1. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จ. กำแพงเพชร
ที่แห่งนี้ได้มีการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์ใหญ่ เจดีย์รวมด้านใต้แล้ว ปรากฏว่ามีลักษณะคล้ายแผนผังของวัดสระศรี ที่เมืองสุโขทัยเก่า แต่ลักษณะเจดีย์เป็นแบบกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งในโบราณสถานของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรซึ่งได้ถูกประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
2. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
ค้นพบโบราณวัตถุอยู่มากมาย สำรวจค้นพบแล้ว 134 แห่ง ที่สำคัญๆ ก็ได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง หรือวัดพระปรางค์ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าศรีสัชนาลัย ลงไปทางด้านใต้ประมาณ 3 กม. สิ่งสำคัญภายในวัด มีพระปรางค์องค์ใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้าง 22.50 เมตร ด้านหน้าพระปรางค์มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้มประตูเข้าองค์ปรางค์ ซึ่งมีพระปรางค์องค์เล็กตั้งอยู่กลางห้อง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
3. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ. สุโขทัย
ภายในกำแพงเมือง วัดมหาธาตุ เป็นวัดใหญ่อยู่กลางเมือง สร้างสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระเจดีย์ต่างๆ รวมถึง 200 องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 โดยภายในพื้นที่ยังมีโบราณสถานสำคัญที่น่าชมอีกมากมาย
4. อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา จ. อยุธยา
อยุธยา ตั้งอยู่ในภาคกลางของเมืองหลวงเก่า สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1893 โดยพระเจ้าอู่ทอง อ สมเด็จพระราคมธิบดีที่ 1 ในเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตัวเกาะเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ 3 สายคือ แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐาน
5. อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี
ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จากการขุดตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘ แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้
6. พระปฐมเจดีย์ จ. นครปฐม
พระปฐมเจดีย์ เป็นมหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย การได้ชื่อว่าพระปฐมเจีย์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระเจดีย์เก่ากว่าพระเจดีย์อื่นๆ ในประเทศสยาม พระปฐมเจดีย์ ภายในบรรจุพระเขี้ยวแก้ว องค์หนึ่ง บรรจุพระบรมธาตุ หนึ่งทะนาน มีปรากฎก่อนพบพระพุทธบาท พระพุทธฉาย กว่าพันปี
7. อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปแบบศิลปกรรมแบบบาปวนและนครวัดที่มีความงดงาม เชื่อว่าเป็นต้นแบบในการสร้างนครวัดในเขมร ปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย เป็นเมืองโบราณของภูมิภาค ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ไปทางที่ตั้งของเมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม ปราสาทหินพิมายมีแบบแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 ม.ยาว1,030 ม.ล้อมรอบด้วยคูน้ำมีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ
8. ปราสาทหินพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์
ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วในท้องที่ตำบลตาเป๊ก และเป็นโบราณสถานศิลปะลพบุรีที่มีความงดงามและมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีอายุการก่อสร้างและใช้เป็นเทวสถาน ต่อเนื่องกันมา หลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมหันมานับถือศาสนาลัทธิมหายาน
9. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จ. เพชรบุรี
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี หรือรู้จักกันในนาม เขาวัง เป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรี ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด ซึ่งเป็นโบราณสถานเก่าแก่ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 92 เมตร เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรีมาช้านาน สร้างขึ้นโดย พระบาทสมด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
10. เวียงกุมกาม จ. เชียงใหม่
เมืองโบราณอายุมากกว่า 727 ปี เป็นเมืองที่ พญาเม็งราย กษัตริย์แห่งโยนกนครได้สถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของล้านนา แต่เวียงกุมกาม ก็เป็นเมืองหลวงได้ไม่นานประมาณ 12 ปี เพราะสบภัยน้ำท่วม ลังจากนั้น เวียงกุมกาม ล่มสลายลง เพราะถูกน้ำท่วมครั้งใหญ่ น้ำไหลบากเอาดิน โคลนจากแม่น้ำปิงมาทับถมเมืองนี้ และถูกฟื้นฟู เป็นเวลาถึง 700 กว่าปี ทำให้ที่นี่มีความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งความรู้ในการศึกษาแบบแผนของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม