จุดเด่น : |
เทศกาลดอกชมพูภูคาบาน
งานนี้จัดตลอดเดือนกุมภาพันธ์
ชมพูภูคา เป็นพันธุ์ไม้ที่หายากที่สุดพันธุ์หนึ่ง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า "ไบร์ทชไนเดอร์ซีเนนซีส" คาดว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว จนกระทั่งมีการค้นพบอีกครั้งในป่าดอยภูคาแห่งนี้ ลักษณะของดอกชมพูภูคา กลีบดอกด้านนอกมีสีชมพูจางขาว และกลีบดอกด้านในมีสีชมพูลายเส้นสีม่วง ชูช่อเป็นพวงใหญ่ ตั้งขึ้นดูสวยงาม จึงได้มีการตั้งชื่อตามสีของดอกและสถานที่ค้นพบว่าดอก "ชมพูภูคา" นับแต่นั้นมา ชมพูภูคาเป็นพืชใบประกอบ มีความยาว 30-70 ซม. ใบย่อย 4-9 คู่ ใบรูปไข่ผสมปลายดอกแหลม ฐานใบมนใต้ใบมีขน ดอกสีขาวอมชมพู กลีบดอก 5 กลีบ แยกออกจากกันเป็นรูปไข่ คว่ำโค้งงอที่ฐานหุ้มด้วยกลีบดอกรองอีกชั้นจนเกือบกลม มีความยาว 2-3.6 เซนติเมตร ขณะนี้กลุ่มต้นชมพูภูคาที่สมบูรณ์ที่สุด มีอายุราว 20-30 ปี อยู่รวมกัน 6 ต้นใหญ่ ออกดอกเต็มต้นทุกปี รวมถึงมีการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ บริเวณโคนต้นมีต้นกล้าเล็กๆ เต็มไปหมด ถือว่าเป็นแหล่งต้นชมพูภูคา
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดบนดอยแห่งนี้ คือ "ชมพูภูคา" หากเดินทางมาช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ก็จะได้เห็นขมพูภูคาบานสะพรั่ง สิ่งที่ไม่ควรพาดรองลงมาคือ จุดชมวิว เต่าร้างยักษ์(ปาล์มดึกดำบรรพ์) น้ำตกต่างๆ เช่น น้ำตกศิลาเพชร น้ำตกภูฟ้า(แต่ต้องเดินเท้ากว่าครื่งวัน) ส่วนบ่อเกลือ ผมเองไม่คิดว่าจะน่าสนใจเท่าไร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เทศบาลตำบลปัว โทร. 054-791495
ททท. สำนักงานแพร่ โทร 054-521118
|
รายละเอียด : |
|
เงื่อนไข : |
เริ่ม 18 ก.พ. 56 ถึง 28 ก.พ. 56
|
|
แสดงความเป็นเจ้าของบทความ
คนเข้าดู : 3649
โหวต : 594
|
|
Google Map
|