กระบวนพยุหยาตราชลมารค
กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ
โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยาเรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือ เป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัด
กระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง
ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา
ประเภท ของการเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี)
และ การเห่เรือเล่น (การเห่เรือเล่นของชาวบ้านในงานต่างๆ) ในปัจจุบันการเห่เรือ ยังคงอยู่เฉพาะ การเห่เรือหลวง
ที่ใช้ใน กระบวนพยุหยาตราชลมารค
ประวัติสมัยเริ่มแรกของกระบวนเรือ
กระบวน พยุหยาตราชลมารค ในการแห่พระกฐินในอดีต หน้าวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารการเสด็จทางน้ำ
ที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค นั้นมีหลักฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ปรากฏไว้ว่า พระร่วงเจ้า
(พระมหาธรรมราชา ๑) ทรงใช้เรือออกลอยกระทง หรือพิธีจองเปรียง ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟ
ในยามคืนเพ็ญเดือนสิบสอง
ในยุค กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามพงศาวดารได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรเมื่อคราวเสด็จไปตีเมือง
เมาะตะมะ เสด็จพระราชดำเนินจากกรุงศรีอยุธยาโดยชลมารค พอได้เวลาฤกษ์ พระโหราราชครูอธิบดีศรีทิชาจารย์
ก็ลั่นกลองฆ้องชัยให้พายเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ อันเป็นเรือทรงพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณ
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุถวายพระนามสมญา “พระพิชัย” นำกระบวนออกไปก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคลครั้นใน
สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ซึ่งตัวเกาะกรุงนั้นเป็นเกาะที่ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลอง ชีวิตผูกพันกับสายน้ำ
จึงปรากฏการสร้างเรือรบมากมายในกรุงศรีอยุธยา ยามบ้านเมืองสุขสงบ ชาวกรุงศรีอยุธยาก็หันมาเล่นเพลงเรือ
แข่งเรือเป็นเรื่องเอิกเกริก โดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม เมื่อจะเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ
หรือเสด็จฯไปทอดผ้ากฐินยังวัดวาอาราม ก็มักจะใช้เรือรบโบราณเหล่านั้นจัดเป็นกระบวนเรือยิ่งใหญ่ ดังนั้น
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีกระบวนเรือเพชรพวง ซึ่งเป็นเรือริ้วกระบวนที่ใหญ่มาก จัดออกเป็น ๔ สาย
แร้วเรือพระที่นั่งตรงกลางอีก ๑ สาย ใช้เรือทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลำ ระหว่าง การเคลื่อนกระบวนก็มีการเห่เรือ
พร้อมเครื่องประโคม จนเกิดวรรณกรรมร้อยกรองที่ไพเราะยิ่ง คือ กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์
หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งบรรยายถึงความงดงาม
และลักษณะของเรือในกระบวนครั้งนั้น และบทเห่เรือนี้ยังเป็นแม่แบบของกาพย์เห่เรือที่ใช้กันในปัจจุบัน
ด้วย เหตุที่สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับ
ประเทศต่างๆมากมาย ทั้งทรงสร้างเมืองลพบุรีขึ้น จึงมีการเสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค และในบาง
โอกาสก็โปรดเกล้าฯให้จัดกระบวนเรือหลวงออกรับคณะราชทูต และแห่พระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔
แห่งประเทศฝรั่งเศสจากกรุงศรีอยุธยา มายังเมืองลพบุรี
ในช่วงปี พ.ศ. 2199-2231 ปรากฏหลักฐานว่า เมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปยังหัวเมืองต่างๆ
มีการจัดกระบวนพยุหยาตราฯที่เรียกว่า “ขบวนเพชรพวง” เป็นริ้วกระบวนยิ่งใหญ่ 4 สาย พร้อมริ้วเรือพระที่นั่ง
ตรงกลางอีก 1 สาย มีเรือทั้งสิ้นไม่ตำกว่า 100 ลำ ซึ่งนับเป็นกระบวนพยุหยาตราฯ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
และนับเป็นต้นแบบสำคัญของกระบวนพยุหยาตราฯ ในสมัยต่อๆ มา
การ จัดการกระบวนพยุหยาตรลมารค ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่กล่าวมานี้ จัดได้ว่าเป็นริ้วกระบวนใหญ่
แสดงความมั่งคั่งโอ่อ่า ของราชสำนักไทยในครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับริ้วกระบวนเรือในสมัย
ต่อมาจะพบว่าค่อยๆ ตัดทอนลงไปเรื่อยๆ เพราะเรือชำรุดไปตามกาลเวลาบ้าง ไม่มีผู้รู้จักทำขึ้นใหม่ให้ถูกต้อง
ตามแผนโบราณบ้างจึงเหลืออยู่เท่าที่พอจะ รักษาไว้ได้เท่านั้น