สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหารยอดนิยม
ร้านปะการัง-บางแสน ร้านปะการัง บางแสน
ริมทะเล บรรยากาศดียามเย็น อาหารอร่อยและสด มีที่จอดรถ...
ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู
ไส้กรอกอีสาน ไส้หมูบดผสมวุ้นเส้น ใช้เครื่องอย่างดี...
พรชัยขนมปัง พรชัยขนมปัง
ร้านขนมปัง ที่มีเมนูหลากหลาย ตั้งอยู่ที่ตลาดยอด พระนคร เมนูเ...
โกทิ-หัวหิน โกทิ หัวหิน
ร้านเก่าแก่คู่ อ.หัวหิน มากว่า 50 ปี ตรงข้ามตลาดโต้รุ่งหัวหิ...
อาม้า-เบเกอรี่ อาม้า เบเกอรี่
จำหน่ายขนมปังไส้ทุกชนิด เค้ก และคุกกี้ต่างๆ รับสั่งทำเค้ก อา...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   ศิลปะและวัฒนธรรม    >   วัดบางพระหลวงพ่อเปิ่น   >    นครปฐม
เจ้าของบทความ gplace    Share
วัดบางพระหลวงพ่อเปิ่น    ขื่อ : วัดบางพระหลวงพ่อเปิ่น

   

   ที่ตั้ง : วัดบางพระ เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120

   URL : http://gplace.com/วัดบางพระ-หลวงพ่อเปิ่น

   ประเภท :

   ราคา :

   เบอร์โทร : 034 389 333

  จุดเด่น :

วัดบางพระ - หลวงพ่อเปิ่น อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม


  รายละเอียด :

วัดบางพระ ชื่อเดิมคือ วัดปากคลองบางพระ สังกัดมหานิกายอยู่ในการปกครองคณะสงฆ์ ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่วัด 31 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา และธรณีสงฆ์ 22 ไร่ 2 งาน 19 ตารางวา


วัดบางพระ สร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ.2220 จัดอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างที่แน่ชัดเพราะคนในยุคนั้นมิได้มีการบันทึกกัน ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ในปัจจุบันก็คือภาพจิตกรรมฝาผนังภายในพระ อุโบสถหลังเดิมซึ่งกว้างประมาณ 4 วายาวประมาณ 8 วาหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ธรรมดาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางภายในพระอุโบสถหลังเดิมมีพระประธานเป็นพระ ปฏิมากรหินทรายแดงประทับนั่งปางมารวิชัยลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง 30 นิ้วชาว บ้านเรียกกันว่า”หลวงพ่อสิทธิมงคล”เป็นองค์ที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักเบื้อง หน้าพระประธานเป็นพระพุทธปฏิมาประทับนั่งปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 26 นิ้วและ ยังมีพระพุทธปฏิมาประทับนั่งทางด้านขวามือองค์พระประธาน๓องค์และทางด้านซ้าย มือองค์พระประธานอีก๓องค์มองกันตามแบบแล้วพระอุโบสถหลังเก่าของวัดบางพระ ช่างทรงคุณค่ายิ่งนักลักษณะทั่วไปก่ออิฐถือปูนหลังคาลด๒ชั้นประกอบด้วยช่อ ฟ้าใบระกาที่สำคัญคือหลังคาอันมุงด้วยกระเบื้องดินธรรมดากรมศิลปากรจัดให้ อยู่ในดินเผาสมัยอยุธยาตอนกลางพระประธานที่เป็นพระปฏิมากรหินทรายแดงจัดให้ อยู่ในสมัยอโยธยาสุพรรณภูมิ (อู่ทอง)


ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นภาพเก่าแก่เป็นผลให้ทราบถึงความเจริญ รุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาเป็นภาพเทพชุมนุมสลับกับอดีตขององค์พระพุทธเจ้ามี การปฏิสังขรณ์เมื่อสมัยรัชการที่ 4 คงมีการเขียนทับและแก้ไขเพียงเล็กน้อยแต่ พื้นกราวน์ดูเบื้องหลังยังคงใช้สีอ่อนมีดอกไม้ร่วงอันเป็นคติของอยุธยาภาพ ที่น่าสนใจอีกภาพหนึ่งก็คือ”ภาพมารผจญ”เป็นภาพที่พระพุทธเจ้าทรงจีวรแดง ประทับนิ่งบนดอกบัวแก้วแม่ธรณีบีบมวยผมนับเป็นศิลปะแบบเก่าที่น่าศึกษาเป็น อย่างยิ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางสีในภาพเขียนใช้เพียง 4 สี คือขาวดำแดงและเขียวใบแค


