สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหาร Delivery
mk-gold-บุฟเฟ่ต์ mk gold บุฟเฟ่ต์
สุกกี้เอ็มเค + ติ๋มซำ บุฟเฟ่ต์ มีกว่า 90 รายการอาหาร ภายใน 1...
pizza-company pizza company
สั่งซื้อ Pizza Company ทางอินเตอร์เน๊ต ง่ายมากเพียงแค่คลิ๊กท...
โออิชิ-เดลิเวอรี่ โออิชิ เดลิเวอรี่
โออิชิ เดลิเวอรี่...
ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง ห้องอาหารฮั่วเซ่งฮง
ฮั่วเซ่งฮง ภัตตาคารจีน เปิดบริการมายาวนานกว่า 35 ปี...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   ศิลปะและวัฒนธรรม    >   วัดเวฬุวันมหาวิหาร   >   
เจ้าของบทความ gplace    Share
วัดเวฬุวันมหาวิหาร    ขื่อ : วัดเวฬุวันมหาวิหาร

   

   ที่ตั้ง : Nimal, ราชคฤห์ เขตนาลันทา รัฐพิหาร อันเดีย 803116

   URL : http://gplace.com/วัดเวฬุวันมหาวิหาร

   ประเภท :

  จุดเด่น :

วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา


ลานจาตุรงคสันนิบาต สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่พระพุทธองค์แสดงพระโอวาทปาติโมกข์ อันเป็นการกำเนิดวันมาฆบูชา


  รายละเอียด :

วัดหรือสวนเวฬุวัน คือ วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) 


ผู้แสวงบุญนิยมไปยัง "ลานจาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นลานเล็กๆ มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่กลางซุ้ม ลานนี้สันนิษฐานว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในวันมาฆบูชา พระสาวกจำนวน 1,250 รูป หลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน


ปัจจุบันลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป เป็นลานกว้างลานเดียวในบริเวณวัดที่ไม่มีโบราณสถานอื่นตั้งอยู่ โดยนำพระพุทธรูปยืนปางประทานพรไปประดิษฐานไว้บริเวณซุ้มเล็กๆ กลางลาน ที่ลานนี้ พระมหาน้อย (ดร.พระมหาปรีชา กตปุญโญ) พระธรรมทูตอาสาแห่งวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ประเทศอินเดีย และเป็นพระธรรมวิทยากรนำบรรยายเกี่ยวกับพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบล นำคณะจาริกบุญไทยเข้าสวดมนต์ภาวนาที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร นี้


ในสมัยพุทธกาล สวนป่าไผ่สถานที่อยู่ของกระรอก กระแต นั้น พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ถวายพระราชอุทยานให้เป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา ปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์ไว้จากทางการอินเดีย อยู่ที่กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย เมืองบาป เมืองที่ถูกทิ้งร้างไป ด้วยเหตุแห่งปิตุฆาต หลายชั่วอายุคน


หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน


วัดเวฬุวันแห่งนี้ได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันกว่าพันปี


แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70 ที่เริ่มจากอำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสารออกจากพระราชบัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จากเมืองเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร ทำให้เมืองราชคฤห์ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดเวฬุวันขาดผู้อุปถัมภ์และถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา


โดยปรากฏหลักฐานบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี พ.ศ. 942 - 947 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ (พระเจ้าวิกรมาทิตย์) แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า เมืองราชคฤห์อยู่ในสภาพปรักหักพัง แต่ยังทันได้เห็นมูลคันธกุฎีวัดเวฬุวันปรากฏอยู่ และยังคงมีพระภิกษุหลายรูปช่วยกันดูแลรักษาปัดกวาดอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงสถานที่เกิดเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตแต่ประการใด


แต่หลังจากนั้นประมาณ 200 ปี วัดเวฬุวันก็ถูกทิ้งร้างไป ตามบันทึกของพระถังซำจั๋ง (Hiuen-Tsang) ​ซึ่งได้จาริกมาเมืองราชคฤห์ราวปี พ.ศ. 1300 ซึ่งท่านบันทึกไว้แต่เพียงว่า ท่านได้เห็นแต่เพียงซากมูลคันธกุฎีซึ่งมีกำแพงและอิฐล้อมรอบอยู่เท่านั้น (ในสมัยนั้นเมืองราชคฤห์โรยราถึงที่สุดแล้ว พระถังซำจั๋งได้แต่เพียงจดตำแหน่งที่ตั้งทิศทางระยะทางของสถูปและโบราณสถานเก่าแก่อื่น ๆ ในเมืองราชคฤห์ไว้มาก ทำให้เป็นประโยชน์แก่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในการค้นหาโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองราชคฤห์ในปัจจุบัน)


  เงื่อนไข :

"ลานจาตุรงคสันนิบาต" ซุ้มพระพุทธรูปกลางลานนี้ เป็นจุด 1ใน 2 แห่งของกรุงราชคฤห์ ที่ผู้แสวงบุญนิยมไปสักการะ 1 ใน 2 แห่งของกรุงราชคฤห์ อีกจุดหนึ่งคือ พระมูลคันธกุฎี บนยอดเขาคิชฌกูฏ


แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 1354 โหวต : 594
Google Map



ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   เจดีย์บ้านนางสุชาดา  (1236)
   ชีวกัมพวัน  (1317)
   วิทยาลันนาลันทา  (1342)
   วัดไทยไวสาลีอินเดีย  (1333)
   วัดไทยนาลันทา  (1664)
   วัดเวฬุวันมหาวิหาร  (1354)
   สถูปพระเจ้าอชาติศัตรู  (1268)
   วัดไทยพุทธคยา  (1295)
   วัดญี่ปุ่นพุทธคยา  (1313)
   กูฏาคารศาลาวัดป่ามหาวันไวสาลี  (1477)
   วัดไทยสิริราชคฤห์  (1541)
   ปาวาลเจดีย์BuddhasRelicStupa  (1383)
   หลวงพ่อองค์ดำ  (1559)
   เขาคิชฌกูฏราชคฤห์  (1202)
   วัดไทยสะสาราม  (1385)
   วัดไทยพุทธภูมิWatThaiBuddhabhumi  (1319)
ร้านอาหาร
ที่พัก
ของฝาก
เทศกาล
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)