สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปงานเทศกาล

แสดงบทความทั้งหมด
เทศกาลประจำปี
ข่าวประชาสัมพันธ์
5 ร้านอาหารยอดนิยม
ร้านปะการัง-บางแสน ร้านปะการัง บางแสน
ริมทะเล บรรยากาศดียามเย็น อาหารอร่อยและสด มีที่จอดรถ...
ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู
ไส้กรอกอีสาน ไส้หมูบดผสมวุ้นเส้น ใช้เครื่องอย่างดี...
พรชัยขนมปัง พรชัยขนมปัง
ร้านขนมปัง ที่มีเมนูหลากหลาย ตั้งอยู่ที่ตลาดยอด พระนคร เมนูเ...
โกทิ-หัวหิน โกทิ หัวหิน
ร้านเก่าแก่คู่ อ.หัวหิน มากว่า 50 ปี ตรงข้ามตลาดโต้รุ่งหัวหิ...
อาม้า-เบเกอรี่ อาม้า เบเกอรี่
จำหน่ายขนมปังไส้ทุกชนิด เค้ก และคุกกี้ต่างๆ รับสั่งทำเค้ก อา...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2553   >    สมุทรปราการ
เจ้าของบทความ nongview    Share
งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2553    ขื่อ : งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2553

   

   ที่ตั้ง : วัดบางพลีใหญ่ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

   URL : http://www.thai-tour.com/attraction/บางพลี/

   ประเภท : เทศกาลประจำปี

   ราคา : ฟรี

   เบอร์โทร :

  จุดเด่น :

ตักบาตรพระทางน้ำ แห่องค์หลวงพ่อโต การประดับตกแต่งขบวนเรือ แข่งเรือ ประกวดร้องเพลง มวยทะเล จำหน่ายอาหาร และสินค้าต่างๆ

19 ต.ค. 2553 - 22 ต.ค. 2553 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
 


  รายละเอียด :

ชาวจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับชุมชนบางพลีจัดงานประเพณีรับบัวประจำปี 2553 เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและกิจกรรมด้านพุทธศาสนาช่วง วันออกพรรษา ในระหว่างวันที่ 19 ต.ค. 2553 - 22 ต.ค. 2553 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ประวัติงานประเพณีรับบัว

ประเพณีรับบัวนี้ เป็นประเพณีที่เก่าแก่กันมาแต่โบราณ
ของชาวบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
 
ความเป็นมาของประเพณีดังกล่าวนี้
ประเพณีรับบัว เปรียบเสมือนสายใยแห่งความกลมเกลียว อันเป็นหนึ่งใจเดียวกันเสมอเพื่อนญาติ ระหว่างชาวไทย ชาวลาว ชาวรามัญ ที่พำนักอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มบารมีศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต ณ อำเภอบางพลี สมุทรปราการ หล่อหลวมจิตวิญญาณ ของมิตรไมตรีเข้าไว้ด้วยกัน อย่างแน่นแฟ้น เพื่อกลายเป็นมิ่งมงคลแห่งชีวิตสืบต่อมาช้านาน
ก่อกำเนิดสายน้ำสายแห่งชีวีสู่ประเพณีรับบัว ในครั้งอดีต ณ อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ มีชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ตั้งถิ่นฐานพำนักอยู่โดยแบ่งเป็น ชาวไทย ชาวลาว ชาวรามัญ ซึ่งประกอบสัมมาอาชีพแตกต่างกันออกไป ครึ่งหนึ่งได้ร่วมปรึกษาหารือ และมีความเห็นพ้องต้องกันว่าจะร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาพื้นที่รกร้าง เต็มไปด้วยป่ารกนี้ เพื่อใช้ประโยชน์ทำการเกษตร กล่าวคือในขณะนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลำคลอง ล้วนรายรอบไปด้วย พงล้อ กอแขม และวัชพืชนานาพันธ์ อีดทั้งยังมีบรรดาสัตว์ อันตราย ในละแวกใกล้เคียงอีกด้วย ส่วนทางทิศใต้นั้นมีปาแสมล้อมรอบน้ำมีสภาพเป็นน้ำเค็มและส่วนทางทิศเหนือประกอบด้วยบึงใหญ่ที่มีบัวหลวงงอกงาม หนาแน่น อยู่ทั่วบริเวณ
 
ชาวไทย ชาวลาว และชาวรามัญ จึงลงแรงร่วมใจ พัฒนาผืนดินบริเวณนั้นอย่างแข็งแรงเรื่อยมาจนกระทั่ง มาบรรจบ ทางสามแยก คือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ประกอบด้วยปากน้ำลำคลอง 3 สาย คือ คลองสลุด คลองชวดลาดข้าว และคลองลาดกระบัง ทั้ง 3 ฝ่าย จึงกระทำการตกลง และมีความเห็นว่า จะแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพ ตามลำคลองทั้ง 3 สายนี้ ด้วยประสงค์จะทดลองเพื่อไม่รู้ถึงภูมิประเทศทั้งหมดว่า ที่ใด ทิศทางใด จะเหมาะสมสำหรับประกอบอาชีพ ทั้งด้านการขาย และเกษตรกรรมมากกว่ากัน จึงแยกย้ายกันไปดังนี้
ชาวไทยไปตามคลองชวดลาดข้าว ชาวลาวไปตามคลองสลุด และสุดท้ายชาวรามัญตามคลองลาดกระบัง
 
จนกระทั่งระยะเวลา 2 - 3 ปี ถัดมา ชาวรามัญที่แยกไปประกอบอาชีพ ณ คลองลาดกระบัง เริ่มมีรายได้และผลผลิตที่ตกต่ำ เนื่องจากประสบปัญหาศัตรูพืช จำพวกนก และหนูชุมชน เข้ามาทำลายพืช สวนไร่ นา บังเกิด ความเสียหาย เป็นอันมาก จึงตัดสินใจที่จะอพยพโยกย้ายกลับถิ่นฐานเดิม คือฝั่งบ้านปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีกำหนดการเดินทางในช่วง ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ พร้อมกันได้ชักชวนกันเก็บดอกบัวหลวงในบึงบริเวณใกล้เคียงเป็นจำนวนมากมาย เพื่อนเตรียมนำไปบูชาพระคาถาพัน ณ จุดหมายปลายทาง พร้อมกับได้บอกความปรารถนาต่อชาวไทยที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นอย่างดีว่า เมื่อถึง ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ในปีต่อ ไปนั้น ขอให้ชาวไทยทั้งหลายช่วยกัน รวบรวมเก็บเอาดอกบัวหลวงไปไว้ ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) พร้อมมอบให้กับพวกตน (ชาวรามัญ) เพื่อนำไปเป็นดอกไม้สำหรับเป็นพุทธรูปในวันออกพรรษา ต่อไปด้วยน้ำใจไมตรี ของชาวไทย ที่มีต่อชาวรามัญเสมอมา จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะกระทำตามที่ชาวรามัญได้ร้องขอไว้ หลังจากนั้นชาวรามัญ จึงได้พากันกราบนมัสการหลวงพ่อโต อีกทั้งยังอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ติดตัวด้วยเพื่อ ความเป็นสิริมงคล แล้วจึงได้ลากลับบ้านปากลัดเพื่อนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาต่อไป
 