มาถึงช่วงตอนเจริญรุ่งเรืองอย่างสุดขีดของวัดบางพระในช่วงนั้นเมื่อเจ้าอธิการ หิ่มอินทโชโต เข้ามาปกครองวัดบางพระในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายที่ เหมือนกันของเจ้าอาวาสวัดบางพระทุกรูปคือจะเป็นพระนักปฏิบัติกัมมัฏฐานทรง ซึ่งคุณธรรมมีเมตตาธรรมสูงมากเมื่อมาถึงหลวงปู่หิ่มเป็นยุคที่วัดบางพระ เจริญอย่างยิ่งท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลและเป็นพระอุปัชฌาย์ นอกจากนี้แล้วหลวงปู่หิ่มยังสร้างพระพุทธบาทจำลองเพื่อช่วยเหลือในศรัทธาของ ชาวบ้านที่ใคร่จะไปนมัสการพระพุทธบาทจำลองณสถานที่ต่างๆที่อยู่ไกลต้องเสีย ค่าใช้จ่ายกันสูงพระพุทธบาทจำลองนี้มีขนาดกว้าง 1.10 เมตรยาว 4.20 เมตรสร้าง ด้วยโลหะทุกกลางเดือนสี่จะมีงานเทศกาลเพื่อให้ประชาชนชาวบ้านได้นมัสการปิด ทองกราบไหว้พระพุทธบาทจำลองสร้างเมื่อ พ.ศ.2469 นั้นเป็นไปในด้านวัตถุในด้าน ทางจิตใจในด้านทางสายวิชาแล้วหลวงปู่หิ่มนับเป็นหนึ่งในส่วนนี้ท่านเก่งใน ทางปรุงยาเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านได้อย่างน่าอัศจรรย์คนบ้าคนคลั่งหรือโรค มะเร็งเมื่อมาหาหลวงปู่หิ่มเพื่อให้ท่านรักษาหลวงปู่หิ่มจะให้คนปั้นหุ่นดิน เหนียวแทนตัวคนป่วยลงวันเดือนปีเกิดพร้อมด้วยเงินค่าครู๑สลึง(สมัยนั้น) แล้วท่านจะนั่งตรวจดูอาการคืนหนึ่งก่อน จึงจะปรุงยาให้ไปเมื่อคนไข้ได้รับยานั้นไปรับประทานแล้วจะหายแทบทุกราย


 


ในส่วนสายพระเวทด้านอักขระพระคาถาไม่เป็นที่เปิดเผยกันมากนักทราบเพียงแต่ว่า หลวงปู่หิ่มท่านสุดยอดในสายพระเวทคาถามีอะไรแปลกๆอยู่เสมอในส่วนการสักยันต์ นั้นหลวงพ่อเปิ่นท่านรับมาจากหลวงปู่หิ่มเต็มๆพ.ศ.2495 หลวงปู่หิ่มก็มรณภาพ ลงพ.ศ.2496-พ.ศ.2616 พระอธิการทองอยู่ ปทุมรัตน เป็นเจ้าอาวาสพ.ศ.2518-พ.ศ.2545 พระอุดมประชานาถ(หลวงพ่อเปิ่น) เป็นเจ้าอาวาส


