์ Flood Storage ขนาดใหญ่ในฝั่งตะวันตกของเกาะฮ่องกงเพื่อสกัดกั้นน้ำแล้วสูบออกสู่ทะเล
ในเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาเคยประสบอุทกภัยน้ำท่วมที่มาจากทะเลสาบมิชิแกนอย่างรุนแรงมาตลอด 20 ปี ท่วมบ้านเรือน สนามบิน ผู้คนเสียชีวิต และเศรษฐกิจหยุดชะงัก ก็แก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยระบบอุโมงค์ใต้ดินระบายน้ำความยาวกว่า 174 กิโลเมตรและอ่างเก็บน้ำแก้มลิงขนาดใหญ่ (Chicago’s Tunnel and Reservoir Plan - TARP)
เช่นเดียวกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมหนักระดับเอวในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นด้วยโครงการที่เรียกว่า G-CANS หรือ Tokyo Flood Tunnel ก็ใช้อุโมงค์ใต้ดินระบายน้ำท่วมระยะทาง 64 กิโลเมตรและแก้มลิงใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้ประชาชนและเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพจาก wikalenda.com/
|
เงื่อนไข : |
วันและเวลา : 21-23 พฤษภาคม 2555
8.30 - 17.00 น.
|
|
แสดงความเป็นเจ้าของบทความ
คนเข้าดู : 3024
โหวต : 594
|
|
Google Map
|