พระธาตุเรณูนคร มีลักษณะภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน ของมีค่า และเครื่องกฤธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมือง ภายในวัดพระธาตุเรณูนครนอกจากมีองค์พระธาตุเรณูนครแล้วยังมีพระพุทธรูปพระองค์แสนน้ำหนัก 1,200 กิโลกรัม หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สูง50เซนติเมตร ประกอบด้วยพุทธลักษณะสวยงามมาก ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์วัดพระธาตุเรณูนคร
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2460 เป็นพระธาตุคู่เมืองของชาวเรณูนคร โดยจำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม คือองค์ก่อนที่จะล้มในปี พ.ศ.2518 แต่มีขนาดเล็กกว่า สูง 35 เมตร กว้างด้านละ 8.37 เมตร ภายในเจดีย์บรรจุคัมภีร์พระธรรม พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน เพชรนิลจินดา หน่องา และของมีค่าที่เจ้าเมืองเรณูนคร กับประชาชนนำมาบริจาค และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2519 มีงานเทศกาลนมัสการพระธาตุเรณูนคร เป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 11 - 15 ค่ำ เดือน 4 รวม 5 วัน 5 คืน
สิ่งของบูชาพระธาตุ ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีเหลือง ธูป 15 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม มีจำหน่ายที่ศาลาใกล้องค์พระธาตุ และที่ศาลาแห่งนี้ยังมีห้องจำหน่ายวัตถุมงคลอีกด้วย เชื่อกันว่าผู้ที่ได้ไปนมัสการ จะได้อานิสงค์ส่งผลให้มีวรรณะงดงามผุดผ่องดังแสงจันทร์
ภายในโบสถ์ยังประดิษฐานพระองค์แสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคาศิลปะแบบลาว ปางสมาธิ พระคู่บ้านของอำเภอ พระองค์แสนพระพุทธรูปที่ประชาชนเคารพนับถือ ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดธาตุเรณูพระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลือง เนื้อทองตันทั้งองค์ หน้าตักกว้างและสูง 50 เซนติเมตร เป็นพระคู่บ้าน คู่เมือง สร้างก่อนที่จะสร้างพระธาตุเรณูในปี พ.ศ.2460 แผ่นทองที่นำมาหลอมเป็นองค์พระพุทธรูปได้มาจาก การบอกบุญขอบริจาคจากหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วเรณูนคร เมื่อนำมาหล่อรวมนั้น ในครั้งแรก หล่อไม่สำเร็จ ไม่ติดเบ้าพิมพ์ ต้องย้ายที่ไปหล่อใหม่จึงสำเร็จ แล้วอัญเชิญมาไว้ ณ อุโบสถหลังเก่าของวัดกลาง หรือวัดธาตุเรณู ในเวลาต่อมา เมื่อสร้างอุโบสถหลังใหม่แล้ว ก็อัญเชิญประดิษฐานอยู่ในอุโบสถหลังใหม่ของวัดเรณู อายุพระองค์แสนจึงมีอายุนานกว่า 100 ปีแล้ว
เหตุที่เรียกว่า พระองค์แสน เพราะว่ามีน้ำหนัก 10 หมื่น มาตราชั่งของชาวบ้านกำหนดว่า 12 กิโลกรัม เป็นหนึ่งหมื่น 10 หมื่น จึงเท่ากับหนึ่งแสนเท่ากับ 120 กิโลกรัม เท่ากับน้ำหนักขององค์พระทอง