ความเป็นมาของอุโบสถหลังเก่าของวัดบางพระนั้นไม่มีการบันทึกเอาไว้ว่าสร้างใน สมัยใดมีเพียงการคาดคะเนเอาตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันคำนวณเอาจาก อายุของเนื้อแท้ของถาวรวัตถุลักษณะโบสถ์เป็นแบบมหาอุตม์พื้นที่ภายในกำแพลง แก้วยกดินสูงมีสถูปเจดีย์ล้อมรอบสี่ด้านด้านหน้าหันออกสู่แม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน)ด้านหน้ามีเรือสำเภาก่ออิฐถือปูนกลางลำเรือก่อขึ้นไปเป็นเจดีย์เป็น การบ่งให้ทราบว่าแถบถิ่นแถวนี้มีการค้าขายกันทางเรือเมื่อชุมชนขยายผู้คน เข้ามาอาศัยกันมากขึ้นล่วงมาจนหลวงปู่หิ่มท่านเล็งเห็นว่าอุโบสถหลังเก่า นั้นเล็กเกินไปเมื่อทำสังฆกรรมจึงไม่ค่อยสะดวกไม่พอที่จะรองรับญาติโยมเป็น จำนวนมากและสภาพของโบสถ์นั้นก็ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาโบสถ์หลังใหม่ของ วัดบางพระจึงกำเนิดขึ้นมาในสมัยนั้นในการสร้างโบสถ์หลังใหม่นั้นท่านได้ เกณฑ์พระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านมาช่วยกันทำโดยการชักลากไม้ในป่าแถวนั้นเล่ากัน ต่อๆมาว่าพื้นที่แถบนั้นยังเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยต้นไม้และสัตว์ ป่านานาชนิดโดยมีชาวบ้านมาช่วยกันอย่างมืดฟ้ามัวดินทั้งนี้เป็นเพราะบุญ บารมีของหลวงปู่หิ่มนั่นเองโบสถ์หลังใหม่ที่หลวงปู่หิ่มสร้างใหม่นั้นค่อน ข้างใหญ่โตในละแวกคุ้งน้ำนครชัยศรีนับ เนื่องแล้วเวลานั้นถือเป็นหนึ่งได้ทีเดียวเสาที่สร้างโบสถ์เป็นไม้ขนาดใหญ่ ส่วนเพดานโบสถ์ปูด้วยแผ่นไม้กระดานทั้งหมดภายในอุโบสถประดิษฐานหลวงพ่อโต (พระประธาน) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมารหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปที่ ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมากในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยปรากฏว่ามีคนเห็น องค์หลวงพ่อโตมีน้ำตาไหลออกมาจากพระเนตรทั้งสอง สาธุชนที่เข้าบนบานต่อองค์ หลวงพ่อโตมักจะประสบผลสำเร็จในทุกอย่างการบนบานหลวงพ่อโตท่านชอบว่าวจุฬา และประทัด


หลวงปู่หิ่มสร้างโบสถ์หลังใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2470 จนกระทั่งล่วงมาถึงยุคสมัย ของหลวงพ่อเปิ่นปกครองวัดบางพระศาสนวัตถุเริ่มทรุดโทรมลงไปโบสถ์ที่ทำสังฆกรรมซึ่งทำมาจากไม้เริ่มผุกร่อนเพดานโบสถ์หักพังมีรูรั่วอยู่ทั่วไปฝน ตกลงมาพระภิกษุสงฆ์ทำสังฆกรรมไม่สะดวกได้รับความเดือดร้อนกันมากจึงเริ่มที่ จะทำการบูรณะกันใหม่เปลี่ยนจากเสาไม้มาเป็นเสาปูนเพดานก็เทคานพื้นเพดานเท ปูนทั้งหมดเพื่อความคงทนในการบูรณะนั้นค่อนข้างจะเป็นงานใหญ่เพราะต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมากช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจไม่ดีร้านค้าบริษัทโรงงานได้ปิดกิจการเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังหลวงพ่อเปิ่นในสมันนั้นยังไม่ค่อยมีชื่อเสียง มากมายสักเท่าไหร่ถนนหนทางที่เข้าไปยังวัดบางพระยังขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อพอ ฝนตกลงมาสภาพถนนกลายเป็นโคลนตมสาธุชนที่เข้าไปในวัดบางพระในเวลานั้นเข้าไป ด้วยพลังศรัทธาอันสูงส่งต่อหลวงพ่อเปิ่นเข้ากราบด้วยศรัทธาอันใสบริสุทธิ์ บุญบารมีของหลวงพ่อเปิ่นในการจรรโลงพระศาสนาในการสร้างศาสนวัตถุแม้ท่านจะ ลำบากตรากตรำทำงานหนักเพียงใดท่านไม่เคยบ่นหรือย่อท้อยิ้มแย้มแจ่มใสเต็มไปด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่งเมตตาธรรมที่ท่านมอบให้กับสาธุชนที่เข้ากราบสาธุชน ที่เดือดร้อนทุกข์ยากพระเครื่องเหรียญวัตถุมงคลที่ท่านมอบให้ไปนั้นเกิดเป็น ประสบการณ์อย่างมากมายจนถึงปัจจุบันต่างยอมรับกันว่าหลวงพ่อเปิ่นท่านเป็นพระแท้ที่สร้างสมบารมีด้วยการพัฒนาจนลือเลื่องยอมรับกันไปทั่วทั้งในประเทศ และต่างประเทศในเวลานี้


ในปัจจุบัน ท่านพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพระ ซึ่งท่านก็ได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อจากหลวงพ่อเปิ่นได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง


 


ลำดับเจ้าอาวาส


รูปที่ ๑ ฯลฯ พ.ศ. ถึง พ.ศ. (ไม่ปรากฏข้อมูล)


