สมัครสมาชิก   |   เข้าสู่ระบบ
index


ไปเที่ยว

แสดงบทความทั้งหมด
ไปแบบผจญภัย
ทะเล
ไปแบบครอบครัว
ศิลปะและวัฒนธรรม
ไปกันเป็นคู่(โรแมนติก)
ไปต่างประเทศ
5 ร้านอาหารยอดนิยม
ร้านปะการัง-บางแสน ร้านปะการัง บางแสน
ริมทะเล บรรยากาศดียามเย็น อาหารอร่อยและสด มีที่จอดรถ...
ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู ไส้กรอกหมูวุ้นเส้นบางลำภู
ไส้กรอกอีสาน ไส้หมูบดผสมวุ้นเส้น ใช้เครื่องอย่างดี...
พรชัยขนมปัง พรชัยขนมปัง
ร้านขนมปัง ที่มีเมนูหลากหลาย ตั้งอยู่ที่ตลาดยอด พระนคร เมนูเ...
โกทิ-หัวหิน โกทิ หัวหิน
ร้านเก่าแก่คู่ อ.หัวหิน มากว่า 50 ปี ตรงข้ามตลาดโต้รุ่งหัวหิ...
อาม้า-เบเกอรี่ อาม้า เบเกอรี่
จำหน่ายขนมปังไส้ทุกชนิด เค้ก และคุกกี้ต่างๆ รับสั่งทำเค้ก อา...
5 บทความยอดนิยม
ถนนกับการท่องเที่ยว ถนนกับการท่องเที่ยว
ประโยชน์แห่งความสุขของการท่องเที่ยว ไม่ได้มีแค่ ที่จุดหมายปล...
โดย: nongview
ท่องเที่ยว-ทั่วไทย ท่องเที่ยว ทั่วไทย
ท่องเที่ยว ทั่วไทย ชายหาด ทะเล ป่าเขา น้ำตก อุทยานแห่งชาติ ถ...
โดย: nongview
จุดชมวิวทั่วไทย จุดชมวิวทั่วไทย
รวมภาพจุดชมวิวทั่วไทย...
โดย: nongview
เที่ยวเกาะเสม็ด เที่ยวเกาะเสม็ด
เกาะเสม็ดเป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ หาดทรายนี่ขาวสะอาด...
โดย: thejuk
หิ่งห้อย หิ่งห้อย
แมลงมีแสงที่ก้น แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์มี 4 ระย...
โดย: nongview
ไปไหนดี
ไปไหนดี    >   วัดบวกครกหลวง   >    เชียงใหม่
เจ้าของบทความ HeartKub    Share
วัดบวกครกหลวง    ขื่อ : วัดบวกครกหลวง

   

   ที่ตั้ง : 24 บ้านบวกครกหลวง ถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง หมู่ที่ 1 อยู่ติดกับ กาดดารา

   URL : http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/Chiangmai/data/pic_wat-buakkrokluang.htm

   ประเภท : วัด

  จุดเด่น :

เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 24 บ้านบวกครกหลวง ถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง หมู่ที่ 1 อยู่ติดกับ กาดดารา วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แม้จากการสอบถามชาวบ้านและผู้เฒ่าผู้แก ก็ไม่ทราบประวัติความเป็นมาและไม่ทราบว่าสร้างมาแต่ครั้งใดทราบแต่เพียงว่า วัดบวกครกหลวงในปัจจุบันวัดนี้เดิมชื่อ วัดม่วงคำ ส่วนชื่อว่า บวกครกหลวง นี้เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า บวกครก แปลว่า หลุม คำว่า หลวง แปลว่า ใหญ่ ซึ่งอาจเป็นการตั้งชื่อตามหมู่บ้านหรือสภาพพื้นที่หรือสภาพสิ่งแวดล้อม หรืออาจมาจากนิทานพื้นบ้านของหมู่บ้านที่เล่าต่อมาว่า นานมาแล้วหมู่บ้านบวกครกหลวงแห่งนี้ได้เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนอดอยาก ดังนั้นเจ้านายทางเชียงใหม่จึงนำข้าวออกมาจากท้องพระคลัง และได้ขุดหลุมขนาดใหญเพื่อตำข้าวแจกจ่ายแกประชาชน ซึ่งอาจเป็นที่มาของการตั้งชื่อวัดจากเรื่องราวในนิทานพื้นบ้านก็เป็นได้


  รายละเอียด :

สร้างครั้งใดไม่ปรากฏประวัติและหลักฐานการสร้าง แต่จากการสืบประวัติภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏพอจะประมาณได้ว่าอายุของวิหารนี้ไม่ต่ำกว่า 300 ปี วิหารนี้ได้มีการซ่อมแซมบูรณะเรื่อยมา จากหลักฐานจารึกที่ปรากฏบนหน้าบันเขียนเลข พ.ศ. 2468 ไว้ ซึ่งคงเป็นการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยนั้น รวมทั้งการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาด้วย หลังจากนั้นคงจะมีการบูรณะซ่อมแซมต่อมา เช่น ใน พ.ศ. 2498 มีการราดพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน เพราะมีหลักฐานบันทึกไว้ที่ฐานวิหาร โครงสร้างของวิหารเป็นไม้ผสมปูน หลังคาเป็นหลังคาจั่วซ้อนสามชั้น ด้านหน้าทำเป็นมุขโถงยื่นออกมาคลุมราวบันได ซึ่งทำเป็นมกรอมนาคที่มีปากลักษณะเหมือนจะงอยปากนกแก้วหรือจะงอยปากครุฑ ทำด้วยปูนปั้นประดับกระจกปิด ภายในวิหารมีธรรมาสน์เทศน์ที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามมาก ปั้นลมเป็นนาคลำยอง หางหงส์ทำเป็นหัวนาค ราวโก่งคิ้วด้านหน้าเป็นไม้แกะสลักปิดทอง หน้าบันเป็นไม้แกะสลักเป็นลายก้านขดปิดทองแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมคล้ายฝาปะกน นาคลำยองหางหงส์รูปหัวนาคปิดทองประดับกระจกสี มุมวิหารทำเป็นปูนปั้นรูปเทพพนมยืน เครื่องบนของเพดานเปิดให้เป็นโครงสร้างไม้และเสารับน้ำหนักของหลังคา ผนังก่ออิฐถือปูนสูงถึงคอสองวิหารนี้มีประตูด้านข้างทำเป็นมุขยื่นออกมา ด้านหน้าวิหารทำประตูไม้แกะสลักปิดทองลักษณะทั่วไปของวิหารมีสัดส่วนและองค์ประกอบงดงามแบบสถาปัตยกรรมล้านนาควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพระพุทธศาสนายิ่ง

 
จากแผนผังวิหารแห่งนี้จะเห็นได้ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าและด้านหลังมีการลดขนาดความกว้างของห้องเป็น 3 ช่วง เพื่อให้สอดคล้องกับชั้นลดของหลังคา ด้านหลังทำเป็นฐานชุกชีไว้ประดิษฐานพระประธาน และพระพุทธรูป ด้านข้างเป็นที่ตั้งธรรมาสน์คาดว่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวิหาร ธรรมาสน์มีลักษณะเฉพาะตามแบบล้านนา เป็นรูปทรงปราสาท ประดับตกแต่งด้วยลายพันธุ์พฤกษา และยังมีสิ่งที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่จะพบได้ในวิหารล้านนาทั่วไปคือ สัตตภัณฑ์ อันเป็นเครื่องสักการบูชาภูเขาทั้ง 14 ในไตรภูมิตามความเชื่อของชาวล้านนา จะใช้กันในวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนาโดยชาวบ้านจะนำเทียนมาจุดบนสัตตภัณฑ์นี้ มีลักษณะสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงกลางทำเป็นรูปเทพพนมและมีลายพันธุ์พฤกษา ด้านหลังรูปเทพพนมประดับแก้วอังวะ (กระจกจีน) ด้านข้างทำเป็นรูปมกรคายนาค สัตตภัณฑ์นี้จะตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานอีกทีหนึ่ง
 
วิหารวัดบวกครกหลวงเดิมทีเป็นอาคารโถงเช่นเดียวกับอาคารล้านนาทั่วไป ซึ่งสถาปัตยกรรมล้านนาส่วนใหญ่จะเน้นให้เห็นโครงสร้างของไม้และเครื่องบนหลังคาใช้เสาในการรับน้ำหนักของหลังคาทั้งหมด โดยเฉพาะโครงสร้างไม้แบบม้าตั่งไหมซึ่งเป็นการสร้างตามคติดั้งเดิมอันเป็นลักษณะเฉพาะของล้านนา จึงจะเห็นว่าภายใจวิหารวัดบวกครกหลวงนี้จะมีเสาขนาดใหญ่อยู่กลางวิหารถึง 12 ต้น ภายหลังจึงได้มีการทำผนังทึบขึ้นมา 3 ด้านคือ ด้านข้างและด้านหลัง แต่มิได้เป็นการรับน้ำหนักอาคาร ส่วนด้านหน้าเปิดโล่งไว้ และต่อมาได้มีการสร้างประตูบานใหญ่ขึ้นด้านหน้าเพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย ประตูนี้มีการแกะสลักเป็นรูปทวารบาลปิดทองอย่างงดงาม
 
หลังคาวิหารเป็นหลังคาซ้อนกัน 3 ชั้น ประดับด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าและหางหงส์ เป็นรูปนาคตามคติชาวล้านนาที่เชื่อว่า วิหารเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ต้องมีนาคคอยดูแลอยู่ จึงมีการประดับตกแต่งวารด้วยนาค ส่วนลานทรายที่อยู่รายรอบวิหารหรือศาสนสถานอื่น ๆ ของล้านนาเปรียบเสมือนว่าเป็นน้ำหรือนทีสมุทร ดังนั้นจะเห็นว่า ทางเข้าด้านหน้าวิหารทำเป็นราวบันไดรูปมกรคายนาคด้วยและนาคที่นี่ก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ เป็นนาคปากนกแก้วซึ่งมีเพียงแห่งเดียว ส่วนมุขโถงด้านหน้าวิหารเป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยที่มีการบูรณะ
 
หน้าบันวิหารเป็นหน้าบันสลักไม้แบ่งเป็นช่องแบบฝาปะกน แต่ละช่องแกะลายประดับกระจกสวยงาม และมีจารึกบอกปี พ.ศ. 2468 สันนิฐานว่าเป็นปีที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ ผนังด้านนอกของตัวอาคารจะมีปูนปั้นรูปเทพพนมประดับอยู่ตามมุม ด้านบนเป็นคันทวยลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ทำด้วยไม้ มีอยู่ 2 ลายคือ คันทวยด้านหน้าทั้งสองข้างทำเป็นรูปหนุมานเหยียบเมฆ ส่วนในตำแหน่งอื่น ๆ จะเป็นลายเมฆไหลท่านั้น
 
นอกจากวิหารแล้วที่วัดบวกครกหลวงแห่งนี้ยังมีอาคารเสนาสนะอื่น ๆ ที่น่าสนใจคือ อุโบสถที่มีรูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนา ศาลาบำเพ็ญกุศล กุฎีสงฆ์ และเจดีย์ทรงปราสาทมีเรือนธาตุ 4 ด้าน บุด้วยทองจังโกซึ่งอยู่ด้านหน้าวิหารด้วย (ประยูร อุลุชาฎะ. 2544: 80-82)
 
ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อราว พ.ศ.2586 สมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย มีความสำคัญ ในแง่ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ซึ่งได้แก่ พระวิหารที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม จากลักษณะทรวดทรงและประดับลวดลายของพระวิหารรวมทั้งภาพจิตรกรรม พอจะประมาณได้ว่าคงสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2400 ลงมา
 
จุดเด่นของวัดบวกครกหลวงที่คนทั่วไปรู้จักอยู่ที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดบวกครกหลวง ซึ่งเขียนเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกในนิบาตหรือ เรื่องทศชาติชาดก จำนวน 14 ห้อง จิตรกรรมฝาผนังนี้เขียนบนผนังรอบ ๆ วิหารระหว่างช่องเสาเป็นเรื่องพุทธประวัติและชาดก ภาพแต่ละส่วนจะอยู่ในกรอบซึ่งเขียนเป็นลายล้อมกรอบด้วยลายสีน้ำเงิน แดง และขาว สำหรับเรื่องที่เขียนนั้นทางทิศเหนือเป็นภาพชาดก เรื่องมโหสถชาดก ส่วนทางทิศใต้เป็นเรื่องทศชาติชาดก (พระเจ้าสิบชาติ) จิตรกรรมดังกล่าวเป็นฝีมือช่างชาวไทใหญ่ที่ละเอียดประณีต และเป็นที่น่าสังเกตว่าจิตรกรรมฝาผนังในล้านนาจะไม่พบการเขียนภาพเรื่องทศชาติชาดกครบทั้ง 10 ชาติ หากเลือกมาเฉพาะเรื่องที่นิยมกันเท่านั้น ซึ่งที่วัดบวกครกหลวงก็เช่นกัน มีทั้งหมด 6 เรื่อง คือ เตมียชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก วิธูรบัณฑิตชาดก และเวสสันดรชาดก
 
