จุดเด่น : |
วัดอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น) หรือ วัดถ่ายละครช่อง 3 - กลิ่นกาสะลอง
|
รายละเอียด : |
วัดต้นเกว๋น (อินทรววาส) ตำบลหนองควายอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่ วัดต้นเกว๋ใช้ชื่อไม้เป็นชื่อของวัด "เกร๋นเป็นระบบป่า" หมายถึงพื้นที่ที่ตั้งอยู่ก่อนหน้านี้มีอยู่มากมายในวัด 1 ต้นและมีชื่อใหม่ว่า "อินทรา วาส "คงหมายถึงชื่อเจ้าอาวาสรูปหนึ่งที่มีความสำคัญและปรับปรุงการพัฒนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและสวยงามอินทราวาที่มีความหมายถึงชื่อเจ้าอาวาสรูปที่สร้างวัดนี้ วัดนี้สร้างขึ้นในระยะเวลาประมาณปี 2399 - พ.ศ. 2412 สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์เป็นเจ้าปกครองเมือเชียงใหม่
ความสำคัญ
- เป็นวัดที่ยั้งพักกระบวนแห่พระบรมธาตุศรีจองทองจากอำเภอจองมทองมาในเมืองเชียงใหม่สมัยก่อน ซึ่งถือเป็นประเพณีของเจ้าหลวงเชียงใหม่ และประชาชนทั้งหลาย มีการสรงน้ำพระธาตุทุกปี เจ้าอาวาสบอกว่า เมื่อสมัยถนนสายเชียงใหม่-ฮอดไม่มีถนนสายเดิมผ่านหน้าวัดทิศตะวันออก เมื่อกระบวนแห่พระธาตุขึ้นมาเพื่อจะนำเอาพระธาตุทูลเจ้าหลวงสรงน้ำ กระบวนแห่ต้องมาพักวัดนี้ 2-3 คืน เพื่อให้ประชาชนในบริเวณนี้มาสรงน้ำพระธาตุด้วย
- มีมณฑลแบบจตุรมุข มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ปรากฏอยู่ใช้เป็นประดิษฐานพระบรมธาตุชั่วคราว และใช้เป็นที่สำหรับประชาชนมาหล่อน้ำพระบรมธาตุ
- มีอาสน์สำหรับตั้งโกฎิพระบรมธาตุ เวลาออกให้ประชาชนหล่อน้ำ ยังอยู่สภาพดี
- มีรินสำหรับรองน้ำ สุคนธลินธุธาราคือน้ำอบน้ำหอมที่ประชาชนนำมาหดหล่อพระธาตุ
- มีสะเหลียง สำหรับหามบ้องไฟจุดบูชาเจ้าอาวาสบอกว่าโบราณเรียก "ขาขะเหยีย" ทำได้สวยงามแข็งแรงสลักลวดลายดอกและรูปนาคลงรักชาดบิดทอง ผู้เขียนพึ่งเห็นวัดนี้
- มีกลอนโยน (กลองบูชา) โบราณเรียกว่า "ก๋องปู๋จา" มีครบทุกลูก และลูกใหญ่นั้นถ้าตีจะได้ยินทั่วตำบลหนองควาย
- กำแพงเดิมก่อด้วยอิฐธรรมดาไม่ฉาบปูนสอข้างบนมีปล่องคล้ายกำแพงเมือโบราณ
- วัดอินทราวาส (ต้นเกว๋น) อยู่ในบัญชีของกรมศิลปากรด้วยเจ้าอาวาสบอกกับผู้เขียนว่าเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ว่าผู้สร้างวิหารนี้ และสิ่งก่อสร้างอย่างอื่นมีมณฑปเป็นต้น คือท่าครูบาอินทร์ เจ้าอาวาสรูปที่ 2 และท่านครูบาอินทร์รูปนี้ เป็นนายช่างที่ชำนาญมาก และประวัติของท่านเป็นมาอย่างไรไม่ทราบ เมื่อปี 2512 ได้รับรางวัลสถาปัตยธกรรมดีเด่น ของสามาความสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
- วิหารปัจุบันสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2403 สร้างปรากฎชัดเพราะว่ามีผู้บันทึกปี สร้างไว้ที่ใต้เพดานด้านเหนือ ด้วยอักษรไทยยวน (ตัวเมือง) ภาษาไทยยวน (ภาษาเมือง) ตัวเลขโหราสร้างในปีเบิกสง้า นายช่างผู้สร้างวิหารหลังนี้มีความชำนาญมากสามารถสลักลายดอก ลายรูปสัตว์ ที่น่าจั่ว และช่อฟ้าใบระกาได้สวยมาก ที่ชุกชี (แท่นแก้ว) พระประธานในวิหารเป็นลายรูปปั้นเครื่องดอกกูดและรูปสัตว์ ใช้ “สะตายจิ๋วง” หรือ “สะตายจิ๋น” ปั้นอย่างปราณีต ละเอียด สวยงาม มีความเพียรย่างยิ่ง ฝาผนังด้านหลังพระประธานในวิหาร มีรูปคล้ายซุ้ม และซุ้มนั้นล้วนแต่เป็นพระพิมพ์โลหะ ซึ่งหล่อเป็นองค์ฯ เอาติดผนังเป็นรูปคล้ายซุ้ม สามเฌรทองอินทร์ นามสกุลพิลา นับจำนวนเมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2535 มีจำนวน 625 องค์ ขาด 431 พระพิมพ์เหล่านี้แบ่งได้เป็น 2 แบบดังนี้คือ
- แบบใบโพธิปางมารวิชัยขนาด 2x4 ซ.ม.
- แบบนาคปกอยู่ให้ซุ้มในอีกชั้นหนึ่งโป่งมารวิชัย ขนาด 3x5 ซ.ม. เบ้าสำหรับหล่อพระพิมพ์นี้ ยังมีปรากฎอยู่ทั้ง 2 แบบ ใช้ทำเบ้าหล่อมี 2 ประเภทคือ
- เบ้าหล่อพระพิมพ์ใบโพธิ เป็นโลหะแบบถาวร
- เบ้าหล่อพระพิมพ์นาคปกอยู่ในซุ้มเหล็ก เป็นหินสีดำแกะเป็นรูปพระพิมพ์
สิ่งที่กล่าวทั้งหมดมานี้มีค่ามากและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณีของล้านนาไทย
|
เงื่อนไข : |
บริเวณร้านค้ารอบวัด มีให้เช่าชุดไทย 100-150 บาท ตามรอยละคร "กลิ่นกาสะลอง"
|
|
แสดงความเป็นเจ้าของบทความ
คนเข้าดู : 431
โหวต : 594
|
|
Google Map
|