รูปที่ ๒ ฯลฯ พ.ศ. ถึงพ.ศ (ไม่ปรากฏข้อมูล)


รูปที่ ๓ พระอธิการเฒ่า พ.ศ.๒๓๓๐ ถึง พ.ศ.๒๓๗๙


รูปที่ ๔ พระอธิการวัชร์ พ.ศ.๒๓๘๐ ถึง พ.ศ.๒๔๑๙


รูปที่ ๕ พระอธิการแพ พ.ศ.๒๔๒๐ ถึง พ.ศ.๒๔๔๐


รูปที่ ๖ เจ้าอธิการหิ่ม อินฺทโชโต พ.ศ.๒๔๔๑ ถึง พ.ศ.๒๔๙๕


รูปที่ ๗ พระอธิการอยู่ปทุมรัตน พ.ศ.๒๔๙๖ ถึง พ.ศ.๒๕๑๖


รูปที่ ๘ พระอุดมประชานาถ (เปิ่น ฐิตคุโน) พ.ศ.๒๕๑๗ ถึง พ.ศ.๒๕๔๕


รูปที่ ๙ พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (สำอางค์ ปภสฺสโร) พ.ศ.๒๕๔๕ ถึงปัจจุบัน


 


วัดบางพระสังกัดมหานิกาย อยู่ในการปกครองคณะสงฆ์ตำบลวัดละมุด(วัดศรีมหาโพธิ์) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ภาค 14


 


  เงื่อนไข :

แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 332 โหวต : 594
Google Map

ประวัติการเข้าชม
เกาะจุฬาจันทบุรี


ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว นครปฐม *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   พิพิธภัณฑ์รถเก่าเจษฎาเทคนิคมิวเซียม  (2156)
   วัดไร่ขิง  (4330)
   พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย  (5684)
   สวนสามพราน  (6001)
   พระตำหนักทับขวัญ  (5192)
   พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์  (4087)
   เมืองมายาหอภาพยนต์ไทยThaiFilmMuseum  (3023)
   พระที่นั่งวัชรีรมยา  (4549)
   พระร่วงโรจนฤทธิ์  (5011)
   ข้าวตังบ้านศาลาดิน  (2084)
   พระที่นั่งพิมานปฐม  (4402)
   ตลาดดอนหวาย  (12767)
   พระตำหนักทับแก้ว  (4525)
   วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร  (2648)
   พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก  (2842)
   พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์  (4243)
   เทวาลัยคเณศร์  (4614)
   พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์  (5266)
   อนุสาวรีย์ย่าเหล  (4395)
   พระราชวังสนามจันทร์  (6321)
ร้านอาหาร
   ลูกชิ้นปลานายเงี๊ยบ-สาขาพุทธมณฑลสาย4  (5820)
   แพ-13-น้ำ  (4544)
   snowiceplazabypp  (2)
   บ้านสวนพุด  (5012)
   เป็ดพะโล้เจียมจันทร์  (2189)
   แพอาหารศรีวิชัย  (5147)
   ชมเฌย  (2012)
   ร้านLittleTree  (2677)
   ซินฮะเส็งข้าวหมูแดง  (3550)
   ตั้งฮะเส็งร้านเก่า  (3071)
   แอนซีฟู้ดหัวปลาหม้อไฟ  (2266)
   ลุงลอยป่าลั่น  (5187)
   ร้านอาหารบ้านสวนพุด  (5341)
   เรือนน้ำอลิษา  (5847)
   แพริมน้ำชวัลนครปฐม  (3393)
   แพริมน้ำชวัล  (4400)
   ส้มแก้ว  (5883)
   HANGARCafé  (2095)
   ณัทพงศ์โภชนา  (3890)
ที่พัก
   เรือนไม้-ชายน้ำ  (7710)
   โรงแรมโรสการ์เด้น-ริเวอร์ไซด์  (6027)
   โรงแรมเวลนครปฐม  (6888)
ของฝาก
เทศกาล
   เทศกาลสงกรานต์ตลาดบางหลวง  (3068)
   งานพระราชวังสวย-กล้วยไม้งานนครปฐม  (2954)
   งานมหกรรมสัตว์เลี้ยงแห่งประเทศไทย  (4115)
   งานส้มโอมณฑลนครชัยศรี-จังหวัดนครปฐม-ครั้งที่-13  (3623)
   เทศกาลสงกรานต์สืบสานวัฒนธรรมไทย  (3163)
   งานแข่งขันเรือยาวประเพณี-วัดบางพระ-สนามจังหวัดนครปฐม  (5939)
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)