จุดเด่น : |
ความแปลกโดดเด่นของศาลหลักเมืองอยุธยานี้ เห็นจะอยู่ตรงที่มีถึง 2 หลักด้วยกัน โดยเสาหลักแรกสร้างขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1) โปรดเกล้าให้ทำพิธียกเสาหลักเมืองสถาปนาพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.45 นาฬิกา ซึ่งใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง โดยประกอบด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง 75 ซ. สูง 27 ซม. และกำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 10 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง เรียกได้ว่าเสาหลักเมืองนี้เป็นสิ่งก่อสร้างอันศักดิ์สิทธิ์แรกๆ ที่อยู่คู่กับพระนคร
|
รายละเอียด : |
การสร้างหลักเมืองตามประเพณีโบราณที่นิยมสร้างหลักเมืองไว้ เป็นมิ่งขวัญ เป็นนิมิตมงคล สำหรับให้รู้ว่าหลักบ้านหลักเมืองมีอยู่ที่ไหน บ้านเมืองนั้นย่อมร่มเย็นเป็นสุข หลักเมืองต้องฝังไว้ในย่านกลางเมือง หรือในทำเลที่เป็นชัยภูมิ ตามทิศทางของเมือง และในสมัยโบราณนั้นเมืองเอกหรือเมืองชั้นราชธานี ย่อมมีฝังหลักเมืองไว้เป็นนิมิตมงคลสำหรับเมืองทุกเมือง
จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ประธานชมรมสยามทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ได้พูดถึงการสร้างเสาหลักเมืองว่า คนสมัยก่อนจะถือเรื่องขวัญ ถือเรื่องของสิ่งที่จะเป็นหลักที่มั่นคง สังเกตได้ว่าจะทำการอะไรก็ต้องปักหลัก ปักฐาน ซึ่งเมืองก็เช่นเดียวกันเมื่อจะตั้งเมืองก็ต้องทำอะไรให้เป็นสัญลักษณ์เหมือนกันว่าจะทำเครื่องหมายตรงนี้ ก็จะปักหลักลงไป ซึ่งการปักหลักก็ต้องใช้สิ่งที่เห็นได้ชัด จะเอาก้อนหินวางก็กระไรอยู่ จึงต้องใช้เป็นเสา โดยนิยมใช้ต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลเอามาทำเป็นหลัก อย่างไม้ชัยพฤษ์ ชื่อเป็นมงคลดูน่าเกรงขาม
ส่วนเรื่องที่มีความเชื่อกันว่าเมื่อจะสร้างเสาหลักเมืองจะต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ พิธีฝังเสาหลักเมือง ด้วยการจับคน 4 คนฝังลงไปในหลุมทั้งเป็น เพื่อให้วิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าประตูเมือง เฝ้าปราสาท คอยคุ้มครองบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บมิให้เกิดแก่คนในนคร ซึ่งเรื่องเล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล่าสืบต่อกันมา ไม่มีบันทึกในพงศาวดาร
|
เงื่อนไข : |
|
|
แสดงความเป็นเจ้าของบทความ
คนเข้าดู : 5091
โหวต : 594
|
|
Google Map
|