ในปีต่อมาเมื่อครบกำหนดวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ อีกครั้งชาวไทยจึงได้ช่วยกันเก็บรวบรวมดอกบัวหลวงมาไว้ ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) ตามสัญญาที่ได้ให้ไว้กับชาวรามัญ ซึ่งชาวรามัญได้เดินทางมารับดอกบัวเหล่านั้นในเวลา 3.00 - 4.00 นาฬิกา ทุกครั้ง ด้วยการโดยสารเรือขนาดใหญ่จำนวนหลายสิบลำ ซึ่งแต่ละลำสาสามารถบรรจุคนได้ถึง 50-60 คน และทุกครั้งที่เดินทางมานั้นชาวรามัญพร้อมใจกัน ส่งเสียงร้องรำทำเพลงล่องมาตามลำน้ำ เพื่อความคลื้นเครงสนุกสนานตลอดเส้นทาง แสดงถึงไมตรีจิตและมิตรภาพที่มอบให้กันเสมอมาพร้อมกันนี้ชาวไทยจึงได้จัดเตรียมสำรับคาวหวาน นานา ไว้รับรองอย่างเพียบพร้อม เมื่ออิ่มนำสำราญกันครบถ้วนแล้วชาวรามัญจึงนำดอกบัวหลวงไปบูชาหลวงพ่อโต ในวิหารของวัด และอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์กลับไปยังบ้านเรือของตนเพื่อความเป็นสิริมงคล และนำดอกบัวอีกส่วนหนึ่งกลับไปบูชาพระคาถาพัน ณวัดของพวกตนเองต่อไป และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นประวัติความเป็นมาของประเพณีรับบัว ประเพณีอันดีงามที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างช้านาน
 
พิธีแห่หลวงพ่อโต เสริมมงคลให้ชีวิต พิธีการแห่ หลวงพ่อโต เมื่อครั้งอดีตในราวปี พศ. ๒๔๖๗ นางจันกับญาติธรรมบางส่วน ด้วยกุศลจิตอันดีงามได่ร่วมใจ กันสร้างพระปฐมเจดีย์ ขึ้น ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงจัดให้มีการฉลององค์พระปฐมเจดีย์ขึ้น ณ วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงจัดให้มีการฉลององค์พระปฐมเจดีย์โดยผ้าครององค์พระปฐมเจดีย์นี้ไปตามลำน้ำ พร้อมีมหรสพสมโภช ในยามค่ำคืน อย่างครื้นเครง พิธีนี้กระทำสืบเนื้องได้สัก 2- 3 ปี จึงได้หยุดไปด้วย เหตุใดไม่ปรากฎแน่บัดตั้งแต่ในกาล ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นการแห่รูปภาพจำลอง หลวงพ่อโต ขึ้นแทนโดยความอนุโมทนาธรรมของท่านสมภาพกุ่ย และนายฉาย งามขำ เป็นประธาน ฝ่ายชาวบ้านทั้งหลายในท้องถิ่นนั้นพิธีดังกล่าวจัดมาจนกระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ จึงได้จัดทำรูปหล่อองค์หลวงพ่อโต ซึ่งสร้างด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาทาบด้วยสีทอง แล้วนำมาแห่แทนแบบเดิม พร้อมจัดมหรสพเฉลิมฉลอง กันอย่างสนุกสนาน ต่อมาในปี ๒๔๘๗ สมัยพระครูพิศาล สมณวัตตต์ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) พร้อมด้วย พระครูวุฒิธรรมสุนทร ตำแหน่งรองเจ้าอาวาส ได้จัดให้ทำการหล่อรูปจำลอง หลวงพ่อโตขึ้นประเพณีรับบัว จะสืบเนื่องความสนุกสนานครึกครื้นเรื่อยมา โดยมีการละเล่นต่าง ๆ เพิ่มมาขึ้น เป็นการแข่งเรือพาย ชิงด้วยรางวัล การประกวดเรือประเภทสวยงาม ประเภทความคิดสร้างสรรค์และประเภทคลก ขบขัน การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านต่าง ๆ พร้อมมหรสพสมโภช อันน่าตื่นตาใจมากมาย และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ล่วงไปถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ นับเป็นเวลา 4 วัน
 
ทั้งนี้ ประเพณีรับบัว ที่มีช้านานนั้น อันเป็นเนื่องมาจาก ความร่วมมือร่วมใจ อย่างเต็มที่ของชาวบ้านในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
รวมทั้งจากการกุศลจิตอันแรงกล้า ทั่วทุกสารทิศที่พร้อมจะช่วยกันดำรงอยู่ไว้ด้วยเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตอันดีงามนี้สืบไป

  เงื่อนไข :

สอบถามเพิ่มเติม โทร 1672

พิธีรับบัวเริ่ม เวลา 7.00 น.


แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 15903 โหวต : 597

ประวัติการเข้าชม
ซันชายโฮเท็ลแอนท์เรสซิเดนท์
งานประเพณียี่เป็ง-เชียงใหม่
อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา
10-แหล่งที่เที่ยวใน-กรุงเทพฯ
ประเพณีสงกรานต์เกาะสีชัง2556


ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว สมุทรปราการ *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   สุวรรณภูมิ  (6963)
   พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ-สมุทรปราการ  (5940)
   ป้อมพระจุล-สมุทรปราการ  (6573)
   ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์-สมุทรปราการ  (5542)
   วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร  (6132)
   สวนศรีนครเขื่อนขันธ์  (4015)
   เมืองโบราณ  (11842)
   ห้องน้ำไฮเทค-วัดบางพลีใหญ่ใน  (10380)
   วัดกลาง-สมุทรปราการ  (6540)
   หอชมเมืองสมุทรปราการ  (3426)
   ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง  (6834)
   พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ  (5397)
   พระสมุทรเจดีย์  (7470)
   เมกะบางนา  (9441)
   บางปู  (12276)
   วัดโปรดเกศเชษฐาราม  (6075)
   วัดทรงธรรมวรวิหาร  (6322)
   วัดอโศการาม  (5323)
   ป้อมแผลงไฟฟ้า  (5133)
   วัดบางพลีใหญ่ใน  (5729)
ร้านอาหาร
   ร้านระเบียงทะเลบางปู  (2864)
   ร้านWineGardenBistroBar  (6)
   ร้านอาหารก้ามปู  (5580)
   ห้องอาหารสถานตากอากาศบางปู  (3197)
   ครัวปูหลน  (3535)
   ร้านอาหารชายคา-สุวรรณภูมิ  (7861)
   ร้านกาแฟบ้านสวน29  (2266)
   สวนอาหารสมพงษ์  (6096)
   อิ่มจัง  (2495)
   bacco-italian-bar-and-pizza  (4324)
   TheBibimbab  (2826)
   สายลมบางปู  (5453)
ที่พัก
   โนโวเทล-สุวรรณภูมิ-แอร์พอร์ต-โฮเตล  (6231)
   DuangpornInOn  (2755)
ของฝาก
   ขนมจาก  (20788)
เทศกาล
   สงกรานต์พระประแดง  (3709)
   เมษาฮาเฮ-มนต์เสน่ห์เมืองใต้  (4018)
   งานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้านครั้งที่33  (2935)
   งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง2556  (5050)
   มหาสงกรานต์-4-ภาค-ณ-เมืองโบราณ-และสรงน้ำองค์พระพิฆเนศวร-พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ  (3301)
   แข่งขันเรือยาว-หน้าเมืองพระประแดง-ประจำปี-2554  (4188)
   เทศกาลปีใหม่จังหวัดสมุทรปราการ  (4928)
   ตักบาตรสมุทรปราการ-โครงการตักบาตรพระ-1-ล้านรูป-77-จังหวัด-ทุกวัดทั่วไทย  (3342)
   งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2553  (15903)
   งานตรุษจีน-ณ-พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ  (4156)
   งานจองเปรียงเพ็ญ-๑๒-ลอยกระทงตามประทีป-ย้อนอดีตตลาดโบราณ  (4961)
   ตลาดโบราณบางพลี  (5017)
   งานประเพณีรับบัว-ประจำปี-2554  (5024)
   งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง  (4291)
   งานประเพณีรับบัวประจำปี2559  (2690)
   งานตรุษจีนณพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ  (3674)
   พิพิธภัณฑ์ทันสมัย-และแสงไฟ-สยามราตรีปีที่-3  (4413)
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)