จุดเด่น : |
ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ใกล้กับศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา(หลังเก่า) เยื้องมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 โดยใช้เงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์ ซึ่งขุดได้จากกรุวัดราชบูรณะ ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า "เจ้าสามพระยา" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2504 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งแรกของประเทศไทยที่มีรูปแบบการจัดแสดงแผนใหม่ คือนำโบราณวัตถุมาจัดแสดงไม่มากจนแน่น และได้นำหลักการใช้แสงสีมาใช้ทำการนำเสนอดูน่าสนใจมาก สภาพอาคารเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์
|
รายละเอียด : |
พิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา สถานที่น่าสนใจในพิพิธภัณฑ์ ได้แก่
พระพุทธรูประทับนั่งห้อยพระบาท
เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีที่เคยประดิษฐานในซุ้มพระสถูป โบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐมซึ่งกรมศิลปากร ได้พยายามติดตาม ชิ้นส่วนต่าง ๆ ขององค์พระที่กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่างๆ มาประกอบขึ้นเป็นองค์ได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นพระพุทธรูปที่มีค่ามากองค์หนึ่งเพราะในโลกมีเพียง 6 องค์เท่านั้น
เศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยอู่ทอง
มีขนาดใหญ่มาก ได้จากวัดธรรมมิกราช แสดงถึงความเก่าแก่ ของวัด และฝีมือการหล่อวัตถุ ขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่ขุดพบอีกมากมายโดยเฉพาะที่ได้จากกรุวัดราชบูรณะ รวบรวมไว้ในห้องมหรรฆภัณฑ์ มีเครื่องราชูปโภคทองคำทองกรพาหุรัตน์ ทับทรวง เครื่องประดับเศียรสำหรับชายและหญิง พระแสงดาบฝักทองคำประดับพลอยสีต่างๆ เป็นต้น แสดงความรุ่งเรืองของ กรุงศรีอยุธยาในอดีตไว้อย่างน่าชมน่าศึกษามาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาเปิดทำการตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. วันพุธ-วันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าธรรมเนียมการเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ โทร. (035) 241587
เรือนไทยโบราณ
ภายในเรือนไทย จะแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และของใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันในสมัยก่อน เช่น ห้องครัว ห้องนอน ระเบียงนั่งเล่น ฯลฯ
|
เงื่อนไข : |
การเดินทางอยุธยา
ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถ เดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทางดังนี้
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทาง หลวงหมายเลข 32 แล้วเลี้ยว ซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวา เข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรี หรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวง หมายเลข 3111) แล้วแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวง หมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานีทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยก สะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทาง หลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบาง ไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทางรถโดยสารประจำทาง
กรุงเทพฯ-พระ นครศรีอยุธยา มีรถ โดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รถออกจากสถานีขนส่ง สายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 (หมอชิต 2) ทุกวันๆละหลายเที่ยว รถธรรมดาและรถ ปรับอากาศ สอบ ถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 936-1972
ทางรถไฟ
สามารถใช้ขบวนรถโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ซึ่งจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปสายเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สถานีชุมทางบ้านภาชี ในแต่ละวันจะมีรถไฟบริการขนส่งสินค้าและผู้ โดยสารขึ้นล่องวันละหลายเที่ยว นอกจากนี้ การ รถไฟฯ ยังจัดขบวนรถจักรไอน้ำเดินระหว่าง กรุงเทพฯ-สถานีอยุธยา-กรุงเทพฯ ในโอกาสพิเศษ ปี ละ 4 ขบวน คือวันที่ 26 มีนาคม (วันสถาปนาการรถไฟและวันที่ระลึกถึงการเปิดทางรถไฟ สายแรกที่เดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2433) วันที่ 12 สิงหาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม ราชินีนาถ) วันที่ 23 ตุลาคม (วันปิยมหาราช เพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงให้กำเนิด กิจการรถไฟไทย) และวัน ที่ 5 ธันวาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) รายละเอียดสอบถาม หน่วย บริการเดินทางสถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 223-7010, 223-7020
ทางเรือ
ปัจจุบัน เป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศมาก เพราะนอกจากจะได้ชมทัศนียภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ริมสอง ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นการย้อนให้เห็นประวัติศาสตร์สมัยกรุง ศรีอยุธยาที่ประเทศไทยมีการค้า ขายกับชาวต่างชาติ โดยเรือสำเภาต่างประเทศที่สัญจรในลำน้ำเจ้าพระยาในอดีต
ขอบคุณข้อมูลการเดินทางโดย http://www.ayutthaya.org
|
|
แสดงความเป็นเจ้าของบทความ
คนเข้าดู : 15876
โหวต : 693
|
|
?t=5m48s
Google Map
|