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงมีลักษณะของภาพแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิยมของท้องถิ่น ที่มีจุดเด่นที่เป็นภาพเขียนที่ใช้สีสันสดจัดจ้าน ท่าทีการเขียนภาพของช่างนิยมใช้พู่กันป้ายแต้มอย่างมีพละกำลังแฝงอยู่ภายในด้วย รอยพู่กันแสดงอารมณ์ที่ลิงโลด คึกคะนอง สนุกสนาน และปาดสีอย่างมันใจเด็ดเดี่ยว โดยเฉพาะบริเวณส่วนที่เป็นฉากธรรมชาติ เช่น เนินเขา โขดหิน และลำน้ำ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนมีรูปร่างเป็นอิสระ เลื่อนไหล คดเคี้ยว เมื่อผนวกเข้ากับความต้องการของผู้วาดที่ใช้พู่กันและสีแท้ ๆ สดในอย่างอิสระแล้ว นับเป็นฉากธรรมชาติที่มีชีวิตชีวา ไม่ดูจืดชื้ดยิ่งนัก นอกจากนั้นแล้ว วิธีการเน้นความน่าสนใจของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงคือ นิยมใช้กรอบรูปคล้ายภูเขา ระบายสีพื้นในด้วยสีดำ ขอบนอกเป็นแถบสีเทาและตัดเส้นด้วยสีดำ ส่วนเส้นนอกกรอบเลื่อนไหลล้อกับรูปนอกของตัวปราสาทด้วย
 
สำหรับสีที่ใช้ในจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงนี้พอจะจำแนกได้ 6 กลุ่ม คือ กลุ่มสีคราม สีแดงชาด สีทอง สีเหลือง – น้ำตาล สีดำ และสีขาว ดังนั้นจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงจึงถือเป็นงานฝีมือของช่างไทใหญ่ที่ได้ถ่ายทอดถึงชีวิตพื้นบ้านรูปแบบสถาปัตยกรรมและการแต่งกายแบบพม่าและไทใหญ่ไว้ด้วย เช่น ถ้าเป็นการแต่งกายของชาวบ้านจะมีลักษณะเป็นแบบคนพื้นเมือง แต่ถ้าเป็นเจ้าก็จะเป็นการแต่งกายแบบพม่าหรือไทใหญ่ รวมถึงข้าวของเครื่องใช้แบบชาวเมืองก็ยังมีให้เห็นอยู่ในภาพด้วย เช่น จุนโอ๊ก, ขันชี่ (ขันเงิน, ขันทอง) ซึ่งเป็นเครื่องใช้ของชาวล้านนา ผ้าซิ่นแบบคนเมือง หรือผ้าห่มคลุมตัวเวลาหนาวที่เรียกว่า ตุ้ม ด้วย ซึ่งลักษณะของจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงนั้นจึงเป็นลักษณะพิเศษของจิตรกรรมล้านนา โดยอาจมีข้อแตกต่างหรือคล้ายกันกับจิตรกรรมที่ภาคกลางด้วย

  เงื่อนไข :

ไปเที่ยวได้ทั้งปี


แสดงความเป็นเจ้าของบทความ

คนเข้าดู : 7548 โหวต : 594
Google Map



ส่งLink นี้ให้เพื่อถ้าส่งหลายคนให้ใช้เครื่องหมาย , คั่น
Email :

จาก :

Script Comment


ที่เที่ยว เชียงใหม่ *(จำนวนคนเข้าดู)
ที่เที่ยว
   ดอยอินทนนท์  (13086)
   สถูปพระนเรศวรมหาราช  (3341)
   ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้  (7430)
   วัดพระสิงห์วรวิหาร  (8729)
   เวียงกุมกาม  (8240)
   บ่อน้ำพุร้อนฝาง  (9890)
   สวนน้ำแกรนด์แคนยอนหางดง  (2949)
   สวนส้มธนาธร  (3381)
   กาดดารา  (10109)
   วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน  (2810)
   โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์  (10719)
   งานมหกรรมของดีOTOPSMEsLANNAEXPO2016  (2690)
   เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี  (9517)
   ศูนย์ฝึกช้างเชียงดาว  (11357)
   บ้านแม่กลางหลวง  (2884)
   วัดเจดีย์เหลี่ยม  (7284)
   ท่าตอน-แม่น้ำกก  (13943)
   วัดดอยคำ  (8695)
   วัดอินทขีลสะดือเมือง  (2480)
   วัดอุโมงค์  (6251)
ร้านอาหาร
   my-home-coffee-house  (5038)
   ร้านอาหารเอื้องผึ้งจันทร์ผา  (3894)
   ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกรุงสุโขทัยเฮียป้อม  (5015)
   ร้านอาหาร-รสมือแม่-เชียงใหม่  (4462)
   ตลาดบ้านฮ่อ  (3681)
   ร้านBasicClubWineBar  (3569)
   AlpinaFineFoods  (2361)
   ร้านดอกเหมย  (3112)
   คั่วไก่นิมมาน  (2832)
   ลากริตต้า  (4826)
   ร้านบ้านไร่สเต็กเฮ้าส์  (3223)
   ร้านWineTerminal  (3734)
   ร้านอาหารกิ่วแม่ปาน  (3812)
   สามเสนวิลล่าเชียงใหม่  (3911)
   ร้านเดอะไรท์เตอร์คลับแอนด์ไวน์บาร์  (3488)
   จอย-ข้าวซอย-เชียงใหม่  (8825)
   ร้านอาหารคำดารา  (3089)
   LeCrystalRestaurant  (3990)
   ร้านอาหารสวัสดิการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์  (4463)
   อ่างขางถิงถิงโภชนา  (3422)
ที่พัก
   อรุณ-ธารา-โฮเทล  (5815)
   โรงแรมเอ็มเพรส  (6297)
   โรงแรม-ฮอลิเดย์-อิน-เชียงใหม่  (11126)
   ยางคำ-วิลเลจ-เชียงใหม่  (6181)
   ชมศิลา-ลอร์ด  (7601)
   ระมิงค์-ลอร์ด  (6692)
   เซ็นทาราดวงตะวัน  (6638)
   สุกันทรา-แคสเคด-รีสอร์ท  (5826)
   ธาราบุรี-รีสอร์ท  (6407)
   บ้านกลางดอย  (6855)
   อาซาญ่า-วิลล่า-เชียงใหม่  (6251)
   แม่กก-ริเวอร์-วิลเลจ  (6211)
   โรงแรมราชพฤกษ์กรุ๊ป  (7881)
   อธิฐาน-วิลล่า  (5970)
   ณวสรวงรีสอร์ต  (7003)
   โรงแรมสวนบัว  (6316)
   เชียงใหม่-พลาซ่า-โฮเทล  (5666)
   หมู่บ้านกระเหรี่ยง-karen-hilltribe-lodge  (5316)
   เชียงใหม่-ลอด์จ  (6080)
   บ้านผาหมอนดอยอินทนนท์  (2523)
ของฝาก
   ตลาดวโรรส  (4573)
   บ้านถวาย  (16178)
   หวานละมุนเชียงใหม่  (6399)
   ร่มบ่อสร้าง  (13629)
   ผักปลอดสารพิษ  (15534)
   โรงงานไทยศิลาดล  (12001)
เทศกาล
   มหาศุกร์สนุกสาดม่วนกันหน้ากาด  (4880)
   เชียงใหม่เคาท์ดาวน์-2010  (6511)
   ไชน่าทาวน์เมืองเชียงใหม่  (5611)
   งานทอเส้นฝ้ายสานเส้นใยใส่สีธรรมชาติครั้งที่14  (5058)
   ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพ  (392)
   งานกุหลาบเหมันต์เชียงใหม่-ปี-2553  (905)
   งานเทศกาลบอลลูนนานาชาติเชียงใหม่ครั้งที่6  (4567)
   ราชพฤกษ์-2554  (5)
   ประเพณีบูชาเสาอินทขิล  (5772)
   งานสืบฮีตสานฮอย-ของดีบ่เก่า  (5759)
   งานประเพณียี่เป็ง-จังหวัดเชียงใหม่  (5389)
   การบูชาเสาอินทขิล  (4755)
   เทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง  (7513)
   การแสดงและประกวดพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ  (4572)
   งานปี๋ใหม่เมือง-ดอกเอื้องงาม  (5066)
   งานพืชสวนโลก-2553-2554  (64990)
   งาน-ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่2556-จ-เชียงใหม่  (4894)
   งานไม้ดอกไม้ประดับเชียงใหม่-ประจำปี2556  (4505)
   ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพในวันวิสาขบูชา  (4737)
 
บริษัท ข้อมูลนักท่องเที่ยว ออนไลน์ จำกัด
เกี่ยวกับเรา | นโยบายความเป็นส่วนตัว | การใช้เวปไซต์
ไปไหนดี.com. All Rights Reserved.(Support Browser Google Chrome & FireFox)