พระพุทธรูปมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีสร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุธทรูปยืนมงคลเสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองยางมโหฬาร ปรากฎว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล พระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปสององค์ และพระพิมพ์กันทรวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคาระบูชาของชาวอำเภอกันทรวิชัย และชาวจังหวัดมหาสารคามทุกคน ไม่ว่าจะกราบไหว้ขอพร หรือบนบานศาลกล่าว ก็ได้สมใจนึกทุกประการ
ตำนานเรื่องเล่าของพระพุทธมงคล และพระพุทธมิ่งเมือง
พระพุทธรูปยืนสุวรรณาวาส อำเภอกันทรวิชัย มีเรื่องเล่าว่าถิ่นที่เป็นอำเภอกันทรวิชัยปัจจุบันนี้ เดิมเป็นเมืองชื่อ เมืองคันธาร์ธิราช มีเจ้าเมืองขอมปกครอง ต่อมาได้กลายเป็นเมืองน้างเจ้าเมืองคันธาร์ธิราชองค์สุดท้ายชื่อ ท้าวลินทองหรือสิงห์โตดำ ท้าวสิงโตดำมีนิสัยโหดร้ายและแย่งราชสมบัติจากบิดา โดยจับขังแลให้อดอาหารจนเสียชีวิต และสั่งให้ฆ่าพระมารดาที่พยายามแอบนำอาหารไปให้ ภายหลังท้าวสิงโตดำเมืองได้ครองเมืองแล้ว เกิดมีแต่ความร้อนรุ่มกระวนวาน โหรจึงแนะนำให้สร้างพระพุทธรูปเพื่อนล้างบาป ท้าวสิงโตดำจึงได้สร้างพระพุทธรูป ยืน 2 องค์ องค์หนึ่งอยู่กลางเมืองเพื่อระลึกถึงพระพุทธรูปยืนองค์ปัจจุบัน อยู่ใต้ต้นโพธิ์ในวัดพุทธมงคลบ้านสระ และเมื่อพรเจ้าสิงโตสิ้นชีวิตชาวบ้านได้นำไปฝังที่ป่านอนเมืองและสร้างพระนอกเหนือหลุมฝันศพ ปัจจุบันเรียกว่า ดอนพระนอน กล่าวกันว่า ผู้ใดพบเห็นพระนอนองค์นี้จะประสบโชคร้าย เนื่อจากกระแสแห่งความโหดร้ายของท้าวสิงโต ปัจจุบันนี้ไม่มีผู้พบเห็นพระนอนคงค์นี้อีกเลย